หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ Desktop

เทคนิคการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ Desktop
คอมพิวเตอร์ Desktop หรือคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญกับชีวิตการทำงานตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมจนถึงชีวิตการทำงานในรูปแบบต่างๆ ซึ่งการใช้ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์จะมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์และความรู้ในการใช้งาน ทำให้การที่เราต้องรู้จักหน้าที่ของส่วนประกอบภายในจนถึงวิธีการทำงานของคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะดึง ศักยภาพ มาใช้ให้ได้คุ้มค่าเงินจำนวนมากที่ต้องเสียไปกับอุปกรณ์ชนิดนี้ ดังนั้นเราจะมาทำความรู้จักส่วนประกอบคอมพิวเตอร์

ภายใน

ซีพียู (CPU) Central Processor Unit: หน่วยประมวลผลกลาง เป็นศูนย์กลางการประมวลผลจากการทำงานของอุปกรณ์ทุกชนิดจากการควบคุมด้วยอุปกรณ์อินพุต เช่น เมาส์, คีย์บอร์ด เป็นต้น  มีส่วนสำคัญคือความเร็ว มีหน่วยเป็น GHz,ขาโปรเซสเซอร์หรือช็อกเก็ต(Socket), จำนวนโปรเซสเซอร์หรือคอร์ (Core), ตัวควบคุมเพื่อจัดการการประมวลผลหรือเทรด (Thread), จำนวนเส้นทางการส่งรับข้อมูล หรือบัส(Bus)
เมนบอร์ด (Motherboard) : แผงวงจรหลัก คืออุปกรณ์ที่รองรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เช่น ซีพียู แรม การ์ดจอ การ์ดเน็ตเวิร์ค สายต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสต์ ซีดีรอม USB และเพาเวอร์ซัพพลาย เพื่อทำการจ่ายไฟให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงาน โดยการตั้งค่าต่างๆ เรียกกว่า ไบออส(BIOS) สามารถปรับค่าต่างๆ เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์เร็วขึ้นได้เรียกว่าการ โอเวอร์คล็อก (Overclock)
แรม (RAM) Random Access Memory : หน่วยความจำหลัก เป็นหน่วยความจำที่สามารถอ่านและเขียนโดยข้อมูลจากสื่อต่างๆ จะถูกนำมารอที่แรมก่อนที่ CPU นำไปประมวลผล การทำงานเหมือนเทปบันทึกหรือดิสก์ที่เขียนได้ลบได ้และปริมาณการใช้งานขึ้นอยู่กับความจุมีหน่วยเป็นกิกะไบต์ (GB) และสายการรับส่งข้อมูลคือบัส(Bus)ของแรมถ้ามีระบบทำงานแบบ Dual หรือทำงานเป็นคู่จะทำให้หน่วยความจำสามารถรับและส่งข้อมูลได้ไวกว่าตัวเดียว แต่แรมจะเก็บความจำด้วยไฟฟ้าเมื่อคอมพิวเตอร์ทำงานแต่ถ้าปิดคอมพิวเตอร์ระบบจะทำการเคลียร์ข้อมูลโดย การเริ่มระบบใหม่ก็จะถูกเขียนลงใหม่
การ์ดจอ (VGA) Video Graphic Array : หน่วยประมวลและแสดงผลภาพ ทำหน้าที่รับข้อมูลมาประมวลผลแสดงออกทางหน้าจอ Monitor เป็นการ์ดที่ติดตั้งลงบน Slot ของเมนบอร์ดซึ่งปัจจุบันใช้อยู่ 2 แบบคือ PCI-E, AGP ประมวลผลภาพด้วย GPU หรือกราฟิกโปรเซสเซอร์ยูนิต มีการเก็บข้อมูลเหมือนแรมดังนั้นจึงต้องพิจารณาความจุของแรมบนการ์ดซึ่งปัจจุบันจะใช้แรมหลายประเภท มี Bit rate เป็นตัวขยายความกว้างของ Bus ทำให้รับส่งปริมาณงานได้มากขึ้น
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) : หน่วยเก็บข้อมูล เป็นดิสก์เก็บข้อมูลด้วยจานแผ่นแม่เหล็กแรงสูงสามารถหมุนด้วยความเร็วสูงประมาณ 7200 รอบต่อนาที ซึ่งบรรจุในกล่องเหล็กและเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดด้วยสายสัญญาณซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบคือ สายอนุกรม (SATA) Serial ATA รับส่งข้อมูลได้ถึง 300 Mb/s, สายขนาน(IDE) Ultra ATA รับส่งข้อมูลได้ถึง 133 Mb/s และฮาร์ดดิสก์ยังมี Buffer หรือหน่วยความจำในการพักข้อมูลก่อนการเขียนโดยการเรียงลำดับความสำคัญของโปรเซสนั้นๆ
เครื่องอ่าน/เขียนแผ่น (CD/DVD-ROM) : เครื่องอ่าน/เขียนแผ่นดิสก์ข้อมูล เป็นกล่องบรรจุหัวอ่านแบบเลเซอร์ทำหน้าที่อ่านแทรกบนแผ่นดิสก์ที่ถูกเขียนด้วยแสง ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้เหมือนกับฮาร์ดดิสก์แต่ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของแผ่นเช่น บันทึกได้ครั้งเดียว, บันทึกต่อเนื่องจนเต็มพื้นที่, บันทึกและลบเขียนใหม่ได้ เป็นต้น
เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) : ชุดจ่ายกำลังไฟฟ้า เป็นหม้อแปลงไฟฟ้ากระสลับ (AC) ไปเป็นกระแสตรง (DC) เป็นการทำ Switching ของชุดจ่ายกำลังไฟฟ้า ปัจจุบันจะดูกันที่วัตต์แท้ - วัตต์เทียมซึ่งราคาต่างกันมากข้อแตกต่างระหว่างกันคือแรงดันไฟฟ้า(A) ซึ่งจะนำมาเพื่อคำนวณวัตต์ที่ใช้กันได้จริงๆ

ภายนอก

เคส (Case) : ตัวโครงเหล็กไว้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายใน มีหลากหลายแบบและขนาดซึ่งเราจะเรียกว่า เคสเป็น 3 แบบ คือแบบ ATX, แบบ UATX และแบบ MicroATX ซึ่งการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ก็ต้องเลือกขนาดของเคสให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ด้วย เพราะจะมีผลกับเรื่องของความร้อนในการระบาย อากาศ
จอภาพ (Monitor) : จอแสดงผลจากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์เพื่อไปแสดงภาพบนหน้าจอภาพ ซึ่งการแสดงผลภาพจะดูชัดเจนดีขึ้นอยู่กับความละเอียดของคุณสมบัติจอภาพที่ทำได้จึงต้องดูที่ความไวในการตอบสนองภาพ (Respond Time) ความคมชัดลึก Contrast Ratio เช่น 50000:1 คือแสงสว่างสีขาวสุด : ดำสุด ความละเอียดของภาพ(Resolution) เช่น 1920x1080 เป็นต้น

เมาส์ (Mouse) : อุปกรณ์ควบคุมจุดต่างๆ แสดงการเคลื่อนไหวบนหน้าจอเป็นลูกศรเพื่อรันคำสั่งได้ง่าย ซึ่งเมาส์มี 3 แบบในปัจจุบัน คือ 1. แบบลูกกลิ้ง(Scroll wheel) 2. แบบแสง(Optical) 3. แบบเลเซอร์(Laser) ความละเอียดในการเคลื่อนที่ของเมาส์มีหน่วย dpi ยิ่งถ้าค่ามากเท่าไรความละเอียดในการเคลื่อนที่ก็จะสูงขึ้น

คีย์บอร์ด (Keyboard) : ปุ่มป้อนคำสั่งด้วยตัวอักขระต่าง ๆ และปุ่มฟังก์ชันในการควบคุม โดยมาตรฐานคีย์บอร์ดจะมี 101 คีย์ ซึ่งคีย์บอร์ดปัจจุบันจะมีแบบไร้สายและยังมีปุ่มคำสั่งเพิ่มเติมเพื่อให้ป้อนข้อมูลได้ง่าย


ลำโพง (Speaker) : ชุดขยายสัญญาณเสียงต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อฟังเสียงต่างๆ

อื่นๆ : เช่น Joystick, Webcam, thumb drive เป็นต้น

ข้างต้นเราควรเตรียมค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตหรือหนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เพื่อกำหนดความต้องการที่จะใช้งานให้เพียงพอ ดังนั้นการวางแผนก่อนเดินเลือกซื้อตามศูนย์การค้าหรือถ้าง่ายต่อการเลือกซื้อโดยสั่งผ่านบริษัทที่น่าเชื่อถือซึ่งจะได้ทั้งบริการและความสะดวก อีกทั้งยังไม่เสียเวลาไปเลือกซื้อซึ่งถ้าไปเลือกซื้อบางครั้งอาจดีแต่ถ้าบางครั้งดูไปเป็นอาจเป็นของคุณภาพเทียบเท่าแต่ไม่ใช่ของแท้ ดังนั้นการเลือกซื้อจึงต้องซื้อจากแหล่งเชื่อถือได้

การเลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งภายในเครื่องและภายนอกเครื่องขึ้นอยู่กับความต้องการในการนำอุปกรณ์นั้นไปใช้งานในรูปแบบต่างๆ โดยส่วนมากการที่เราจะตัดสินใจเลือกซื้อนั้นอาจจะตัดสินใจยากเพราะอุปกรณ์คอมพิวเตอร์นั้นราคามีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ถึงเวลาจะผ่านไปการพัฒนาของอุปกรณ์ก็จะถูกพัฒนาตามและอุปกรณ์ที่ตกรุ่นก็จะไม่มีขายในตลาดทำให้ไม่สามารถหารุ่นหรืออุปกรณ์ดังกล่าวได้ เมื่อมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ออกมาราคาก็ยังคงราคาหรืออาจจะแพงกว่าด้วยทำให้การที่เราจะเลือกคอมพิวเตอร์นั้นไม่ได้อยู่กับราคาเป้าหมายที่เราตั้งไว้ แต่ขึ้นอยู่กับความจำเป็นที่เราจะนำไปใช้งานและความได้มาตรฐานของอุปกรณ์ ถ้าต้องการให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้นานเราอาจจะต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ที่ได้รับความยอมรับ

ที่มาhttp://www.zynektechnologies.co.th/article1.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น