หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

เทคนิคการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ Desktop

รูปการทำงานของของระบบคอมพิวเตอร์
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์มีดังต่อไปนี้

งบประมาณ การตั้งราคาเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ แต่ถ้าหากเรารู้จักอุปกรณ์เลือกดูคุณสมบัติดีแล้วจะเห็นว่าคุณสมบัติอาจเหมือนกันแต่ราคาต่างกันมาก นั่นเพราะส่วนหนึ่งมาจากวัสดุที่ใช้งานอาจคงทนดีกว่า และการออกแบบดีไซต์มีฟังก์ชันมารองรับได้มากกว่า ดังนั้นการตั้งราคาจึงต้องดูความเหมาะสมทั้งด้านคุณสมบัติและความทนทานต่อการใช้งาน

ลักษณะงานที่นำไปใช้งาน การนำไปใช้งานให้ได้ประโยชน์ต่อการใช้งานได้มากก็ต้องเลือกอุปกรณ์ให้ตรงกับคุณสมบัติที่จะนำไปใช้ เช่นงานด้านกราฟฟิก ก็ต้องเลือกการ์ดจอที่มี GPU แยกและมี RAM ในการช่วยหน่วยความจำให้อ่านและเขียนคำสั่งได้ไวเพราะกราฟฟิกเป็นการ Encoder และ Decoder ในเวลาเดียวกัน และถ้าต้องการนำไปใช้งานด้านการทำงานด้วยโปรแกรมพร้อมๆกันหลายโปรแกรมก็ต้องเลือก CPU ที่มีระบบทำงานได้แบบ Multi-threads หรือ Hyper-Treading และมีหน่วยกักเก็บข้อมูล(L Caches) สูงเช่น L3=12Mb

ยี่ห้อและการรับประกัน การหาคุณสมบัติที่ดีก็ต้องเป็นที่ยอมรับของสากล จึงต้องเปรียบเทียบความแตกต่างของแต่ละแบรนด์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่นำเข้ามาผลิตชิ้นส่วนในเมืองไทย ซึ่งการที่บริษัทจะรับประกันนานไม่ใช่จะเป็นการดีเสมอเพราะผู้ผลิตจะทราบถึงอุปกรณ์ที่นำเข้ามาผลิตกับระยะเวลาในการรับประกัน บางครั้งพอหมดประกันอุปกรณ์อาจเกิดปัญหาช่วงนั้นก็ได้ ดังนั้นถ้าต้องเลือกอุปกรณ์ก็ต้องเลือกศูนย์รับประกันและเคลมสินค้าด้วย เพราะถ้าอุปกรณ์ที่เกิดปัญหาเวลาส่งให้ศูนย์เคลมอาจใช้เวลานานหรือซ่อมแซมนำของเก่าที่ใช้ได้มาเปลี่ยนให้แทน ถ้าบริษัทที่มั่นใจว่าสินค้าดีจริงบริษัทก็จะทำการเปลี่ยนใหม่ให้ถ้าหากตรวจพบอาการเสียจริง

บริการของผู้ขาย เป็นจุดที่ผู้เลือกซื้อจะต้องสังเกต อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต้องอาศัยความเข้าใจและความรู้ด้านคอมพิวเตอร์พอสมควรจึงต้องสามารถให้ข้อมูลได้ถูกต้องและนำไปใช้ได้จริง ดังนั้นผู้ซื้อต้องสังเกตผู้ขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ว่าขณะให้บริการมีการแนะนำรุ่นที่ดีกว่าหรือปฏิเสธการเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกว่าหรือไม่ เพราะอุปกรณ์ที่ใช้งานอาจมีรุ่นเก่าใหม่ในแต่ละวันไม่เท่ากัน และมีการทดสอบการใช้งานพร้อมการแนะนำโปรแกรมที่ใช้งานได้อย่างเข้าใจรวมถึงการบริการหลังการขายกรณีเมื่อเกิดปัญหา ซึ่งอาจเกิดอุปกรณ์บกพร่องไม่สามารถแก้ได้

ความรู้ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ การเรียนรู้ด้วยตัวเองสำหรับคอมพิวเตอร์จะทำให้เข้าใจมากกว่าการถามจากคนอื่นหรือเรียนในห้องเรียน เพราะโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาจากคนที่คิดเงื่อนไขในการจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถคำนวนคำสั่งพร้อมกันหลายล้านคำสั่งในเวลาเดียว จึงเกิดการใช้งานที่เคยชินและสร้างเงื่อนไขในการใช้งานให้กับตนเอง ดังนั้นการรู้จักหน้าที่การทำงานของอุปกรณ์แต่ละตัวจะทำให้เรารู้จักที่จะใช้งานของหน้าที่นั้นๆ เมื่อเกิดปัญหาก็จะตั้งสมมติฐานได้ว่าลักษณะที่เกิดปัญหามาจากการทำงานของหน้าที่ใด จึงแก้ปัญหานั้นได้

การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์แบบ Desktop มีทางเลือก 2 แบบ คือ
  • คอมพิวเตอร์ประกอบ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่แยกชิ้นกันซึ่งเป็นกำหนดอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยตัวเองโดยการนำมาประกอบไว้บนเมนบอร์ดหรือแผงวงจรหลัก ที่บรรจุลงเคสและต่ออุปกรณ์เช่นจอภาพ เมาส์และคีย์บอร์ด การประกอบคอมพิวเตอร์เอง
ข้อดี คือ การได้เลือกคุณสมบัติ ราคา ยี่ห้อและการรับประกัน ได้ด้วยตนเองซึ่งจะต่างกับคอมพิวเตอร์สำเร็จคือจะได้รับการประกันทั้งเครื่องอย่างน้อย 1 ปี และคุณสมบัติก็จะถูกจำกัด ดังนั้นเมื่อลองเปรียบเทียบคุณสมบัติของทั้งสองแบบก็จะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์แบบประกอบเองราคาจะถูกกว่าและยังได้รับประกันแยกชิ้นส่วนตั้งแต่ 1 ปีถึงตลอดอายุการใช้งาน

ข้อเสีย คือ ต้องตรวจดูเองว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นสามารถทำงานร่วมกันได้หรือไม่ และต้องนำอุปกรณ์แต่ละตัวมาประกอบเข้าด้วยกันเอง และลงโปรแกรมต่างๆ เอง โดยส่วนมากคอมพิวเตอร์ประกอบมักเกิดปัญหาอุปกรณ์แยกชิ้นเนื่องจากการออกแบบไม่ได้เจาะจงมาเพื่ออุปกรณ์ที่รองรับโดยเฉพาะ ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาลองเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เหมือนกันดูก็จะเจออาการเสียของอุปกรณ์นั้นๆ โดยง่ายและถ้าอุปกรณ์ตัวนั้นเสียก็สามารถซื้ออุปกรณ์มาเปลี่ยนและลงไดร์ฟเวอร์ตัวนั้นก็สามารถใช้งานได้

  • คอมพิวเตอร์สำเร็จ (Brand) เป็นที่นิยมเพราะเลือกซื้อง่าย มีอุปกรณ์ครบ มีรูปลักษณะดีไซต์สวยดูดีเข้ากันทุกชิ้นส่วน
ข้อดี มีบริการให้คำปรึกษาโดยตรงกับบริษัทผู้ผลิต การติดตั้งโปรแกรมควบคุม (Driver) ง่ายเพราะอุปกรณ์ถูกออกแบบมาให้รองรับอุปกรณ์ที่ประกอบภายในเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับการทำงานเฉพาะอย่าง การทำงานจะเหมือนกับการทำงานแบบคอมพิวเตอร์ประกอบทุกอย่าง

ข้อเสีย เมื่อเกิดอาการเสียต้องส่งเคลมทั้งเครื่องเพื่อตรวจเช็คอาการเพราะอุปกรณ์ออกแบบการทำงานร่วมกันอาการเสียอาจเสียพร้อมกันจึงตรวจเช็คด้วยตนเองได้ยาก แต่หากอยู่ในช่วงการรับประกันบางบริษัทสามารถให้บริการตรวจเช็คถึงสถานที่ติดตั้งเครื่องได้เลย แต่ถ้าหมดช่วงรับประกันจะต้องส่งเครื่องให้ทางศูนย์ยี่ห้อที่ซื้อทั้งเครื่องเพื่อซ่อมแก้ไข การส่งเคลมสินค้าก็อาจต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจซ่อมนาน แต่การซื้อคอมพิวเตอร์สำเร็จก็ทำให้การจัดการระบบที่ใช้งานร่วมกันได้ง่าย เนื่องจากอุปกรณ์จะรู้จักกันเองระหว่างอุปกรณ์ดีกว่าการใช้คอมพิวเตอร์ประกอบซึ่งสร้างจากอุปกรณ์ต่างชนิด
มาที่ http://www.zynektechnologies.co.th

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

CCD vs CMOS ใครคือผู้ชนะ

CCD
ในกล้องทุกตัว แน่นอนหัวใจสำคัญที่สุดอันหนึ่งที่จะทำให้กล้องตัวนั้นถ่ายทอดรูปออกมาได้ สวยก็คงหนีไม่พ้น Sensor รับภาพ ซึ่งมีหน้าที่รับแสงที่เข้ามาแล้วเปลี่ยนค่าแสงนั้นๆเป็นสัญญาณดิจิตอล ซึ่งในปัจจุบันก็คงมี Sensor รับภาพอยู่เพียง 2 แบบใหญ่ๆเท่านั้น ซึ่งก็คือ CCD (ซีซีดี) และ CMOS (ซีมอส) ที่เป็นคู่แข่งที่สำคัญในท้องตลาด 


CCD - CCD ย่อมาจาก Charge Coupled Device เป็น Sensor ที่ทำงานโดยส่วนที่เป็น Sensor แต่ละพิกเซล จะทำหน้าที่รับแสงและเปลี่ยนค่าแสงเป็นสัญญาณอนาล็อก ส่งเข้าสู่วงจรเปลี่ยนค่าอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอลอีกที


รูปแสดงการทำงานของ CCD 

CMOS
CMOS - CMOS ย่อมาจาก Complementary Metal Oxide Semiconductor เป็น Sensor ที่มีลักษณะการทำงานโดยแต่ละพิกเซลจะมีวงจรย่อยๆเปลี่ยนค่าแสงที่เข้ามาเป็น สัญญาณดิจิตอลในทันที ไม่ต้องส่งออกไปแปลงเหมือน CCD


รูปแสดงการทำงานของ CMOS


สรุปง่ายๆ คือ CMOS จะมีวงจรแปลงสัญญาณแสงในแต่ละพิกเซลเลย ส่วน CCD ตัวรับแสงจะรับแสงอย่างเดียว และจะส่งค่าที่ได้ออกมาให้วงจรที่มีหน้าที่แปลงสัญญาณอีกที

ความเร็วในการการตอบสนอง
ในแง่นี้ CMOS จะเหนือกว่า เนื่องจากตัว CMOS จะแปลงสัญญาณเสร็จในตัวเอง ไม่ต้องส่งข้อมูลไปยังวงจรอื่นอีก

Dynamic Range (คุณภาพในการรับแสง)
ใน แง่นี้ CCD ได้เปรียบอย่างมาก เนื่องจากตัวรับแสงของ CCD มีแต่ส่วนรับแสงเพียงอย่างเดียว ต่างกับ CMOS ที่ต้องมีวงจรแปลงสัญญาณในแต่ละพิกเซลด้วย ดังนั้นถ้าในขนาดที่เท่ากัน ส่วนรับแสงของ CCD จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า เนื่องจากไม่ต้องเสียพื้นที่ไปให้วงจรอื่นๆเหมือน CMOS

ความละเอียด
ตรงนี้ CCD ได้เปรียบอีกเช่นกัน เนื่องจากเหตุผลเดียวกันกับ Dynamic Range

การใช้พลังงาน
ข้อนี้ CMOS เหนือกว่าเนื่องจากสามารถรวมวงจรต่างๆไว้ในตัวได้เลย ต่างจาก CCD ที่ต้องมีวงจรแปลงค่าเพิ่มขึ้นมา

ดังนั้นพอจะสรุปได้คร่าวๆว่าในแง่ของการทำงาน (ความเร็ว การใช้พลังงาน) CMOS ได้เปรียบ ส่วนในแง่คุณภาพของภาพ CCD ได้เปรียบ

สาเหตุ ที่ผมไม่ใช้คำว่า "เหนือกว่า" เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีในการผลิตสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้ช่องว่างข้อได้เปรียบของ Sensor ทั้ง 2 แบบ ถูกลดต่ำลง โดยหากจะย้อนกลับไปเมื่อซัก 3-4 ปีก่อน ตอนนั้นทุกคนก็คงคิดว่า CCD จะเอาชนะ CMOS ได้อย่างแน่นอน เนื่องจากข้อได้เปรียบในเรื่องคุณภาพและความละเอียดที่พัฒนาได้ง่ายกว่า

แต่ สิ่งที่ CMOS มีแล้วเป็นจุดสำคัญที่สุดก็คือในเรื่องของ "ต้นทุนที่ต่ำกว่า" เนื่องจากสามารถรวมทุกอย่างไว้ในวงจรเดียวได้เลย ดังนั้นเมื่อเทคโนโลยีการผลิตสูงขึ้น ทำให้หลายๆจ้าวเหลียวกลับไปมอง CMOS อีกครั้ง

แต่ถ้าจะถามว่า ในแง่ของผู้ซื้อ หากจะเลือกซื้อกล้องดิจิตอลซักตัว จะเลือกซื้อกล้องที่ใช้ Sensor แบบ CCD หรือ CMOS ดีกว่ากัน คงต้องตอบว่า "ไม่ต้องไปสนใจครับ" หากว่ากล้องตัวนั้นถ่ายรูปออกมาแล้วความคมชัด-สีสัน ถูกใจคุณแล้วละก็ ชนิดของ Sensor ที่ใช้จะสำคัญตรงไหน

เหมือนเวลาเราจะเลือกแฟนซักคน ถ้านิสัยดี หน้าตาเรารับได้ อยู่ด้วยแล้วมีความสุขแล้วละก็ ........ เราจะไปสนใจทำไมละครับว่า "เครื่องใน" เค้าเป็นยังไง ถูกต้องไหมครับ !!!!!!!

ที่มา :
http://www.klongdigital.com/news2/show_news.php?newsid=5  
http://zynekcctv.com/smf116/index.php?topic=41.0

การเลือกใช้สาย สำหรับกล้องวงจรปิดแบบ Analogue

        Coaxial (โคแอคเชียล) หรือ “สายแกนร่วม” หรือ RG (Radio Guide) หรือ สายนำสัญญาณวิทยุ เพื่อป้องกันการสับสนมันคือสายชนิดเดียวกันนั่นเอง
สาย RG6 ส่วนใหญ่แล้วใช้ในงาน ด้านกล้องวงจรปิด สายอากาศทีวี สายจานดาวเทียม หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบหลักๆ จะประกอบไปด้วย
1. Conductor (ตัวนำสัญญาณ) ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเหล็กหุ้มด้วยทองแดง ถ้าหุ้มด้วยทองแดง CCS (Copper Covered Steel)จะบอกเป็น % ของทองแดงหุ้มหรือบางครั้งจะใช้เป็นทองแดงล้วนไปเลย สาเหตุที่ส่วนใหญ่ไม่ใช้เป็นแกนทองแดงล้วนเพราะ ราคาทองแดงราคาสูง และกระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่จะไหลผ่านตัวนำที่บริเวณพื้นที่ผิวของวัตถุ

2.Insulator (ฉนวนหุ้ม) ทำหน้าที่ป้องกันสัญญาณรบกวน จะใช้เป็นโฟม หรือ PE แล้วหุ้มทับด้วยเทปอลูมิเนียม
3. Wire Braid Shield (ชิลด์หรือเส้นถัก) ส่วนใหญ่ทำจากอลูมิเนี่ยมและทองแดง ป้องกันการแพร่กระจายของสัญญาณรบกวน และการกระจายของสัญญาณออกมาภายนอก จะบอกเป็น % คือพื้นที่ความหนาแน่นที่ในการถัก เช่น 60% 90% 95% สูงสุดอยู่ที่ 95% หรือจำนวนของเส้นที่ใช้ในการถัก เช่น 112, 120, 124, 144 เส้นยิ่งมากก็ยิ่งช่วยในการนำสัญญาณได้ดี และป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก ทำให้เดินได้ในระยะที่ไกลขึ้นและป้องกันการกวนของสัญญาณจากภายนอกได้ดี
4. Jacket (เปลือกหุ้มสาย) ทำหน้าที่หุ้มสายทั้งหมด ถ้าใช้ภายในจะทำด้วย PVC (Polyvinylchloride) ส่วนภายนอกจะใช้วัสดุที่เป็น PE (Polyethylene ) ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถป้องกันน้ำและทนแดด สามารถใช้ภายนอกได้

สายที่ส่วนมากที่นิยมใช้สำหรับกล้องวงจรปิดจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด มาตรฐานของสายสัญญาณ RG ระยะที่แนะนำมีดังนี้

RG59 สามารถเดินได้ไกล ระยะ 350 เมตร ขนาดของสาย จะมีขนาดเล็กกว่ายืดหยุ่นกว่าเหมาะสำหรับเดินระยะไม่ไกลมาก ตัวสายดัดโค้งงอได้ง่าย 
RG6   สามารถเดินได้ไกล ระยะ 450 เมตร เป็นที่นิยมที่สุดเพราะราคาถูกเดินได้ระยะไกลกว่าสายไม่แข็งมาก 
RG11 สามารถเดินได้ไกล ระยะ 750 เมตร เหมาะสำหรับเดินภายนอกอาคารที่ระยะไกลๆ ขนาดของสายเส้นจะใหญ่กว่าทุกแบบ

ถ้าระยะที่เกินกว่านี้ส่วนมากจะใช้ไฟเบอร์ออฟติกเพื่อทำการแปลงสัญญาณจาก Analog เป็นคลื่นแสงแบบดิจิตอล แล้วทำการแปลงสัญญาณกลับมาเป็นสัญญาณ Analog ที่ใช้กับกล้องอีกครั้ง เช่น ไฟเบอร์ออฟติก แบบมัลติโหมด สามารถเดินได้ถึง 2 กิโลเมตร ส่วนถ้าเป็น Single Mode สามารถเดินได้ถึง 80 กิโลเมตรกันเลยทีเดียว

สรุป การใช้เลือกใช้สายในการใช้งานกล้องวงจรปิดควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานเช่นหากต้องการเดินในที่พักอาศัยระยะไม่ไกลก็ใช้สายที่วัสดุ PVC หรือที่เป็นแบบสีขาว ก็อาจจะเพียงพอแล้วเพราะสามารถดัดโค้งงอได้ง่ายกว่าแถมประหยัดค่าใช้จ่ายกว่า ถ้าเดินข้างนอกระยะไม่ไกลมากก็ใช้เป็นสายที่ทำจาก PE ส่วนใหญ่จะเป็นสีดำ หรือถ้าเดินผ่านส่วนของไฟโรงงานที่เป็น 3 เฟสหรือ มอเตอร์และหม้อแปลงขนาดใหญ่ก็แนะนำให้เดินสายไฟเบอร์ออฟติกไปเลย แต่ราคาก็จะขยับขึ้นมาแต่ได้ความเสถียรเพราะไฟเบอร์ออฟติกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะไม่สามารถรบกวนคลื่นสัญญาณแสงได้

การเลือกชนิดของ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ให้เหมาะกับการใช้งาน ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ :

การเลือกชนิดของ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ให้เหมาะกับการใช้งาน ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ :

q       ระบบ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ใช้ทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ CCIR ( PAL:ใช้ในประเทศไทย ) และ EIA (NTSC) กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ระบบ CCIR เป็นระบบมาตรฐานยุโรป 625 เส้น 220 โวลต์ 50 เฮิรตช์ ส่วน EIA เป็นระบบมาตรฐานอเมริกัน 525 เส้น 110 โวลต์ 60 เฮิรตช์ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในประเทศไทยจะต้องเป็นระบบ CCIR

q       ขนาดของแผ่นรับภาพของ CCD Sensor format (ที่เรียกติดปากกันว่า ขนาดชิป ) ถ้ายิ่งมีขนาดใหญ่ยิ่งดี เพราะสามารถมองภาพได้มุมที่กว้าง เช่น ขนาด 2/3", 1/2", 1/3", และ 1/4"  เป็นต้น ขนาดของแผ่นรับภาพแต่ละรุ่นนั้นจะมีผลต่อความละเอียดของภาพ ( Numbers of Pixels ) และการเลือกใช้เลนส์ให้ได้มุมมองของภาพตามต้องการ

q       ความสว่าง ( Illumination ) คุณสมบัติของอุปกรณ์รับภาพของ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)นั้น ไม่ใช่มีผลเฉพาะต่อความไวที่มีต่อแสงสว่างเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อสีของวัตถุอีกด้วย คุณภาพ ของภาพที่ดีจะขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงที่ฉากรับภาพ ในกรณีของ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่เป็น กล้องสี ต้องคำนึงถึงอุณหภูมิสี ( Colour Temperature) ที่ได้จากแสงสว่างร่วมกันกับแหล่งกำเนิดแสงทั่ว ๆ ไป เพราะประกอบด้วยแสงสีชนิดต่าง ๆ รวมกัน และแสงบริเวณรอบ ๆ กล้องที่จับภาพจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้แสงไม่คงที่ตลอดเวลา

การกำหนดค่าความสว่างของ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)  มีหน่วยเป็นลักซ์ :Lux  นั้นต้องคำนึงถึงความสว่างของพื้นที่กล้องจับภาพ, การสะท้อนของแสงที่ฉากรับภาพ, ระยะห่างของวัตถุฉากรับภาพถึงตัวกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ซึ่งทำให้อัตราการสูญเสียของแสงที่หายไปรวมถึงการเลือกใช้ชนิดของเลนส์เป็นองค์ประกอบการพิจารณาด้วย

โดยทั่วไป กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) แบบ CCD สามารถแบ่งตามคุณสมบัติของความสว่างได้ 3 ระดับ คือ
  1.        กล้องที่ใช้ในกิจการทั่วไป ต้องการความสว่างตั้งแต่ 5-2,000 Lux
  2.     กล้องที่ใช้ในกิจการความปลอดภัยสูง ต้องการความสว่างตั้งแต่ 0.1-5 Lux
  3.     กล้องที่ใช้ในกิจการพิเศษโดยเฉพาะอย่าง ต้องการความสว่างตั้งแต่ 0.0001-0.1 Lux
q       ระบบซิงค์ ( Synchronization ) โดยทั่วไป กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) จะมีวงจรกำเนิดซิงค์ในตัวของมันเองอยู่แล้ว ซิงค์ของกล้องแต่ละตัวจะไม่ตรงกัน หากเรานำกล้องหลาย ๆ ตัว มาใช้ร่วมกันโดยผ่าน เครื่องลำดับภาพ (Sequence Switcher) และแสดงภาพบนจอมอนิเตอร์ จะสังเกตเห็นได้ว่าในขณะที่เครื่องลำดับภาพสลับภาพจาก กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ตัวหนึ่งไปยังอีก กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)ตัวหนึ่งนั้น ภาพจะกระตุกในแนวตั้งบนจอมอนิเตอร์ ซึ่งจะมีผลต่อการบันทึกภาพวิดีโอ เมื่อนำภาพวิดีโอนั้นมาเล่นอสลับทำให้ภาพล้มเป็นช่วง ๆ ตามจังหวะ การสลับภาพของเครื่องลำดับภาพ

q      ความคมชัดของภาพ ( Resolution ) กล้องที่มีความคมชัดสูงจะให้ภาพที่คมชัด ซึ่งคุณสมบัตินี้นับว่าเป็นพื้นฐานของการเลือกชนิดของกล้อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละโรงงานให้เหมาะสมกับการใช้งานในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป


ที่มา: http://www.matcom.co.th 

โทรทัศน์วงจรปิด

โทรทัศน์วงจรปิด (อังกฤษ: closed circuit television หรือย่อว่า CCTV) คือระบบการบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องวงจรปิด ซึ่งเป็นระบบสำหรับการใช้เพื่อการรักษาความปลอดภัย หรือใช้เพื่อการสอดส่องดูแลเหตุการณ์หรือสถานะการณ์ต่างๆ ที่นอกเหนือจากการรักษาความปลอดภัย

โทรทัศน์วงจรปิดได้ติดตั้งระบบครั้งแรกโดย เอจี Siemens ที่ ทดสอบ V(2) ใน Peenemünde เยอรมนีใน 1942เพื่อสังเกตการณ์สำหรับการเปิดตัวของ V2-rockets(V2-rockets คือขีปนาวุธของเยอรมนีตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ) วิศวกรเยอรมันชื่อ Walter Bruch คือรับผิดชอบในการออกแบบและการติดตั้งระบบ และ ในเดือนกันยายน 1968, Olean นิวยอร์ก คือแรกเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อติดตั้งกล้องวิดีโอ ในถนนธุรกิจเพื่อป้องกันการก่อการร้าย ต่อมาการใช้ โทรทัศน์วงจรปิดในภายหลังได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นใน ธนาคาร, สถานที่ราชการ,ที่สาธารณะ หรือแม้กระทั่งบริษัทห้างร้านต่างๆ

องค์ประกอบที่สำคัญของระบบโทรทัศน์วงจรปิด
  1. กล้องโทรทัศน์วงจรปิดและเลนส์ (กล้องวงจรปิด, CCTV Camera and Lens)
    1. กล้องมาตรฐาน เป็นกล้องที่ใช้ในแสงปกติ เช่นในเวลากลางวัน แต่จะให้ภาพไม่ชัดในเวลากลางคืน
    2. กล้องอินฟาเรด เป็นกล้องที่ใช้แสงจากหลอดอินฟราเรดส่องไปกระทบวัตถุ เพื่อให้กล้องจับภาพบริเวณนั้นๆได้ อินฟราเรดจะทำงานเมื่อสภาวะแสงบริเวณนั้นน้อยลงในระดับหนึ่ง โดยจะมี censor ที่ด้านหน้าของกล้องตรวจวัดระดับแสง แล้วจะส่งสัญญาณให้หลอดอินฟราเรดทำงาน และเมื่อหลอดอินฟราเรดทำงานภาพจะเปลี่ยนเป็นขาว-ดำ ทันที
    3. กล้อง Day & Night กล้องวงจรปิดที่สามารถใช้งานได้ทั้งกลางวันและกลางคืน แต่ต้องการแสงเล็กน้อยเพื่อให้กล้องวงจรปิดสามารถจับภาพได้ และเมื่อกล้องวงจรปิดได้รับแสงน้อยมากๆ (สภาวะที่ยังมีแสงอยู่เล็กน้อย) ก็จะเปลี่ยนภาพเป็นโหมด ขาว-ดำ
    4. กล้อง Star Light การทำงานคล้ายๆ กับกล้อง Day & Night แต่พิเศษกว่าตรงที่สามารถให้ภาพสีในเวลากลางคืน แม้จะมีแสงเพียงเล็กน้อยก็ตาม
  2. สายเคเบิลสำหรับการส่งสัญญาณภาพและบีเอ็นซีคอนเนคเตอร์ (Signal Cable and BNC Connector) สามารถใช้ได้ทั้งสายนำสัญญาณแบบทั่วไป หรือสายใยแก้ว
  3. เครื่องบันทึกภาพและจอแสดงผล (CCTV Recorder and Monitor) เดิมใช้ระบบบันทึกภาพแบบม้วนวิดีโอ VHS บันทึกแบบอนาลอก ซึ่งมีราคาถูก แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เปลี่ยนไปเป็นการบันทึกภาพแบบดิจิตอล บันทึกลงบนฮาร์ดดิสก์ ขนาดความจุที่แตกต่างกัน มีระบบควบคุมอัตโนมัติ เช่นสามารถบันทึกได้ 30 วัน เมื่อถึงวันที่ 31 ก็จะลบวันที่ 1 โดยอัตโนมัติ เป็นต้น

ซึ่งการทั้งบันทึกภาพแบบดิจิตอลหรือการบันทึกแบบอนาลอก สามารถบันทึกในคราวเดียวกันได้มากกว่า 1 กล้อง เช่น 2, 4, 6 ฯลฯ แต่กก็มีจุดอ่อนตรงที่หากแบ่งเป็นหลายช่องหลายกล้องบันทึกพร้อมกัน จะทำให้คุณภาพของภาพที่ได้ไม่ชัดเจน เมื่อจะนำภาพไปใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่เพราะภาพจะไม่ชัด


ประโยชน์ของกล้องวงจรปิด

  • รักษา เฝ้าระวัง ความปลอดภัยของ บุคคลและสถานที่ สำหรับเฝ้าดูและเก็บหลักฐานการทำผิดกฎหมาย ซึ่งโจรผู้ร้ายมักจะหลีกเลี่ยงการทำผิดต่อหน้ากล้องวงจรปิด เพราะจะเป็นหลักฐานที่สำคัญในการจับกุม แต่บ่อยครั้งที่โจรสามารถหลบเลี่ยงมุมกล้องได้
  • ตรวจสอบการทำงาน ใช้ประโยชน์ในโรงงาน สำหรับผู้จัดการ ในการดูพฤติกรรมการทำงานของพนักงานในโรงงาน
  • ทำงานร่วมกับระบบอัตโนมัติ ใช้ประโยชน์เหมือนตาระยะไกลในการเฝ้ามองผ่านตัวเซ็นเซอร์เพื่อควบคุมระบบอัตโนมัติ
  • คำนวณตรวจสอบ เช่น การตรวจสอบคุณภาพ
  • ใช้เป็นหลักฐาน เพราะได้ทั้งภาพและเสียง ภาพวิดีโอที่บันทึกได้จึงมีความน่าเชื่อถือกว่าเทปเสียง แต่ส่วนใหญ่ภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกไว้เป็นหลักฐานมักจะมีเฉพาะภาพเคลื่อนไหวอย่างเดียว มักจะไม่มีเสียงประกอบ