โฮมเธียเตอร์โดยพื้นฐาน จะประกอบด้วยอุปกรณ์แสดงภาพ แหล่งสัญญาณภาพ และระบบเครื่องเสียง โดยสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย และอาจจำแนกได้ไม่ง่ายนัก ระหว่าง "โฮมเธียเตอร์" กับ ชุด"โทรทัศน์และสเตอริโอ" แต่โดยมากผู้ใช้อุปกรณ์เครื่องเสียงส่วนใหญ่จะลงความเห็นพ้องกันว่า โฮมเธียเตอร์นั้น เป็นระบบภาพเสียงที่มีคุณภาพสูง มีระบบเสียงรอบทิศทาง ให้เสียงและภาพที่ใหญ่ และได้อารมณ์ ความเพลิดเพลินจากการชมภาพยนตร์ในระดับใกล้เคียงโรงภาพยนตร์ขนาดย่อม โดยมากแล้วเนื้อหาของโฮมเธียเตอร์มักจะเป็นเรื่องของความเพลิดเพลินความบันเทิง เช่น ภาพยนตร์ ดนตรี กีฬา มากกว่าจะเป็นข่าวหรือสารคดี
การจัดวางลำโพง
การจัดวางลำโพง |
การจัดวางลำโพงนั้นให้จัดเป็นลักษณะแนวเส้นโค้ง โดยหันลำโพงให้ทำมุมกับตำแหน่งที่คุณต้องการนั่งฟัง (Sweet Spot) และให้ลำโพงห่างจากกำแพงอย่างน้อย 30 เซนติเมตร
จัดให้ตำแหน่งลำโพง Tweeter (ลำโพงเสียงแหลม) ของลำโพงคู่หน้าและลำโพงกลางอยู่ในระดับเดียวกับหูโดยจะใช้ขาตั้งหรือการแขวนก็ได้ สำหรับการติดตั้งชุดลำโพงข้างต้นก็แนะนำว่าควรที่จะใช้รุ่นและยี่ห้อเดียวกัน เพื่อให้ได้เสียงที่มีความกลมกลืนกันมากที่สุด
เพื่อสร้างเสียงรอบทิศทาง ลำโพงคู่หลังและคู่ข้าง ควรจะติดตั้งเหนือระดับหู 30-60 เซนติเมตร แต่การจัดแบบนี้เหมาะกับการชมภาพยนตร์ มันอาจจะทำให้อรรถรสในการฟังเพลงชนิดที่ต้องการคุณภาพสูงๆ เสียไปบ้างเล็กน้อย เช่นการฟังจาก Super Audio CD และ DVD-Audio เนื่องจากเพลงเหล่านี้ทางห้องอัดเองได้มีการจำลองเสียงจริงสำหรับการวางลำโพงแบบปกติไว้แล้ว
การหาจุดวาง Subwoofer ให้ได้ตำแหน่งที่เหมาะสมนั้นอาจจะใช้ประสบการณ์ในการจัดอยู่บ้าง และพึงระลึกว่าการให้เสียงเบสจากมุมจะช่วยเสริมความดัง และให้เสียงมีมิติมากขึ้น แต่ก็ต้องปรับความดังให้เหมาะสมเช่นกัน มิฉะนั้นเสียงเบสจะกลบเสียงย่านความถี่อื่นๆ ไปหมด ทำให้เสียอรรถรสในการรับฟัง และควรจัดที่วางลำโพงให้มีที่วางเพียงพอเพื่อป้องกันการอัดกระแทกของเสียง? และใช้เสียงเบสจะช่วยให้เสียงมีความกว้างและมิติมากขึ้น
การหันเข้า-ออก(toe in/out) ของลำโพง
การหันเข้า-ออก(toe in/out) ของลำโพง |
เทคนิคการหันลำโพงเข้า-ออก (toe in/out)? แตกต่างกันที่การวางลำโพงซ้ายและขวาของลำโพงคู่หน้า โดยที่การหันลำโพงเข้า (toe in) จะเน้นในเรื่องการวางเสียงให้กลมกลืนกัน ขณะที่การหันลำโพงออก (toe out) นั้นจะวางลำโพงให้แนวเสียงขนานกับผนังเพื่อทำให้เสียงกระจายได้ทั่วห้อง
การทดสอบด้วยมุมที่แตกต่างกันเพื่อหาจุดที่ดีที่สุด ต้องใช้ความชำนาญนิดหน่อย แต่โดยทั่วไปการจัดในส่วนนี้จะเหมาะกับผู้ชมในจำนวนที่ไม่มาก
การปอกสายลำโพง
ขณะที่ดูเหมือนอาจจะเป็นการขั้นตอนที่ไม่ค่อยสำคัญ? แต่กลับเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้หน้าสัมผัสของสายลำโพงเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเป็นการลดการกัดกร่อน (เช่น สนิม) และป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้
วิธีการ คือ แยกสายลำโพงเป็น 2 เส้น ซึ่งจะได้เป็นสายนำและสายฉนวน พร้อมกับปอกออกความยาว 1 เซนติเมตรให้เรียบร้อย จากนั้นบิดสายไปในทิศทางเดียวกันให้เป็นเกลียว และตัดในส่วนที่ไม่เรียบร้อยออก
ในการปอกสายลำโพง จะทำให้เราทราบว่าคีมปอกสายที่ต่างกัน ก็มีผลต่อความหนาบางในการปอกสายเหมือนกัน
การติดตั้งสายลำโพงเข้ากับเครื่องขยายเสียง
ในส่วนตรงนี้จะเป็นด้านหลังของเครื่องขยายเสียงหรือเครื่องเสียงของคุณ เคล็ดลับในการใส่สายที่เราได้ปอกไว้แล้วนั้น คุณควรแน่ใจว่าสายลำโพงฝั่งไหนเป็นขั้วบวก (+) และขั้วลบ (-) ซึ่งสีที่บ่งบอกก็จะเป็น สีแดงและสีดำตามลำดับ
แนะนำว่าจะต้องมีความระมัดระวังมากๆ ในส่วนของการติดตั้งสายลำโพงเข้ากับเครื่องเสียง เพราะถ้าติดตั้งผิดอาจจะทำให้เกิดการลัดวงจรของอุปกรณ์ และถ้ามันเกิดลัดวงจรขึ้นมา ส่วนนี้จะไม่ครอบคลุมในการรับประกันต่างๆ ของผู้ผลิต
การติดตั้งสายลำโพงเข้ากับลำโพง
ตรวจสอบการติดตั้งของการติดตั้งสายลำโพงอีกครั้ง ว่าถูกต้องหรือไม่เพื่อความปลอดภัยและเพื่อป้องกันความเสียหายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
สำหรับลำโพงในระดับ Hi-end นั้น มักจะขายมาเป็นคู่พร้อมเครื่องขยายเสียงที่เป็นระบบสเตอริโอ และสายลำโพงคุณภาพสูง โดยทั่วไปแล้วโรงงานจะมีการต่อสายตรงระหว่างขั้วเชื่อมต่อกับสายลำโพงเลย และตัวเครื่องขยายเสียงเองนั้นก็จะเป็นประเภท โมโนบล็อก (ตัวขยายเสียงแยกอิสระ) ซึ่งการต่อสายลำโพง ก็จะต่อเข้าไปยังขั้วของลำโพง ตามที่โรงงานได้กำหนดมาให้สำหรับระหว่างเชื่อมต่อด้านหลังลำโพง
การปรับแต่งซอฟต์แวร์
ต่อไปนี้จะพูดถึงการปรับแต่งค่าต่างๆ ในซอฟต์แวร์ของระบบเสียงรอบทิศทาง ถ้าเครื่องขยายเสียง (A/V Receiver) หรือตัวประมวลผลเสียงของคุณ มีระบบอัตโนมัติในการปรับแต่งได้แนะนำให้ใช้ในส่วนนี้ (A/V Receiver ระดับกลางขึ้นไปส่วนใหญ่แล้วจะมีฟังก์ชันนี้) ยกตัวอย่างของ ทาง Pioneer จะมีระบบ Advanced Multi-Channel Acoustic Calibration ช่วยปรับแต่งอัตโนมัติ โดยเพียงแค่คุณติดตั้งไมโครโฟนไว้ที่จุด Sweet Spot แล้วใช้ฟีเจอร์นี้ ตัวระบบจะทำการตรวจหาลำโพงและปรับคุณภาพเสียงให้สมดุลที่สุดเอง
สำหรับในยี่ห้ออื่นๆ ซอฟต์แวร์ในส่วนนี้ก็จะแตกต่างกันไป คงต้องดูคู่มือประกอบการปรับแต่งไปด้วย ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาซักหน่อย ทั้งการจัดวางลำโพง, การประสานเสียงของลำโพง, ความดังของเสียงแต่ละลำโพง เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่ดีที่สุดหรือจนกว่าคุณจะพอใจ
แจ๊คลำโพงในแบบต่างๆ
นอกจากที่เราจะปอกเป็นสายลำโพง เป็นสายเปลือยอย่างเดียวแล้ว ยังมีวิธีเข้าหัวสายลำโพงโดยใช้ Banana plugs, Spade plugs และสุดท้ายคือแบบ Pin plugs การเชื่อมต่อสายลำโพงที่ไม่ดีอาจจะมีการกัดกร่อนได้ เพื่อการเชื่อมต่อลำโพงได้สะดวกรวดเร็วขึ้น คุณควรแน่ใจว่าการเข้าหัวเป็นแจ๊คนี้เหมาะสมกับอุปกรณ์และการใช้งานของคุณ ซึ่งในการเชื่อมต่อสายลำโพงเข้ากับแจ๊ค นิยมใช้อยู่ 2 วิธี คือ 1.การขันติด 2.บัดกรีติดไปเลย
ที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น