ระบบเสียงสำหรับการแสดงและเทคนิคการลดเสียงหอน
เมื่อพูดถึงระบบในโรงละคร ห้องประชุม ตลอดจนระบบเสียงที่ใช้ในการแสดงดนตรีหลายคนอาจจะคุ้นเคยและทราบดีว่ามันเป็นระบบที่ใช้เครื่องขยายตลอดจนอุปกรณ์ทางเสียงที่มีคุณภาพและราคาอยู่ในขั้นมืออาชีพ (ดีและแพง) แต่ยังมีอีกเป็นจำนวนมากที่คิดว่าจะใช้เครื่องขยายเสียงที่เปิดฟังตามบ้านกับระบบเสียงดังกล่าวนี้ได้ (ลองใช้ดูหลายราย) เครื่องขยายเสียงที่ใช้ฟังตามบ้าน ตามห้องนั้นความคงทนตลอดจนกำลังขับ (output power) ไม่เหมาะสมกับระบบเสียงใหญ่ ๆ ที่มีบริเวณกว้าง ๆ นี่เป็นเพียงความแตกต่างทางด้านอุปกรณ์เท่านั้น มันยังมีข้อแตกต่างอีกมากมายระหว่างระบบเสียงภายในบ้าน (domertic system) กับระบบเสียงสำหรับการแสดง (sound reinforcement system)
ระบบเสียงสำหรับการแสดงที่เราจะกล่าวถึงนี้แยกเป็นส่วนย่อยอีกระบบหนึ่งคือ ระบบกระจายเสียงในที่สาธารณะ (Public Address) ซึ่งเรามักจะคุ้นเคยกับชื่อย่อของมันที่ว่า ระบบพีเอ
(P.A. system) ระบบพีเอเป็นระบบเสียงที่เน้นหนักด้านการกระจายเสียงพูด เช่น ในการอภิปารยปาฐกถา การหาเสียง เป็นต้น ส่วนระบบเสียงสำหรับการแสดจะมีจุดมุ่งหมายในการกระจายเสียงทั้งเสียงพูดและเสียงพูด เสียงร้องเพลงและเสียงดนตรีควบคู่ไปด้วย ดังนั้นระบบเสียงสำหรับการแสดงจะมีความยุ่งยากและละเอียดอ่อนมากกว่าระบบพีเอ อย่างไรก็ตาม เราสามารถใช้หลักการเดียวกันกับทั้งสองระบบได้ ระบบเสียงทั้งสองนี้มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ผู้ชมคนดูจะอยู่ในบริเวณเดียวกับผู้แสดง สภาพเช่นนี้เราถือว่าผู้ชมและผู้แสดงอยู่ในสภาพธรรมชาติของเสียงแบบเดียวกัน เช่น ถ้าอยู่ในห้องประชุมทั้งคนดูและคนแสดงจะอยู่ในสภาพเสียงก้องเสียงสะท้องแบบเดียวกัน ถ้าอยู่ในสนามหญ้าก็จะพบปัญหาเดียวกัน ถ้าอยู่ในสนามหญ้าก็จะพบปัญหาเสียงรบกวนจากลมและอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน จะเห็นว่ามันแตกต่างจากการเปิดเครื่องรับ (receiver) ฟังรายการจากวิทยุหรือฟังเพลงจากเครื่องเล่นเทป เพราะว่าสัญญาณต่าง ๆ เหล่านี้มาจากที่อื่น หรือเป็นสัญญาณที่ถูกบันทึกไว้ โดยในขณะบันทึกนั้นสภาพธรรมชาติของเสียงในห้องบันทึกกับห้องที่เรานั่งฟังนั้นแตกต่างกัน
รูปที่ 1 ระบบพีเอแบบง่าย ๆ และเป็นพื้นฐานที่สุด
|
รูปที่ 2 ระบบเสียงสำหรับการแสดง
|
นอกจากนี้จากรูปที่ 2 เราจะพบว่ามีเครื่องขยายอีกชุดที่ใช้เป็นตัวขับลำโพงมอนิเตอร์ เพื่อที่จะให้ผู้แสดงเองได้ยินระดับความดังของเสียงดนตรีหรือเสียงร้องที่ตัวเองกำลังแสดงอยู่ว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับเครื่องดนตรีชิ้นอื่น ๆ หรือเปล่า ประโยชน์ของการใช้มอนิเตอร์นี้จะทำให้นักดนตรีสามารถแสดงได้อย่างมั่นใจไม่พวงว่าขณะนั้น ๆ เสียงดนตรีที่ไปยังคนดูมีคุณภาพเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าผิดพลาดก็จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที ในสมัยแรก ๆ นั้นการแสดงดนตรีมักจะไม่มีระบบมอนิเตอร์ ทำให้เสียงเพลงที่ได้ห้วน ๆ หรือแย่งกันตะเบ็งเสียง ประโยชน์อีกข้อของการใช้ระบบมอนิเตอร์ก็คือ จะช่วยให้การบันทึกเสียงของการแสดงเป็นไปได้ง่ายเข้า โดยต่อพ่วงจากมอนิเตอร์เลย
จุดหมายหรือเป้าหมายของระบบเสียงสำหรับการแสดง (รวมระบบพีเอด้วย) นั้นถ้าจะพูดก็พูดได้ง่ายมาก แต่จะทำให้ได้นั้นจะยากเป็นหลายเท่าทวีคูณ เป้าหมายใหญ่ ๆ ก็คือการกระจายเสียงร้องเสียงดนตรีไปยังคนดูด้วยระดับความดัง ความสมจริงที่เหมาะสม ไม่ดังหรือค่อยเกินไปในทุก ๆ บริเวณและทุกเวลาที่เราต้องการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวเราต้องเผชิญกับปัญหาด้านต่างๆ มากมาย ดังจะได้กล่าวในตอนต่อไป ก่อนอื่นเรามาพิจารณาถึงส่วนประกอบสำคัญของระบบเสียงที่ว่านี้ ส่วนประกอบที่สำคัญแยกออกเป็น 3 ส่วนคือ ทางด้านผู้แสดง (performers) อุปกรณ์เครื่องเสียง (equipment) สภาพธรรมชาติของเสียงในบริเวณนั้น (environment and acoustics) ตอนนี้บางท่านก็คงจะเข้าใจถึงระบบเสียงที่แท้จริงแล้วว่ามันไม่ใข่มีเฉพาะอุปกรณ์เครื่องเสียงเท่านั้นที่เป็นหัวใจของระบบเสียง แต่ยังมีสิ่งที่ควบคู่มาอีก 2 อย่าง ดังนั้นการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ดีเยี่ยมอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้ระบบเสียงดีเท่าที่ต้องการได้ ปัญหาต่าง ๆ ที่มักจะพบบ่อยที่สุดในระบบเสียง พร้อมด้วยการแก้ไขปัญหาเหล่านี้
คุณภาพของเสียง
ปัญหาข้อนี้ขึ้นกับคุณภาพของอุปกณ์เครื่องเสียงที่ใช้ว่าจะให้ความขัดเจนมากน้อยเพียงใด ความเพี้ยนของอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ในระดับที่พอเพียงหรือเปล่า ถ้าจะพูดกันง่าย ๆ คุณภาพของเสียงขึ้นกับความเป็น Hi-Fi ของอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้ นอกจากนี้ผลตอบเชิงความถี่ยังเป็นตัวกำหนดความชัดเจนด้วย ดังนั้นการเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีความเพี้ยนต่ำและผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณภาพของเสียงดีขึ้นได้
โดยปกติแล้วผลตอบเชิงความถี่ของอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้ไม่จำเป็นต้องเรียบครอบคลุมช่วงความถี่ที่ประสาทหูของคนรับรู้ได้ เพราะเสียงคนไม่เหมือนเสียงดนตรี สำหรับเสียงพูดผลตอบเชิงความถี่ควรจะราบเรียบในช่วง 150 Hz ถึง 7 kHz ก็พอ ดังนั้น เวลาเราเลือกใช้ไมโครโฟนเพื่อรับเสียงคนอย่างเดียวก็พยายามเลือกชนิดที่ให้ผลตอบเชิงความถี่ในช่วงดังกล่าวก็พอแล้ว สำหรับระบบเสียงที่ต้องการทั้งเสียงนักร้องและเสียงดนตรีผลตอบเชิงความถี่อยู่ในช่วง 50 Hz ถึง 12 kHz การเลือกไมโครโฟนหรือเครื่องขยายและอุปกรณ์ปรุงแต่งเสียงอื่น ๆ ก็ควรจะเลือกให้อยู่ในช่วงนี้
นอกจากนี้แล้วยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้คุณภาพของเสียงไม่ดีพอ สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ก็คือ สายนำสัญญาณต่าง ๆ ถ้าใช้กับไมโครโฟนอิมพีแดนซ์สูงสายไมโครโฟนควรจะยาวไม่เกิน 20 ฟุต และถ้าจำเป็นต้องใช้สายไมโครโฟนยาวกว่านี้ก็ควรเปลี่ยนมาใช้ไมโครโฟนแบบอิมพีแดนซ์ต่ำ ลำโพงที่ใช้ควรมีผลตอบเชิงความถี่ทั้งในแนวตรง (on axis) จากลำโพง และในแนวที่เยื้องออกไปจากลำโพง นั่นคือมีผลตอบเชิงมุม (polar response) ที่ดี แบบของไมโครโฟนควรจะเลือกแบบที่มี่ผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ เช่น เมื่อใช้กับเสียงคน เสียงดนตรี งานกลางแจ้ง รายละเอียด สำหรับแบบของไมโครโฟนที่ใช้หาได้จากบริษัทผู้ผลิต ที่กล่าวมาเป็นการเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องเสียงเพื่อให้ได้ผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสม (เกี่ยวกับทางด้านวงจร) แต่ยังมีองค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้ผลตอบเชิงความถี่ของเสียงไม่ดีพอ ถึงแม้จะใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมแล้วก็ตาม สภาพธรรมชาติของเสียงในบริเวณนั้นหรือในห้งอไม่เหมาะสมทำให้เสียงความถี่สูงหรือต่ำมีระดับความดังที่ผิดปกติไป หรือค่อยกว่าปกติไป การแก้ไขโดยมากจะใช้วงบจรเสริมแต่งเสียงเพิ่มเติม ซึ่งได้แก่ อีควอไลเซอร์ และ ฟิลเตอร์
ความเพี้ยนเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้คุณภาพของเสียงที่ได้ไม่ดีพอ โดยปกติความเพี้ยนในระบบเสียงมักจะเกิดจากการขลิบยอดสัญญาณเอาต์พุต (output level) เนื่องจากความแรงของสัญญาณเข้ามากเกินไป เช่นไมโครโฟนที่ใช้หลักการของคาปาซิเตอร์ มักจะกำเนิดความเพี้ยนในลักษณะนี้เสมอ เมื่อมีเสียงที่ระดับความดังมาก ๆ เข้าไปความไวตัวของแผ่นไดอะแฟรมจะทำให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในตัวไมโครโฟนขลิบยอดสัญญาณที่ออกมา (overdrive) การแก้ไขมักจะต้องเปลี่ยนเป็นไปใช้ไมโครโฟนแบบไดนามิกที่คุณภาพดีเยี่ยม ปรีแอมป์สำหรับไมโครโฟนและมิกเซอร์ซึ่งไม่สามารถปรับอัตรขยายสำหรับสัญญาณเข้าก็ทำให้เกิดการขลิบได้ถ้าสัญญาณที่เข้ามาแรงเกินไป เราอาจจะใช้ชุดลดสัญญาณ (attenuation pad) ตั้งแต่ 5 dB ขึ้นไปเข้ามาต่อพ่วงช่วยลดความแรงของสัญญาณ สำหรับอุปกรณ์ที่สามารถปรับอัตรขยายได้เราก็พยายามปรับไว้ในระดับที่เหมาะสมที่สุด โดยมากแล้วจะใช้ VU มิเตอร์ช่วย
เครื่องขยาย (main amplifier) ของระบบก็มีส่วนทำให้เกิดอาการเพี้ยนเนื่องจากการขลิบยอดสัญญาณได้เช่นกัน และโดยมากมักจะเกิดขึ้นกับเครื่องขยายที่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับระบบเสียงโดยเฉพาะ ดังนั้นเมื่อเราเร่งกำลังขยายเพิ่มขึ้นจนสุดกำลังซึ่งในช่วงนี้ความเพี้ยนของเสียงจากเครื่องขยายพวกนี้จะมีค่าสูงสุดทำให้เสียงแตกพร่าฟังไม่รู้เรื่องเลยทีเดียว ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำเกินไปจะทำให้กินกำลังของเครื่องขยายมาก นั่นคืออัตราขยายของมันจะมีโอกาสเกินกว่าที่มันจะขับได้ในภาวะปกติ (rated power) ซึ่งจะทำให้เกิดการขลิบยอดสัญญาณได้ทั้งที่ตัวลำโพง เองและที่เครื่องขยายด้วย ลำโพงที่ออกแบบมาสำหรับระบบเสียงจะมีความไวพอที่จะขับสัญญาณแรง ๆ ได้โดยไม่เกิดความเพี้ยนที่เกิดจากตัวมันเอง ลำโพงโดยทั่วไปที่ใช้หลักการของสนามแม่เหล็กจะมีความเฉื่อยในการขับเสียงออกมาอยู่แล้ว ทำให้เกิดความเพี้ยนโดยเฉพาะในกรณีที่ระดับสัญญาณที่เข้ามามีความแรงมาก ๆ จะทำให้วอยซ์คอยล์ (voice coil) เคลื่อนตัวไปผิดไปจากแกนไปกระแทกหรือบีบตัวกับกรอบข้าง ๆ เกิดเสียงแตกพร่าได้เช่นกัน
ความชัดเจนของน้ำเสียง
ปัญหาข้อนี้แตกต่างจากข้อที่แล้วในแง่ที่ว่าเสียงที่ได้ยินนั้นควรจะมีน้ำเสียงสำเนียงเหมือนกับว่ได้ยินจากผู้พูดโดยตรง เสียงพยัญชนะบางตัวที่ค่อนข้างคลุมเครือควรจะแยกออกได้อย่างชัดเจน เช่น ตัว “พ” และ “บ” เป็นต้น ความชัดเจนของน้ำเสียง (intelligibility) จะขึ้นกับผลตอบเชิงความถี่ ความเพี้ยนของเครื่องขยาย เสียงรบกวนและจากเสียงข้างเคียง ตลอดจนความก้องกำธร (reverberation) ของห้อง เป็นต้น
ผลตอบเชิงความถี่ในช่วง 4 kHz ถึง 7 kHz ควรจะมีผลตอบที่มากกว่าช่วงความถี่อื่น ๆ ประมาณ 3-6 dB เพราะว่ามันจะทำให้น้ำเสียงมีความชัดเจนมากกว่าปกติ ในช่วงความถี่ต่ำตั้งแต่ 150 Hz ลงไปควรจะลดทอนลง เราสามารถปรับปรุงแก้ไขผลตอลเชิงความถี่ของระบบด้วยอีควอไลเซอร์ หรือจะเลือกไมโครโฟนที่เหมาะสมกับผลตอบเชิงความถี่ดังกล่าวได้
เสียงรบกวนจากพัดลม มอเตอร์ คนดู เสียงจากบริเวณข้างเคียง เช่น เสียงรถยนต์ เครื่องจักร (ถ้ามี) จะทำให้น้ำเสียงฟังดูคลุมเครือมาก เครื่องขยายที่ใช้ต้องมีระดับความดัง 20-25 dB มากกว่าเสียงรบกวน ดังนั้นในบริเวณที่เสียงรบกวนมีมากเครื่องขยายและลำโพงที่ใช้เป็นแบบที่ราคาค่อนข้างแพงมาก
ความก้องกำธรของห้องจะทำให้เสียงที่ได้ฟังดูสับสนไปหมด เพราะว่าเสียงเดิมที่ได้ยินไปแล้วจะดังตามมาอีก มันจะแทรกเข้ามาพร้อมเสียงใหม่ที่เพิ่งพูดไป ทำให้เกิดความสับสนเหมือนคนมีคนแย่งกันพูด ยิ่งในกรณีที่ผู้พูดพูดเร็วมากจะยิ่งฟังดูสับสนมากขึ้นไปอีก การจัดวางตำแหน่งของลำโพงที่มีมุมครอบคลุม (coverage angle) แคบจะช่วยได้มาก โดยวางให้ปากลำโพงหันเข้าหาคนดูมากที่สุด และพยายามหลีกเลี่ยงการหันเข้าหากำแพงหรือเพดาน ซึ่งมักจะเป็นพื้นราบกว้าง ๆ การแก้ไขอีกวิธีที่ได้ผลแต่ราคาและค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงคือการบุกำแพงเพดานด้วยวัสดุดูดกลืนเสียง
การป้อนกลับทางเสียง
เรารู้จักการป้อนกลับทางเสียง (acoustic feedback) ดีในอาการที่เรียกว่า “เกิดเสียงหอน” นับได้ว่าเป็นปัญหาที่พบมากที่สุด เสียงหอนที่ว่านี้มีทั้งเสียงหวีดหวิวในช่วงความถี่สูง หรือเสียงหึ่ง ๆ ในช่วงความถี่ต่ำ โดยมันจะดังอยู่อย่างนั้นตลอดเวลาและจะมีระดับความดังขึ้นเรื่อย ๆ บางครั้งเพิ่มจนถึงอัตราขยายสูงสุดของเครื่องขยาย นอกจากเราจะปิดเสียงเสียก่อนเท่านั้น เสียงหอนนี้เกิดจากการป้อนกลับทางเสียงระหว่างลำโพงและไมโครโฟน ระดับความดังของเสียงหอนจะขึ้นกับอัตราขยายของลูป (loop – วงจรส่วนนั้น) ที่เกิดการป้อนกลับ ความถี่ที่เกิดเสียงหอนก็ขึ้นกับความถี่เรโซแนนซ์ของเมนลูป (main loop) ขบวนการป้อนกลับนี้จะใช้เวลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โอกาสที่จะเกิดเสียงหอนนั้นขึ้นกับอัตราขยายของระบบเสียง ถ้ามากเกินไปจะทำให้เข้าใกล้ระดับวิกฤติ (critical level) ซึ่งเป็นอัตราขยายที่มากที่สุดที่จะเป็นไปได้ของระบบเสียงที่จะทำให้เกิดเสียงหอนพอดี ระดับวิกฤติขึ้นกับองค์ประกอบหลายตัวแต่สาเหตุที่ทำให้มันมีระดับที่ต่ำมากเกินไปขึ้นกับคุณสมบัติทางเสียงของห้องแย่มาก และการติดตั้งที่ผิด จากรูปที่ 3 เราจะเห็นว่ากราฟ (ก) เป็นผลตอบเชิงความถี่ของระบบที่ราบเรียบและต่ำกว่าระกับวิกฤติมาก ส่วนในกราฟ (ข) เป็นผลตอบเชิงความถี่ของระบบที่มีบางช่วงความถี่ได้รับอัตราขยายมากกว่าวิกฤติ ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดเสียงหอนในช่วงความถี่ที่ว่านี้จึงง่ายมาก อาการเสียงที่ส่อให้เห็นว่าระบบกำลังเข้าใกล้ระดับวิกฤติคือจะมีเสียงหึ่ง ๆ ดังตามเสียงสัญญาณที่พูดเข้าทางไมโครโฟน ถ้าขณะนั้น ๆ มีเสียงรบกวนหรือสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยจะทำให้เกิดเสียงหอนได้ทันที ถ้าระดับวิกฤติมาก ๆ จะทำให้เราต้องลดอัตราขยายของวงจรต่ำลงไป (เพราะว่ากลัวจะเกิดเสียงหอน) ซึ่งอาจจะต่ำเกินไปจนไม่พอเพียงแก่ความต้องการของคนฟัง ทำให้คนฟังต้องคอยเงี่ยหูฟังแทนที่จะนั่งฟังอย่างสบาย ๆ
จุดหมายหรือเป้าหมายของระบบเสียงสำหรับการแสดง (รวมระบบพีเอด้วย) นั้นถ้าจะพูดก็พูดได้ง่ายมาก แต่จะทำให้ได้นั้นจะยากเป็นหลายเท่าทวีคูณ เป้าหมายใหญ่ ๆ ก็คือการกระจายเสียงร้องเสียงดนตรีไปยังคนดูด้วยระดับความดัง ความสมจริงที่เหมาะสม ไม่ดังหรือค่อยเกินไปในทุก ๆ บริเวณและทุกเวลาที่เราต้องการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวเราต้องเผชิญกับปัญหาด้านต่างๆ มากมาย ดังจะได้กล่าวในตอนต่อไป ก่อนอื่นเรามาพิจารณาถึงส่วนประกอบสำคัญของระบบเสียงที่ว่านี้ ส่วนประกอบที่สำคัญแยกออกเป็น 3 ส่วนคือ ทางด้านผู้แสดง (performers) อุปกรณ์เครื่องเสียง (equipment) สภาพธรรมชาติของเสียงในบริเวณนั้น (environment and acoustics) ตอนนี้บางท่านก็คงจะเข้าใจถึงระบบเสียงที่แท้จริงแล้วว่ามันไม่ใข่มีเฉพาะอุปกรณ์เครื่องเสียงเท่านั้นที่เป็นหัวใจของระบบเสียง แต่ยังมีสิ่งที่ควบคู่มาอีก 2 อย่าง ดังนั้นการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ดีเยี่ยมอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้ระบบเสียงดีเท่าที่ต้องการได้ ปัญหาต่าง ๆ ที่มักจะพบบ่อยที่สุดในระบบเสียง พร้อมด้วยการแก้ไขปัญหาเหล่านี้
คุณภาพของเสียง
ปัญหาข้อนี้ขึ้นกับคุณภาพของอุปกณ์เครื่องเสียงที่ใช้ว่าจะให้ความขัดเจนมากน้อยเพียงใด ความเพี้ยนของอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ในระดับที่พอเพียงหรือเปล่า ถ้าจะพูดกันง่าย ๆ คุณภาพของเสียงขึ้นกับความเป็น Hi-Fi ของอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้ นอกจากนี้ผลตอบเชิงความถี่ยังเป็นตัวกำหนดความชัดเจนด้วย ดังนั้นการเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีความเพี้ยนต่ำและผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณภาพของเสียงดีขึ้นได้
โดยปกติแล้วผลตอบเชิงความถี่ของอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้ไม่จำเป็นต้องเรียบครอบคลุมช่วงความถี่ที่ประสาทหูของคนรับรู้ได้ เพราะเสียงคนไม่เหมือนเสียงดนตรี สำหรับเสียงพูดผลตอบเชิงความถี่ควรจะราบเรียบในช่วง 150 Hz ถึง 7 kHz ก็พอ ดังนั้น เวลาเราเลือกใช้ไมโครโฟนเพื่อรับเสียงคนอย่างเดียวก็พยายามเลือกชนิดที่ให้ผลตอบเชิงความถี่ในช่วงดังกล่าวก็พอแล้ว สำหรับระบบเสียงที่ต้องการทั้งเสียงนักร้องและเสียงดนตรีผลตอบเชิงความถี่อยู่ในช่วง 50 Hz ถึง 12 kHz การเลือกไมโครโฟนหรือเครื่องขยายและอุปกรณ์ปรุงแต่งเสียงอื่น ๆ ก็ควรจะเลือกให้อยู่ในช่วงนี้
นอกจากนี้แล้วยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้คุณภาพของเสียงไม่ดีพอ สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ก็คือ สายนำสัญญาณต่าง ๆ ถ้าใช้กับไมโครโฟนอิมพีแดนซ์สูงสายไมโครโฟนควรจะยาวไม่เกิน 20 ฟุต และถ้าจำเป็นต้องใช้สายไมโครโฟนยาวกว่านี้ก็ควรเปลี่ยนมาใช้ไมโครโฟนแบบอิมพีแดนซ์ต่ำ ลำโพงที่ใช้ควรมีผลตอบเชิงความถี่ทั้งในแนวตรง (on axis) จากลำโพง และในแนวที่เยื้องออกไปจากลำโพง นั่นคือมีผลตอบเชิงมุม (polar response) ที่ดี แบบของไมโครโฟนควรจะเลือกแบบที่มี่ผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ เช่น เมื่อใช้กับเสียงคน เสียงดนตรี งานกลางแจ้ง รายละเอียด สำหรับแบบของไมโครโฟนที่ใช้หาได้จากบริษัทผู้ผลิต ที่กล่าวมาเป็นการเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องเสียงเพื่อให้ได้ผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสม (เกี่ยวกับทางด้านวงจร) แต่ยังมีองค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้ผลตอบเชิงความถี่ของเสียงไม่ดีพอ ถึงแม้จะใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมแล้วก็ตาม สภาพธรรมชาติของเสียงในบริเวณนั้นหรือในห้งอไม่เหมาะสมทำให้เสียงความถี่สูงหรือต่ำมีระดับความดังที่ผิดปกติไป หรือค่อยกว่าปกติไป การแก้ไขโดยมากจะใช้วงบจรเสริมแต่งเสียงเพิ่มเติม ซึ่งได้แก่ อีควอไลเซอร์ และ ฟิลเตอร์
ความเพี้ยนเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้คุณภาพของเสียงที่ได้ไม่ดีพอ โดยปกติความเพี้ยนในระบบเสียงมักจะเกิดจากการขลิบยอดสัญญาณเอาต์พุต (output level) เนื่องจากความแรงของสัญญาณเข้ามากเกินไป เช่นไมโครโฟนที่ใช้หลักการของคาปาซิเตอร์ มักจะกำเนิดความเพี้ยนในลักษณะนี้เสมอ เมื่อมีเสียงที่ระดับความดังมาก ๆ เข้าไปความไวตัวของแผ่นไดอะแฟรมจะทำให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในตัวไมโครโฟนขลิบยอดสัญญาณที่ออกมา (overdrive) การแก้ไขมักจะต้องเปลี่ยนเป็นไปใช้ไมโครโฟนแบบไดนามิกที่คุณภาพดีเยี่ยม ปรีแอมป์สำหรับไมโครโฟนและมิกเซอร์ซึ่งไม่สามารถปรับอัตรขยายสำหรับสัญญาณเข้าก็ทำให้เกิดการขลิบได้ถ้าสัญญาณที่เข้ามาแรงเกินไป เราอาจจะใช้ชุดลดสัญญาณ (attenuation pad) ตั้งแต่ 5 dB ขึ้นไปเข้ามาต่อพ่วงช่วยลดความแรงของสัญญาณ สำหรับอุปกรณ์ที่สามารถปรับอัตรขยายได้เราก็พยายามปรับไว้ในระดับที่เหมาะสมที่สุด โดยมากแล้วจะใช้ VU มิเตอร์ช่วย
เครื่องขยาย (main amplifier) ของระบบก็มีส่วนทำให้เกิดอาการเพี้ยนเนื่องจากการขลิบยอดสัญญาณได้เช่นกัน และโดยมากมักจะเกิดขึ้นกับเครื่องขยายที่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับระบบเสียงโดยเฉพาะ ดังนั้นเมื่อเราเร่งกำลังขยายเพิ่มขึ้นจนสุดกำลังซึ่งในช่วงนี้ความเพี้ยนของเสียงจากเครื่องขยายพวกนี้จะมีค่าสูงสุดทำให้เสียงแตกพร่าฟังไม่รู้เรื่องเลยทีเดียว ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำเกินไปจะทำให้กินกำลังของเครื่องขยายมาก นั่นคืออัตราขยายของมันจะมีโอกาสเกินกว่าที่มันจะขับได้ในภาวะปกติ (rated power) ซึ่งจะทำให้เกิดการขลิบยอดสัญญาณได้ทั้งที่ตัวลำโพง เองและที่เครื่องขยายด้วย ลำโพงที่ออกแบบมาสำหรับระบบเสียงจะมีความไวพอที่จะขับสัญญาณแรง ๆ ได้โดยไม่เกิดความเพี้ยนที่เกิดจากตัวมันเอง ลำโพงโดยทั่วไปที่ใช้หลักการของสนามแม่เหล็กจะมีความเฉื่อยในการขับเสียงออกมาอยู่แล้ว ทำให้เกิดความเพี้ยนโดยเฉพาะในกรณีที่ระดับสัญญาณที่เข้ามามีความแรงมาก ๆ จะทำให้วอยซ์คอยล์ (voice coil) เคลื่อนตัวไปผิดไปจากแกนไปกระแทกหรือบีบตัวกับกรอบข้าง ๆ เกิดเสียงแตกพร่าได้เช่นกัน
ความชัดเจนของน้ำเสียง
ปัญหาข้อนี้แตกต่างจากข้อที่แล้วในแง่ที่ว่าเสียงที่ได้ยินนั้นควรจะมีน้ำเสียงสำเนียงเหมือนกับว่ได้ยินจากผู้พูดโดยตรง เสียงพยัญชนะบางตัวที่ค่อนข้างคลุมเครือควรจะแยกออกได้อย่างชัดเจน เช่น ตัว “พ” และ “บ” เป็นต้น ความชัดเจนของน้ำเสียง (intelligibility) จะขึ้นกับผลตอบเชิงความถี่ ความเพี้ยนของเครื่องขยาย เสียงรบกวนและจากเสียงข้างเคียง ตลอดจนความก้องกำธร (reverberation) ของห้อง เป็นต้น
ผลตอบเชิงความถี่ในช่วง 4 kHz ถึง 7 kHz ควรจะมีผลตอบที่มากกว่าช่วงความถี่อื่น ๆ ประมาณ 3-6 dB เพราะว่ามันจะทำให้น้ำเสียงมีความชัดเจนมากกว่าปกติ ในช่วงความถี่ต่ำตั้งแต่ 150 Hz ลงไปควรจะลดทอนลง เราสามารถปรับปรุงแก้ไขผลตอลเชิงความถี่ของระบบด้วยอีควอไลเซอร์ หรือจะเลือกไมโครโฟนที่เหมาะสมกับผลตอบเชิงความถี่ดังกล่าวได้
เสียงรบกวนจากพัดลม มอเตอร์ คนดู เสียงจากบริเวณข้างเคียง เช่น เสียงรถยนต์ เครื่องจักร (ถ้ามี) จะทำให้น้ำเสียงฟังดูคลุมเครือมาก เครื่องขยายที่ใช้ต้องมีระดับความดัง 20-25 dB มากกว่าเสียงรบกวน ดังนั้นในบริเวณที่เสียงรบกวนมีมากเครื่องขยายและลำโพงที่ใช้เป็นแบบที่ราคาค่อนข้างแพงมาก
ความก้องกำธรของห้องจะทำให้เสียงที่ได้ฟังดูสับสนไปหมด เพราะว่าเสียงเดิมที่ได้ยินไปแล้วจะดังตามมาอีก มันจะแทรกเข้ามาพร้อมเสียงใหม่ที่เพิ่งพูดไป ทำให้เกิดความสับสนเหมือนคนมีคนแย่งกันพูด ยิ่งในกรณีที่ผู้พูดพูดเร็วมากจะยิ่งฟังดูสับสนมากขึ้นไปอีก การจัดวางตำแหน่งของลำโพงที่มีมุมครอบคลุม (coverage angle) แคบจะช่วยได้มาก โดยวางให้ปากลำโพงหันเข้าหาคนดูมากที่สุด และพยายามหลีกเลี่ยงการหันเข้าหากำแพงหรือเพดาน ซึ่งมักจะเป็นพื้นราบกว้าง ๆ การแก้ไขอีกวิธีที่ได้ผลแต่ราคาและค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงคือการบุกำแพงเพดานด้วยวัสดุดูดกลืนเสียง
การป้อนกลับทางเสียง
เรารู้จักการป้อนกลับทางเสียง (acoustic feedback) ดีในอาการที่เรียกว่า “เกิดเสียงหอน” นับได้ว่าเป็นปัญหาที่พบมากที่สุด เสียงหอนที่ว่านี้มีทั้งเสียงหวีดหวิวในช่วงความถี่สูง หรือเสียงหึ่ง ๆ ในช่วงความถี่ต่ำ โดยมันจะดังอยู่อย่างนั้นตลอดเวลาและจะมีระดับความดังขึ้นเรื่อย ๆ บางครั้งเพิ่มจนถึงอัตราขยายสูงสุดของเครื่องขยาย นอกจากเราจะปิดเสียงเสียก่อนเท่านั้น เสียงหอนนี้เกิดจากการป้อนกลับทางเสียงระหว่างลำโพงและไมโครโฟน ระดับความดังของเสียงหอนจะขึ้นกับอัตราขยายของลูป (loop – วงจรส่วนนั้น) ที่เกิดการป้อนกลับ ความถี่ที่เกิดเสียงหอนก็ขึ้นกับความถี่เรโซแนนซ์ของเมนลูป (main loop) ขบวนการป้อนกลับนี้จะใช้เวลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โอกาสที่จะเกิดเสียงหอนนั้นขึ้นกับอัตราขยายของระบบเสียง ถ้ามากเกินไปจะทำให้เข้าใกล้ระดับวิกฤติ (critical level) ซึ่งเป็นอัตราขยายที่มากที่สุดที่จะเป็นไปได้ของระบบเสียงที่จะทำให้เกิดเสียงหอนพอดี ระดับวิกฤติขึ้นกับองค์ประกอบหลายตัวแต่สาเหตุที่ทำให้มันมีระดับที่ต่ำมากเกินไปขึ้นกับคุณสมบัติทางเสียงของห้องแย่มาก และการติดตั้งที่ผิด จากรูปที่ 3 เราจะเห็นว่ากราฟ (ก) เป็นผลตอบเชิงความถี่ของระบบที่ราบเรียบและต่ำกว่าระกับวิกฤติมาก ส่วนในกราฟ (ข) เป็นผลตอบเชิงความถี่ของระบบที่มีบางช่วงความถี่ได้รับอัตราขยายมากกว่าวิกฤติ ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดเสียงหอนในช่วงความถี่ที่ว่านี้จึงง่ายมาก อาการเสียงที่ส่อให้เห็นว่าระบบกำลังเข้าใกล้ระดับวิกฤติคือจะมีเสียงหึ่ง ๆ ดังตามเสียงสัญญาณที่พูดเข้าทางไมโครโฟน ถ้าขณะนั้น ๆ มีเสียงรบกวนหรือสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยจะทำให้เกิดเสียงหอนได้ทันที ถ้าระดับวิกฤติมาก ๆ จะทำให้เราต้องลดอัตราขยายของวงจรต่ำลงไป (เพราะว่ากลัวจะเกิดเสียงหอน) ซึ่งอาจจะต่ำเกินไปจนไม่พอเพียงแก่ความต้องการของคนฟัง ทำให้คนฟังต้องคอยเงี่ยหูฟังแทนที่จะนั่งฟังอย่างสบาย ๆ
รูปที่
3
กราฟแสดงผลตอบสนองเชิงความถี่
|
การแก้ไขและป้องกันการเกิดเสียงหอนเราสามารถทำได้ 2 วิธีคือ ลดโอกาสที่จะเกิดเสียงหอน และ เพิ่มระดับวิกฤติ ในระบบเสียงสำหรับการแสดงนั้นเราสามารถแก้ไขและป้องกันการเกิดเสียงหอนด้วยการลดโอกาสที่จะเกิดเสียงหอนเท่านั้นส่วนการเพิ่มระดับวิกฤติทำได้ยากมากเนื่องจากทั้งไมโครโฟนและลำโพงอยู่ในสภาพธรรมชาติของเสียงแบบเดียวกัน การลดโอกาสที่จะเกิดเสียงหอนนั้นเรามักจะแก้ไขในสามจุดด้วยกันคือ การเล็งลำโพง เลือกไมโครโฟนที่ใช้ และเพิ่มเติมอุปกรณ์เพื่อช่วยลดการเกิดเสียงหอน
รูปที่ 4 ลักษณะการแพร่กระจายเสียงของลำโพง
|
รูปที่ 5 ลักษณะการแพร่กระจายเสียงสำหรับชุดลำโพง |
การเล็งลำโพง หลักพื้นฐานที่สุดที่ต้องจำไว้เสมอคือไม่ควรหันลำโพงและไมโครโฟนเข้าหากัน (ปากลำโพงและด้านรับเสียงของไมโครโฟน) ถึงแม้จะหันลำโพงและไมโครโฟนไปคนละทางแล้วก็ตาม เรายังต้องคำนึงถึงมุมครอบคลุม (coverage ange) ของลำโพงด้วย ดังแสดงไว้ในรูปที่ 4 สำหรับลำโพงตัวเดียวและในรูปที่ 5 สำหรับลำโพงเป็นชุดเข้าตู้เดียวกันที่เราเรียกว่า ซาวด์คอลัมน์ (sound column) จากทั้ง 2 รูปเราจะเห็นว่าอาณาบริเวณที่เสียงแพร่กระจายแตกต่างกันมาก โดยการกระจายเสียงของลำโพงตัวเดียวจะแพร่ออกเป็นรูปกรวยเสียงจะแพร่ไปทั้งทางบนและทางล่างของลำโพงด้วย ส่วนการกระจายเสียงของชุดลำโพงจะแพร่ไปเฉพาะด้านหน้าและด้านข้าง ส่วนด้านบนและล่างจะไม่มี ดังนั้นการเล็งลำโพงจะต้องคำนึงถึงลักษณะการแพร่กระจายนี้ด้วย โดยระวังไม่ให้มีไมโครโฟนเข้าไปอยู่ในบริเวณดังกล่าวนี้ได้ การเล็งลำโพงและการวางลำโพงสำหรับลำโพงตัวเดียววต่อ 1 ตู้ ก็อาจจะวางแบบในรูปที่ 6 แต่ด้านหลังของตู้ต้องปิดทึบเสมอ เราต้องพยายามเล็งลำโพงเข้าหาบริเวณคนดูให้มากที่สุด การทำเช่นนี้จะได้ประโยชน์ถึง 2 อย่างพร้อมกันคือ ทำให้ระดับความดังบริเวณคนดูได้ตามต้องการและลดการสะท้อนโดยตรงซึ่งจะสะท้อนกลับไปยังเวทีอีกทีและสะท้อนกลับเข้าไมโครโฟนอีกทีทำให้เกิดเสียงหอนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราเล็งลำโพงไปยังบริเวณกำแพงหรือฝาด้านหลังของห้องจะทำให้เสียงสะท้อนโดยตรงเข้าไปยังไมโครโฟนบนเวทีได้
รูปที่ 6 การเล็งและการวางลำโพงสำหรับแบบตัวเดียวต่อ 1 ตู้ |
รูปที่ 7 การเล็งและการวางลำโพงซาวด์คอลัมน์
|
บางครั้งสำหรับกรณีที่ห้องแสดงหรือบริเวณงานกว้างมาก ๆ การเล็งลำโพงซาวด์คอลัมน์เพียงตัวเดียวอาจจะไม่ครอบคลุมพื้นที่งานทั้งหมด และบางครั้งอาจจะต้องเล็งสูงเกินไป ทำให้เสียงเกิดการสะท้อนโดยตรงกลับเข้าเวทีจากกำแพงด้านหลังของห้องก็ได้ เราจะใช้การวางแบบในรูปที่ 6 แทน วิธีนี้จะช่วยให้การสะท้อนกลับมายังเวทีเป็นไปได้ยากขึ้น และเป็นการช่วยเพิ่มระดับเสียงบริเวณคนดูที่ใกล้ ๆ หน้าเวที ซึ่งการใช้ลำโพงเพียงชุดเดียวอย่างในรูปที่ 7 อาจจะครอบคลุมไปไม่ถึงก็ได้ การวางลำโพงแบบในรูปที่ 6 จะช่วยให้เส้นทางการสะท้อนกลับมาบนเวทีมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เสียงสะท้อนมีระดับความดังที่ลดน้อยลงไปมากทีเดียว ในปัจจุบันบริเวณที่นั่งคนดูในโรงภาพยนตร์หรือโรงมหรสพมักจะทำเป็นทางลาดเอียงซึ่งจะช่วยให้การเล็งลำโพงเป็นไปได้ง่ายขึ้น (ไม่ต้องติดตั้งสูงจนเกินไป) ลำโพงซาวด์คอลัมน์บางแบบถูกออกแบบไว้ให้วางบนพื้นเวที ทำให้ระดับวิกฤติน้อยลงกว่าที่คามไว้มาก ดังนั้นถ้าพบลำโพงซาวด์คอลัมน์ประเภทนี้และเมื่อเกิดเสียงหอนให้ลองหยิบไมโครโฟนออกจากขาตั้ง (stand) สังเกตว่าอาการหอนหายไปหรือเปล่า ถ้าหายไปแสดงว่าเกิดจากการป้อนกลับทางพื้นเวทีและโครงสร้างของตัวไมโครโฟนเองด้วย เราอาจจะหาวัสดุดูดกลืนเสียง วัสดุกันสะเทือน มารองรับตู้ลำโพงไว้ และรองรับขาตัวไมโครโฟนด้วยจะช่วยได้มาก
การเลือกใช้ไมโครโฟน ที่เหมาะสมเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาจากเสียงหอนได้เป็นอย่างดี โดยเราจะเลือกใช้ไมโครโฟนที่มีลักษณะทิศทางการรับเสียงที่เหมาะสมกับงาน ลัษณะทิศทางการรับเสียงนิยมเรียกว่า แพทเทอน (pattern) มีหลายแบบด้วยกัน แต่ที่นิยมใช้กันและมีจำหน่ายมากที่สุดมีด้วยกัน 3 แบบ คือ แบบรอบทิศทาง (omnidirectional) แบบ 2 ทิศทาง หรือ รูปเลขแปด (bidirectional or figure of eight) และ แบบทิศทางเดียว (unidirectional) แพทเทอนแบบสุดท้ายนี้เป็นแบบที่ใช้แก้ปัญหาเสียงหอนได้ดีที่สุด เพราะว่ามันจะรับเสียงจากด้านหน้า (ด้านหน้าคือส่วนที่เราพูดกรอกเข้าไปนั่นเอง) แบบนี้บางทีก็เรียกว่า รูปหัวใจ (cardioid) เสียงที่มาจากด้านอื่น ๆ จะรับเข้าไปน้อยกว่าด้านหน้าดังนั้นจะช่วยตัดเสียงที่วกกลับมาได้เป็นอย่างดี แน่ถ้าเสียงที่วกกลับสะท้อนกับฉากของเวทีจะทำให้สะท้อนเข้าไปยังไมโครโฟนทางด้านหน้าอีก และจะก่อปัญหาด้านเสียงหอนอีกก็เป็นได้ เพื่อเป็นการตัดปัญหาด้านเสียงหอนให้ดียิ่งขึ้นเราควรจะบุพื้นเวทีและฉากหลังเวทีที่จะสะท้อนเสียงได้ด้วยวัสดุดูดกลืนเสียง นอกจากนี้คุณสมบัติของไมโครโฟนด้านผลตอบเชิงความถี่ควรเลือกแบบที่มีความราบเรียบตลอดช่วงความถี่ที่เราต้องการ ไม่ควรให้มีช่วงหนึ่งมีผลตอบที่มีลักษณะเป็นยอด เพราะว่าจะทำให้เกิดการหอนเนื่องจากเกนขยายของระบบเกินกว่าระดับวิกฤติ
การเพิ่มเติมอุปกรณ์ช่วยลดเสียงหอน เพื่อความมั่นใจว่าระบบเสียงของเราจะไม่เกิดปัญหาด้านเสียงหอนถึงแม้ว่าจะมีการเล็งลำโพงและการเลือกไมโครโฟนที่เหมาะสมแล้วก็ตาม เราจะเพิ่มอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ช่วยแก้ไขปัญหาด้านนี้ อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่อีควอไลเซอร์และฟิลเตอร์ (narrow bandwidth filter) อุปกรณ์ทั้งสองนี้จะช่วยกันปรับแต่ง โดยจะลดความแรงของสัญญาณซึ่งมีความถี่ที่ทำให้เกิดเสียงหอน อีควอไลเซอร์และฟิลเตอร์ที่ใช้อาจจะใช้แบบ 1 ออกเตฟแบนด์ ซึ่งมีความถี่กลางที่ปรับได้ 8 ความถี่ด้วยกันหรือ จะเป็นแบบ 1/3 ออกเตฟแบนด์ ซึ่งจะมีความถี่กลางที่ปรับได้ 27 ความถี่ด้วยกัน การปรับแต่งอุปกรณ์เหล่านี้จะต้องทำการปรับแต่งในบริเวณงานไว้ก่อนนการแสดงโดยจะใช้เครื่องวัดความถี่แบบแสดงผลเป็นตัวเลข (digital frequency meter) มาหาความถี่ที่เกิดการหอน ในขั้นแรกจะค่อย ๆ เพิ่มอัตราขยายของระบบจนกระทั่งเกิดการหอน จากนั้นจะทำการปรับอีควอไลเซอร์และฟิลเตอร์เพื่อลดขนาดสัญญาณในช่วงความถี่ที่เราอ่านได้จากเครื่องวัดความถี่ให้การหอนนั้นหายไป จากนั้นเราก็เร่งอัตราขยายจนเกิดการป้อนกลับที่ความถี่ใหม่อีกแล้วปรับแต่งที่ความถี่นี้อีกจนหายไป ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนถึงอัตราขยายของระบบเสียงที่เราต้องการ ตอนนี้เราก็ได้ค่าอัตราขยายเฉพาะความถี่ที่เหมาะสมที่จะไม่ทำให้เกิดการหอน การปรับแต่งความถี่ข้างเคียงซึ่งจะให้ผลทางเสียงที่แตกต่างออกไปนั้นขึ้นอยู่กับความชำนาญของแต่ละบุคคลที่จะปรับแต่งได้เป็นอย่างดีเพียงใด เมื่อถึงเวลาแสดงจริงเราก็ปรับอัตราขยายพร้อมทั้งอีควอไลเซอร์ที่ดีขึ้น เราก็อาจจะลองเสี่ยงปรับแต่งอย่างอิสระก่อน เพราะในเวลางานจริงจำนวนคนดูจะทำให้โอกาสเกิดการป้อนกลับน้อยลง เนื่องจากคุณสมบัติการดูดกลืนเสียงมีมากขึ้นนั่นเอง แต่ก็อย่าได้มั่นใจว่าจะไม่เกิดเสียงหอนขึ้นได้ ดังนั้นในคอนโซลสมัยใหม่จะมีสวิตช์ให้เลือกปรับวงจรอีควอไลเซอร์และฟิลเตอร์ทั้งสองแบบ โดยจะมีปุ่มตั้งอัตโนมัติซึ่งเราปรับแต่งไว้ตั่งแต่ตอนทดลองแล้ว หรือจะใช้ปรับขณะแสดงจริง ๆ เลยก็ได้ เมื่อเกิดปัญหาด้านเสียงหอนขึ้นมาเฉพาะหน้า เราจะสับสวิตช์ไปทางอัตโนมัติในทันที นอกจากนี้ยังมีวงจรกลับเฟส (phase reversal) ซึ่งจะช่วยแก้ไขเสียงหอนในช่วงความถี่ต่ำ (หลักการกลับเฟสธรรมดาเท่านั้น)
ความก้องกำธร
เสียงก้องกำธร (reverberation) คือเสียงแรกที่สะท้อนไปมาจนเราได้ยินอีกหลังจากได้ยินไปแล้ว โดยจะดังตามมาเป็นห้วง ๆ และค่อยๆ เงียบลงไป เสียงก้องนี้ในระบบเสียงที่เกี่ยวกับเสียงพูดจะไม่ต้องการ แต่ถ้าเป็นระบบเสียงที่เกี่ยวกับเสียงดนตรีแล้ว เสียงก้องจะเป็นตัวการที่ทำให้เสียงดนตรีที่ได้มีความหนักแน่นและกระหึ่มดังกว่าปกติมาก โดยทั่วไปการขจัดปัญหาด้านเสียงหอนโดยการหันลำโพงให้มีการสะท้อนมากขึ้นจะก่อปัญหาด้านเสียงก้องได้เช่นกัน เพราะว่าเส้นทางการสะท้อนที่ยาวขึ้นจะทำให้เกิดข่วงหน่วงยาวนานขึ้น ทำให้เวลาของการก้องกำธรยาวนานขึ้นอีกเมื่อเสียงก้องมีระดับความดังมากเกินไปนอกจากจะทำให้ความชัดเจนในน้ำเสียงเสียไปแล้วยังจะก่อปัญหาด้านเสียงหอนอีกทีหนึ่ง สำหรับโรงละครและโรงหนังที่มีเฉลียงจะทำให้บริเวณใต้เฉลียงมีเสียงก้องมากกว่าเดิม เพราะว่าความถี่สูงบริเวณนั้นจะถูกดูดกลืนได้เร็วกว่าและมากกว่าเสียงความถี่ต่ำ ทำให้เสียงความถี่ต่ำยังคงก้องกังวาน กรณีนี้เราแก้ไขโดยการลดเสียงทุ้มของวงจรขยาย จากนี้เราพอที่จะสรุปสาเหตุของการเกิดเสียงหอนและการแก้ไขได้แล้ว
ดังที่เคยได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่า เสียงหอนนั้นมีช่วงความถี่สูงและความถี่ต่ำ ถ้าเสียงหอนที่ได้เป็นเสียงหวีดหวิวในช่วงความถี่สูงเราแก้ไขโดยการลดเสียงแหลมของเครื่องขยาย (หรือปรีแอมป์มิกเซอร์) เสียงหอนในลักษณะนี้เกิดจากการใช้ไมโครโฟนที่มีผลตอบเชิงความถี่สูงมากเกินไป (ช่วงประมาณ 2 kHz ถึง 5 kHz) และจากการวางลำโพงให้เสียงสะท้อนกำแพงด้านหลังหรือส่วนโค้งของเพดาน (ถ้ามี) มากเกินไป ถ้าเสียงหอนที่ได้อยู่ในช่วงความถี่ต่ำแสดงว่าเกิดจากเสียงก้องในห้องมีมากเกินไป (เสียงความถี่สูงจะถูกดูดกลืนได้มากกว่าความถี่ต่ำ) การแก้ไขก็ใช้การลดเสียงทุ้มลงจนเสียงหอนหายไป (บางทีอาจจะเกิดจากการป้อนกลับจากพื้นเวทีที่สั่นเครือตามตู้ลำโพงก็เป็นได้ดังกล่าวแล้ว) เมื่อเราทราบสาเหตุและการแก้ไขเฉพาะหน้าแล้วเมื่อมีโอกาสที่จะแก้ไขอย่างถาวรเราก็ควรจะทำทันทีนั่นคือ การเปลี่ยนไมโครโฟนและการเล็งลำโพง ตลอดจนการบุผนังด้วยวัสดุกลืนเสียง
อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเสียงก้องได้คือการใช้ลำโพงหลายชุด โดยวางห่างกันแต่ละชุดเป็นระยะ 50 ฟุต ขึ้นไป เพราะว่าเสียงที่มาจากลำโพงตัวอื่นใช้เวลาระยะหนึ่งถึงจะมาถึงเรา แต่ลำโพงตัวที่ใกล้เราจะได้ยินก่อน ดังนั้นยิ่งมีหลายตัวจะทำให้ได้ยินเสียงตามมาเป็นห้วง ๆ นานกว่า การแก้ไขควรจะใช้ลำโพงซาวด์คอลัมน์วางแบบในรูปที่ 6 หรือแบบในรูปที่ 7
ความครอบคลุม
เป็นความสามารถของระบบเสียงของเราที่จะแพร่ขยายเสียงได้ทั่วทั้งบริเวณงาน คุณสมบัติข้อนี้จะขึ้นกับความไวของลำโพง (speaker sensitivity) จำนวนลำโพงน้อยเกินไป การเล็งลำโพงไม่ถูกต้อง กำลังของเครื่องขยายน้อยเกินไป จำนวนเครื่องขยายไม่พอเพียงกับความต้องการ
ความไวของลำโพง ส่วนมากจะกำหนดมาเป็น SPL (sound pressure level) คือ ระดับความดังของเสียง และมักจะบอกเป็นค่า dB โดยมีข้อกำหนดดังนี้ dB-SPL จะแทนระดับความดังของเสียงจากแนวแกนกลางของลำโพง (on axis) ที่ห่างออกไประยะหนึ่ง โดยมีกำลังทางไฟฟ้า (คิดเป็นวัตต์) เข้ายังลำโพงค่าหนึ่งโดยทั่ว ๆ ไป จะมี 2 มาตรฐานด้วยกัน มาตรฐานแรกคือ EIA (Electric Industrial Association) จะกำหนดระดับ dB-SPL ของลำโพงที่ระยะ 1 เมตร และกำหนดกำลังงานเข้าไป12ในลำโพงเท่ากับ 1 วัตต์ ประโยชน์ของการกำหนดมาตรฐานนี้จะทำให้เราสามารถหาระดับความดังที่ระยะห่างออกไปมาก ๆ ได้ และเมื่อกำลังงานที่เข้าไปยังลำโพงมากกว่าที่กำหนด โดยมีหลักคิดง่าย ๆ ดังนี้ ระดับความดังจะลดลงทีละ 6 dB-SPL ของความดังระดับเดิมเมื่อเรายืนห่างจากลำโพงทีละ 2 เท่าของระยะเดิม และจะมีระดับความดังเพิ่มทีละ 10 dB-SPL เมื่อกำลังงานที่เขี่ลำโพงเพิ่มเป็นทีละ 10 เท่า ตัวอย่างเช่น ความไวของลำโพง (ตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดมา) มีค่า 102 dB-SPL ที่ระยะ 4 ฟุต เมื่อมีกำลังงานเข้ามา 1 วัตต์ เพราะฉะนั้นมันจะมีระดับความดัง 96 dB ที่ระยะ 8 ฟุต, 90 dB ที่ระยะ 16 ฟุต และ 14 dB ที่ 32 ฟุต เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ และถ้าเราต้องการระดับความดังที่ระยะ 32 ฟุต เท่ากับ 94 dB เราต้องเพิ่มกำลังงานเข้าไปที่ลำโพงเท่ากับ 10 วัตต์ (10 เท่าตัวของ 1 วัตต์ที่ระยะ 32 ฟุต) ความรู้ในการคิดคำนวณเกี่ยวกับระดับความดังของลำโพงทำให้เรานำไปออกแบบสำหรับระดับความดังที่ระยะต่าง ๆ และทราบจำนวนกำลังเอาต์พุตจากเครื่องขยายที่จะต้องใช้ได้
ลำโพงฮอร์นเป็นลำโพงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดนั้นหมายความว่าอัตราส่วนของกำลังไฟฟ้าที่เข้าไปกับระดับเสียงที่ได้ค่อนข้างจะมากกว่าลำโพงกรวยกระดาษทั่ว ๆ ไป แต่คุณภาพเสียงทางด้านความถี่ต่ำจะด้อยกว่าลำโพงแบบกรวยกระดาษ ดังนั้น ในตู้ลำโพงแบบซาวด์คอลัมน์จึงมักจะรวมเอาทั้งลำโพงฮอร์นและลำโพงเสียงทุ้ม (woofer) แบบกรวยกระดาษเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้ผลตอบเชิงความถี่ได้มากขึ้นอีกด้วย ผลตอบเชิงมุม (polar response) ของชุดลำโพงแบบนี้ก็นับว่าดีมากทีเดียว โดยมุมครอบคลุม (coverage angle) จะมีค่ามากขึ้น มุมครอบคลุมคือมุมที่เหไปจากแนวแกนกลางของหน้าลำโพงแล้วยังได้ระดับความดังลดลงจากแนวแกนกลาง 6 dB ทั้ง 2 ข้าง ดังแสดงไว้ในรูปที่ 8 (รูปที่ 8 ผลตอบเชิงมุมของชุดลำโพง)
การเลือกใช้ไมโครโฟน ที่เหมาะสมเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาจากเสียงหอนได้เป็นอย่างดี โดยเราจะเลือกใช้ไมโครโฟนที่มีลักษณะทิศทางการรับเสียงที่เหมาะสมกับงาน ลัษณะทิศทางการรับเสียงนิยมเรียกว่า แพทเทอน (pattern) มีหลายแบบด้วยกัน แต่ที่นิยมใช้กันและมีจำหน่ายมากที่สุดมีด้วยกัน 3 แบบ คือ แบบรอบทิศทาง (omnidirectional) แบบ 2 ทิศทาง หรือ รูปเลขแปด (bidirectional or figure of eight) และ แบบทิศทางเดียว (unidirectional) แพทเทอนแบบสุดท้ายนี้เป็นแบบที่ใช้แก้ปัญหาเสียงหอนได้ดีที่สุด เพราะว่ามันจะรับเสียงจากด้านหน้า (ด้านหน้าคือส่วนที่เราพูดกรอกเข้าไปนั่นเอง) แบบนี้บางทีก็เรียกว่า รูปหัวใจ (cardioid) เสียงที่มาจากด้านอื่น ๆ จะรับเข้าไปน้อยกว่าด้านหน้าดังนั้นจะช่วยตัดเสียงที่วกกลับมาได้เป็นอย่างดี แน่ถ้าเสียงที่วกกลับสะท้อนกับฉากของเวทีจะทำให้สะท้อนเข้าไปยังไมโครโฟนทางด้านหน้าอีก และจะก่อปัญหาด้านเสียงหอนอีกก็เป็นได้ เพื่อเป็นการตัดปัญหาด้านเสียงหอนให้ดียิ่งขึ้นเราควรจะบุพื้นเวทีและฉากหลังเวทีที่จะสะท้อนเสียงได้ด้วยวัสดุดูดกลืนเสียง นอกจากนี้คุณสมบัติของไมโครโฟนด้านผลตอบเชิงความถี่ควรเลือกแบบที่มีความราบเรียบตลอดช่วงความถี่ที่เราต้องการ ไม่ควรให้มีช่วงหนึ่งมีผลตอบที่มีลักษณะเป็นยอด เพราะว่าจะทำให้เกิดการหอนเนื่องจากเกนขยายของระบบเกินกว่าระดับวิกฤติ
การเพิ่มเติมอุปกรณ์ช่วยลดเสียงหอน เพื่อความมั่นใจว่าระบบเสียงของเราจะไม่เกิดปัญหาด้านเสียงหอนถึงแม้ว่าจะมีการเล็งลำโพงและการเลือกไมโครโฟนที่เหมาะสมแล้วก็ตาม เราจะเพิ่มอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ช่วยแก้ไขปัญหาด้านนี้ อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่อีควอไลเซอร์และฟิลเตอร์ (narrow bandwidth filter) อุปกรณ์ทั้งสองนี้จะช่วยกันปรับแต่ง โดยจะลดความแรงของสัญญาณซึ่งมีความถี่ที่ทำให้เกิดเสียงหอน อีควอไลเซอร์และฟิลเตอร์ที่ใช้อาจจะใช้แบบ 1 ออกเตฟแบนด์ ซึ่งมีความถี่กลางที่ปรับได้ 8 ความถี่ด้วยกันหรือ จะเป็นแบบ 1/3 ออกเตฟแบนด์ ซึ่งจะมีความถี่กลางที่ปรับได้ 27 ความถี่ด้วยกัน การปรับแต่งอุปกรณ์เหล่านี้จะต้องทำการปรับแต่งในบริเวณงานไว้ก่อนนการแสดงโดยจะใช้เครื่องวัดความถี่แบบแสดงผลเป็นตัวเลข (digital frequency meter) มาหาความถี่ที่เกิดการหอน ในขั้นแรกจะค่อย ๆ เพิ่มอัตราขยายของระบบจนกระทั่งเกิดการหอน จากนั้นจะทำการปรับอีควอไลเซอร์และฟิลเตอร์เพื่อลดขนาดสัญญาณในช่วงความถี่ที่เราอ่านได้จากเครื่องวัดความถี่ให้การหอนนั้นหายไป จากนั้นเราก็เร่งอัตราขยายจนเกิดการป้อนกลับที่ความถี่ใหม่อีกแล้วปรับแต่งที่ความถี่นี้อีกจนหายไป ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนถึงอัตราขยายของระบบเสียงที่เราต้องการ ตอนนี้เราก็ได้ค่าอัตราขยายเฉพาะความถี่ที่เหมาะสมที่จะไม่ทำให้เกิดการหอน การปรับแต่งความถี่ข้างเคียงซึ่งจะให้ผลทางเสียงที่แตกต่างออกไปนั้นขึ้นอยู่กับความชำนาญของแต่ละบุคคลที่จะปรับแต่งได้เป็นอย่างดีเพียงใด เมื่อถึงเวลาแสดงจริงเราก็ปรับอัตราขยายพร้อมทั้งอีควอไลเซอร์ที่ดีขึ้น เราก็อาจจะลองเสี่ยงปรับแต่งอย่างอิสระก่อน เพราะในเวลางานจริงจำนวนคนดูจะทำให้โอกาสเกิดการป้อนกลับน้อยลง เนื่องจากคุณสมบัติการดูดกลืนเสียงมีมากขึ้นนั่นเอง แต่ก็อย่าได้มั่นใจว่าจะไม่เกิดเสียงหอนขึ้นได้ ดังนั้นในคอนโซลสมัยใหม่จะมีสวิตช์ให้เลือกปรับวงจรอีควอไลเซอร์และฟิลเตอร์ทั้งสองแบบ โดยจะมีปุ่มตั้งอัตโนมัติซึ่งเราปรับแต่งไว้ตั่งแต่ตอนทดลองแล้ว หรือจะใช้ปรับขณะแสดงจริง ๆ เลยก็ได้ เมื่อเกิดปัญหาด้านเสียงหอนขึ้นมาเฉพาะหน้า เราจะสับสวิตช์ไปทางอัตโนมัติในทันที นอกจากนี้ยังมีวงจรกลับเฟส (phase reversal) ซึ่งจะช่วยแก้ไขเสียงหอนในช่วงความถี่ต่ำ (หลักการกลับเฟสธรรมดาเท่านั้น)
ความก้องกำธร
เสียงก้องกำธร (reverberation) คือเสียงแรกที่สะท้อนไปมาจนเราได้ยินอีกหลังจากได้ยินไปแล้ว โดยจะดังตามมาเป็นห้วง ๆ และค่อยๆ เงียบลงไป เสียงก้องนี้ในระบบเสียงที่เกี่ยวกับเสียงพูดจะไม่ต้องการ แต่ถ้าเป็นระบบเสียงที่เกี่ยวกับเสียงดนตรีแล้ว เสียงก้องจะเป็นตัวการที่ทำให้เสียงดนตรีที่ได้มีความหนักแน่นและกระหึ่มดังกว่าปกติมาก โดยทั่วไปการขจัดปัญหาด้านเสียงหอนโดยการหันลำโพงให้มีการสะท้อนมากขึ้นจะก่อปัญหาด้านเสียงก้องได้เช่นกัน เพราะว่าเส้นทางการสะท้อนที่ยาวขึ้นจะทำให้เกิดข่วงหน่วงยาวนานขึ้น ทำให้เวลาของการก้องกำธรยาวนานขึ้นอีกเมื่อเสียงก้องมีระดับความดังมากเกินไปนอกจากจะทำให้ความชัดเจนในน้ำเสียงเสียไปแล้วยังจะก่อปัญหาด้านเสียงหอนอีกทีหนึ่ง สำหรับโรงละครและโรงหนังที่มีเฉลียงจะทำให้บริเวณใต้เฉลียงมีเสียงก้องมากกว่าเดิม เพราะว่าความถี่สูงบริเวณนั้นจะถูกดูดกลืนได้เร็วกว่าและมากกว่าเสียงความถี่ต่ำ ทำให้เสียงความถี่ต่ำยังคงก้องกังวาน กรณีนี้เราแก้ไขโดยการลดเสียงทุ้มของวงจรขยาย จากนี้เราพอที่จะสรุปสาเหตุของการเกิดเสียงหอนและการแก้ไขได้แล้ว
ดังที่เคยได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่า เสียงหอนนั้นมีช่วงความถี่สูงและความถี่ต่ำ ถ้าเสียงหอนที่ได้เป็นเสียงหวีดหวิวในช่วงความถี่สูงเราแก้ไขโดยการลดเสียงแหลมของเครื่องขยาย (หรือปรีแอมป์มิกเซอร์) เสียงหอนในลักษณะนี้เกิดจากการใช้ไมโครโฟนที่มีผลตอบเชิงความถี่สูงมากเกินไป (ช่วงประมาณ 2 kHz ถึง 5 kHz) และจากการวางลำโพงให้เสียงสะท้อนกำแพงด้านหลังหรือส่วนโค้งของเพดาน (ถ้ามี) มากเกินไป ถ้าเสียงหอนที่ได้อยู่ในช่วงความถี่ต่ำแสดงว่าเกิดจากเสียงก้องในห้องมีมากเกินไป (เสียงความถี่สูงจะถูกดูดกลืนได้มากกว่าความถี่ต่ำ) การแก้ไขก็ใช้การลดเสียงทุ้มลงจนเสียงหอนหายไป (บางทีอาจจะเกิดจากการป้อนกลับจากพื้นเวทีที่สั่นเครือตามตู้ลำโพงก็เป็นได้ดังกล่าวแล้ว) เมื่อเราทราบสาเหตุและการแก้ไขเฉพาะหน้าแล้วเมื่อมีโอกาสที่จะแก้ไขอย่างถาวรเราก็ควรจะทำทันทีนั่นคือ การเปลี่ยนไมโครโฟนและการเล็งลำโพง ตลอดจนการบุผนังด้วยวัสดุกลืนเสียง
อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเสียงก้องได้คือการใช้ลำโพงหลายชุด โดยวางห่างกันแต่ละชุดเป็นระยะ 50 ฟุต ขึ้นไป เพราะว่าเสียงที่มาจากลำโพงตัวอื่นใช้เวลาระยะหนึ่งถึงจะมาถึงเรา แต่ลำโพงตัวที่ใกล้เราจะได้ยินก่อน ดังนั้นยิ่งมีหลายตัวจะทำให้ได้ยินเสียงตามมาเป็นห้วง ๆ นานกว่า การแก้ไขควรจะใช้ลำโพงซาวด์คอลัมน์วางแบบในรูปที่ 6 หรือแบบในรูปที่ 7
ความครอบคลุม
เป็นความสามารถของระบบเสียงของเราที่จะแพร่ขยายเสียงได้ทั่วทั้งบริเวณงาน คุณสมบัติข้อนี้จะขึ้นกับความไวของลำโพง (speaker sensitivity) จำนวนลำโพงน้อยเกินไป การเล็งลำโพงไม่ถูกต้อง กำลังของเครื่องขยายน้อยเกินไป จำนวนเครื่องขยายไม่พอเพียงกับความต้องการ
ความไวของลำโพง ส่วนมากจะกำหนดมาเป็น SPL (sound pressure level) คือ ระดับความดังของเสียง และมักจะบอกเป็นค่า dB โดยมีข้อกำหนดดังนี้ dB-SPL จะแทนระดับความดังของเสียงจากแนวแกนกลางของลำโพง (on axis) ที่ห่างออกไประยะหนึ่ง โดยมีกำลังทางไฟฟ้า (คิดเป็นวัตต์) เข้ายังลำโพงค่าหนึ่งโดยทั่ว ๆ ไป จะมี 2 มาตรฐานด้วยกัน มาตรฐานแรกคือ EIA (Electric Industrial Association) จะกำหนดระดับ dB-SPL ของลำโพงที่ระยะ 1 เมตร และกำหนดกำลังงานเข้าไป12ในลำโพงเท่ากับ 1 วัตต์ ประโยชน์ของการกำหนดมาตรฐานนี้จะทำให้เราสามารถหาระดับความดังที่ระยะห่างออกไปมาก ๆ ได้ และเมื่อกำลังงานที่เข้าไปยังลำโพงมากกว่าที่กำหนด โดยมีหลักคิดง่าย ๆ ดังนี้ ระดับความดังจะลดลงทีละ 6 dB-SPL ของความดังระดับเดิมเมื่อเรายืนห่างจากลำโพงทีละ 2 เท่าของระยะเดิม และจะมีระดับความดังเพิ่มทีละ 10 dB-SPL เมื่อกำลังงานที่เขี่ลำโพงเพิ่มเป็นทีละ 10 เท่า ตัวอย่างเช่น ความไวของลำโพง (ตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดมา) มีค่า 102 dB-SPL ที่ระยะ 4 ฟุต เมื่อมีกำลังงานเข้ามา 1 วัตต์ เพราะฉะนั้นมันจะมีระดับความดัง 96 dB ที่ระยะ 8 ฟุต, 90 dB ที่ระยะ 16 ฟุต และ 14 dB ที่ 32 ฟุต เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ และถ้าเราต้องการระดับความดังที่ระยะ 32 ฟุต เท่ากับ 94 dB เราต้องเพิ่มกำลังงานเข้าไปที่ลำโพงเท่ากับ 10 วัตต์ (10 เท่าตัวของ 1 วัตต์ที่ระยะ 32 ฟุต) ความรู้ในการคิดคำนวณเกี่ยวกับระดับความดังของลำโพงทำให้เรานำไปออกแบบสำหรับระดับความดังที่ระยะต่าง ๆ และทราบจำนวนกำลังเอาต์พุตจากเครื่องขยายที่จะต้องใช้ได้
ลำโพงฮอร์นเป็นลำโพงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดนั้นหมายความว่าอัตราส่วนของกำลังไฟฟ้าที่เข้าไปกับระดับเสียงที่ได้ค่อนข้างจะมากกว่าลำโพงกรวยกระดาษทั่ว ๆ ไป แต่คุณภาพเสียงทางด้านความถี่ต่ำจะด้อยกว่าลำโพงแบบกรวยกระดาษ ดังนั้น ในตู้ลำโพงแบบซาวด์คอลัมน์จึงมักจะรวมเอาทั้งลำโพงฮอร์นและลำโพงเสียงทุ้ม (woofer) แบบกรวยกระดาษเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้ผลตอบเชิงความถี่ได้มากขึ้นอีกด้วย ผลตอบเชิงมุม (polar response) ของชุดลำโพงแบบนี้ก็นับว่าดีมากทีเดียว โดยมุมครอบคลุม (coverage angle) จะมีค่ามากขึ้น มุมครอบคลุมคือมุมที่เหไปจากแนวแกนกลางของหน้าลำโพงแล้วยังได้ระดับความดังลดลงจากแนวแกนกลาง 6 dB ทั้ง 2 ข้าง ดังแสดงไว้ในรูปที่ 8 (รูปที่ 8 ผลตอบเชิงมุมของชุดลำโพง)
รูปที่ 8 ผลตอบเชิงมุมของชุดลำโพง
|
จากรูปนี้เราจะเห็นว่าที่ความถี่ 100 Hz ผลตอบเชิงมุมจะอ่านค่ามุมครอบคลุมได้ประมาณ 140* และที่ความถี่ 1 kHz มุมครอบคลุมประมาณ 70* ที่ 8 kHz มุมครอบคลุมประมาณ 70* เช่นกัน ในทางปฏิบัติการเล็งลำโพงแบบนี้ทั้ง 2 ข้างของเวทีจะพยายามให้มุมครอบคลุมของมันเหลื่อมกันที่บริเวณคนดูที่อยู่หน้าสุด ถ้ายังไม่พอก็อาจจะใช้ลำโพงแบบนี้ข้างละ 2 ตู้ หรือมากกว่าก็ได้ ในกรณีที่ห้องที่ใช้แสดงมีบริเวณกว้างมาก ๆ เราจำเป็นต้องยกตู้ลำโพงให้สูงขึ้นและเอียงทำมุม เล็งมายังคนดู การเล็งก็เช่นกันต้องคำนึงถึงมุมครอบคลุมดังกล่าวด้วย การติดตั้งที่ถูกต้องควรจะทำการทดลองเปิดเครื่องและลองนั่งฟังในบริเวณคนดูหลาย ๆ ตำแหน่งด้วยกัน โดยเฉพาะจุดที่เราสงสัยว่าจะมีระดับความดังมากหรือน้อยเกินไปด้วย
ถึงแม้จะมีการติดตั้งและเล็งลำโพงอย่างถูกต้องแล้วก็ตาม ในบางครั้งอาจจะมีบริเวณบางแห่งที่คุณภาพเสียงและระดับความดังยังไม่เหมาะสม สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดได้แก่การต่อเฟสของลำโพงแตกต่างกันซึ่งจะทำให้ที่นั่งคนดูบริเวณแถวกลาง ๆ ได้รับเสียงที่มีคุณภาพสู้บริเวณอื่นไม่ได้ ขอให้ดูผลตอบเชิงมุมของลำโพง 2 ตัว ที่ต่อเฟสตรงกันและต่างกัน ในรูปที่ 9
ถึงแม้จะมีการติดตั้งและเล็งลำโพงอย่างถูกต้องแล้วก็ตาม ในบางครั้งอาจจะมีบริเวณบางแห่งที่คุณภาพเสียงและระดับความดังยังไม่เหมาะสม สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดได้แก่การต่อเฟสของลำโพงแตกต่างกันซึ่งจะทำให้ที่นั่งคนดูบริเวณแถวกลาง ๆ ได้รับเสียงที่มีคุณภาพสู้บริเวณอื่นไม่ได้ ขอให้ดูผลตอบเชิงมุมของลำโพง 2 ตัว ที่ต่อเฟสตรงกันและต่างกัน ในรูปที่ 9
รูปที่ 9 ผลตอบเชิงมุมของลำโพงคู่ที่ต่อเฟสเหมือนกันและต่างกัน
|
เราจะสังเกตได้ว่าในบริเวณกลางระหว่างลำโพงทั้งสองจะมีผลตอบเชิงมุมทีน้อยกว่าบริเวณข้างเคียงที่ใกล้ ๆ กัน ดังนั้น การเดินสายลำโพงควรจะตรวจสอบการต่อเฟสของลำโพงด้วยว่าต่อถูกต้องด้วยกันทั้งคู่หรือเปล่า ถ้าที่ตัวลำโพงไม่ได้บอกขั้วของเฟสไวเราอาจจะทดสอบได้โดยการใช้ถ่านไฟฉายธรรมดาขนาด 4.5 V หรือ 6.0 V ก็ได้มาต่อเข้าไปกับลำโพงแล้วสังเกตกรวยของลำโพงว่าดูดเข้าหรือผลักออก จากนั้นทำเครื่องหมายลงไปบนขั้วต่อของลำโพงว่าขั้วไหนต่อกับถ่านขั้วบวกและลบ แล้วก็ทำการทดลองกับลำโพงอีกตัว (หรือมากกว่า) ต้องได้อาการดูดเข้าหรือผลักออกของกรวยลำโพงแบบเดียวกับตัวแรก จากนั้นทำเครื่องหมายบวกลบไว้ เวลาจะต่อสายลำโพงก็ให้ขั้วบวกจากเครื่องมาเข้ากับขั้วบวกที่ทำไว้บนลำโพงและขั้วลบก็ทำเช่นเดียวกัน ทำแบบนี้กับลำโพงทุก ๆ ตัว
สำหรับโรงละครหรือห้องประชุมที่มีเสาคั่นไว้ในบริเวณคนดู การติดตั้งลำโพงจำเป็นต้องติดไว้กับเสา อย่าติดไว้กับกำแพงหรือฝาด้านข้างเพราะว่าตำแหน่งคนดูคนฟังที่อยู่หลังเสาจะเป็นตำแหน่งที่เป็นจุดอับเสียง ถ้าไม่สามารถจะติดตั้งลำโพงไว้กับเสาได้เราอาจจะเล็งลำโพงจากด้านอื่นมาช่วยเหลือในบริเวณนั้นก็ได้
ปัญหาด้านอุปกรณ์
เป็นปัญหาหนักอกที่สุดโดยเฉพาะในกรณีที่อุปกรณ์เกิดเสียระหว่างการใช้งานอยู่ เราจำเป็นต้องมีการป้องกันหรือมีการตรวจสอบและเปลี่ยนอุปกรณ์ซึ่งควรจะมีการสำรองไว้ก่อนเสมอ การซ่อมแซมในเวลางานจะทำให้ระบบเสียงต้อหยุดชะงักลงชั่วคราว หรือบางทีถ้าหาที่เสียไม่พบหรือซ่อมแซมไม่ได้จะต้องทำให้งานหยุดไปเลยก็เป็นได้ ยิ่งระบบเสียงในสมัยปัจจุบันซึ่งจะมีอุปกรณ์มาต่อเพิ่มเติมมากมาย การหาจุดบกพร่องและการซ่อมแซมจะยิ่งทำได้ยาก ดังนั้นควรมีอุปกรณ์สำรองเตรียมพร้อมไว้เสมอ การเลือกโดยอาศัยรายละเอียดจากทางบริษัท (specification) เป็นวิธีที่ดีที่สุด การเดินสายต่าง ๆ ต้องแน่นหนาไม่เกิดปัญหาด้านอุปกรณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้และมักจะเกิดขึ้นเสมอ ๆ ซึ่งได้แก่ สายนำสัญญาณ เครื่องขยายและมิกเซอร์ ลำโพง การเลือกและการใช้ไมโครโฟน การพ่วง อุปกรณ์ต่างๆ ให้เหมาะสม
สายนำสัญญาณไม่ว่าจะเป็นสายต่อลำโพงหรือสายไมโครโฟนมักจะก่อปัญหาบ่อยที่สุด การเดินสายลำโพงจะต้องหลีกเลี่ยงบริเวณที่คนต้องเดินผ่านบ่อย ๆ เช่น ไม่ควรเดินสายข้ามหรือพาดไปบนพื้นที่เป็นทางเข้าออก (ประตู) การเดินสายควรจะเดินไว้เหนือศีรษะและมีการยึดติดให้เหมาะสมเป็นระยะๆ ไม่ควรเดินปล่อยให้ห้อยโยงเป็นทางยาว ๆ เพราะว่าจะทำให้เกิดการขาดใน โดยปกติแล้วสายสัญญาณมักจะไม่พาดผ่านพื้นซึ่งจะทำให้คนเหยียบย่ำได้ง่ายแต่ก็ต้องยกเว้นสำหรับสายไมโครโฟนบนเวที การสำรวจสภาพของสายไมโครโฟนบ่อย ๆ จะช่วยให้เราเปลี่ยนและซ่อมแซมก่อนจะนำไปใช้งาน จุดที่เสียมากที่สุดในสายไมโครโฟนจะเกิดบริเวณใกล้ ๆ กับปลั๊กต่อนั่นเอง ดังนั้นถ้าเราไม่มั่นใจว่าสายจะคงทนตลอดเวลาหรือเปล่า เราควรจะตัดสายออกทั้ง 2 ปลาย ข้างละประมาณ 2-3 นิ้วจากปลั๊ก แล้วบัดกรีเข้ากับปลั๊กตามเดิม วิธีการนี้ดู ๆ ไปจะเป็นการสิ้นเปลืองและเสียเวลา แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นเราเพียงแต่ขจัดปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นระหว่างการแสดง ส่วนสภาพของสายทั้งเส้นก็ควรจะสำรวจบ่อย ๆ ด้วย ในขณะวัดสภาพของสาย (ด้วยมิเตอร์หรือเครื่องมือชนิดอื่นก็ตาม) เราควรจะขยับสายไปมาบ่อย ๆ และแรง ๆ สังเกตว่ามีผลทำให้ความต่อเนื่องของสายเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
เครื่องขยายเสียงของระบบเสียงเป็นตัวการสำคัญที่สุดในการก่อปัญหา เพราะ ถ้ามันเกิดเสียขึ้นมาระบบเสียงทั้งระบบจะต้องหยุดชะงักทันที ดังนั้นการหาเครื่องสำรองมาคอยไว้ก่อนหรือการใช้เครื่องขยายหลายเครื่องขับลำโพงหลาย ๆ ชุด เป็นกลุ่ม ๆ ไป โดยเครื่องขยายแต่ละเครื่องสามารถเร่งกำลังขยายได้เป็นเอกเทศ และมีกำลังขยายมากกว่าขณะใช้งานแหติ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสับลำโพงของเครื่องที่เกิดปัญหามาใช้กับเครื่องขยายตัวอื่น ๆ ได้ทันท่วงทีได้
ในกรณีที่ใช้มิกเซอร์ต่างหาก นอกจากมิกเซอร์ในเมนแอมป์ ถ้ามิกเซอร์เกิดเหตุจัดข้อง เราสามารถแก้ปัญหาโดยการโยกย้ายสายไมโครโฟนมาใช้มิกเซอร์ของเมนแอมป์เอง แต่จำนวนไมโครโฟนอาจจะลดน้อยลงก็ยังพอทำให้ระบบเสียงดำเนินต่อไปได้ นอกจากนี้ไป AC สำหรับอุปกรณ์เครื่องเสียงของระบบควรจะใช้ไฟได้หลายช่วง เช่นตั้งแต่ 100 V ถึง 250 V เป็นต้น เพราะว่าในบางครั้งเราอาจจะต้องใช้อุปกรณ์เหล่านี้กับเครื่องจ่ายไปที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามท้องถิ่นเป็นต้น แม้แต่ในตัวเมืองโดยเฉพาะในต่างจังหวัดแรงดันไฟฟ้ามักจะไม่คงที่อย่างในบ้านเราแรงดันปกติคือ 220 V แต่ในบางครั้งจะมีแรงดันสูงถึง 250 V บางทีก็ลดลงเหลือเพียง 180 V เท่านั้น เมนแอมป์ที่ใช้กับระบบเสียงควรจะมีอินพุตอิมพีแดนซ์ และเอาต์พุดอิมพีแดนซ์ทีเข้าได้กับมิกเซอร์คอนโซลและลำโพงที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดได้ นอกจากนี้สเปกของมันควรจะกำหนดเอาต์พุดเพาเวอร์มาเป็นแบบคอนตินิวอัสเพาเวอร์ (continuous power) และอัตราการระบายความร้อนของเครื่องขยายจะต้องพอเพียงกับการใช้งานที่ต่อเนื่องกันนาน ๆ ได้ (ควรจะมีวงจรชดเชยความร้อน) เครื่องขยายที่ใช้กับระบบเสียงจะต้องสามารถทนต่อสภาพการขับกำลังออกสูงสุดเป็นเวลานาน ๆ และทนต่อสภาพกึ่งลัดวงจรในขณะขับสัญญาณเสียงความถี่ต่ำได้นาน ๆ เช่นกัน คุณสมบัติเหล่านี้ไม่มีในเครื่องเสียงที่ใช้ตามบ้าน ดังนั้นมันจึงไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้งานกับระบบเสียง
ลำโพงเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ค่อยก่อปัญหาที่ร้ายแรงนัก ถ้าจะเสียก็มักจะเป็นเฉพาะตัวเท่านั้น ไม่เสียทีเดียวพ้อมกันหมด (ถ้าเครื่องขยายปกติดี) สาเหตุที่ทำให้มันเสียได้ก็มีเพียงการป้อนกำลังเกินที่มันจะทนได้เท่านั้น (overload) โดยมากแล้วลำโพงจะกำหนดกำลังที่ทนได้เป็นเพาเวอร์สูงสุด (maximum power) แทนที่จะกำหนดมาเป็นคอนตินิวอัสเพาเวอร์ (ถ้ากำหนดมาทั้ง 2 อย่างจะเป็นการดีที่สุด) ดังนั้นการเลือกลำโพงโดยใช้เพาเวอร์สูงสุดเป็นตัวกำหนดจะต้องเลือกให้ได้ค่ามากกว่าคอนตินิวอัสเพาเวอร์ของเครื่องขยายประมาณ 2 เท่าตัว เช่นกำลังจากเครื่องขยายเท่ากับ 100 W (continuous power) เราจะต้องใช้ลำโพงที่มีเพาเวอร์สูงสุดเท่ากับ 200 W เป็นอย่างต่ำ บางครั้งก็กำหนดมาเป็นแรงดัน (voltage) สูงสุดที่ลำโพงจะทนได้ การกำหนดแบบนี้เราพอมีทางที่จะคำนวณหาแรงดันค่าที่ลำโพงจะได้รับจากเครื่องขยายเสียงได้โดยใช้สูตรค่าที่ได้จากสูตรเป็นค่าเฉลี่ยเหมือนกับคอนตินิวอัสเพาเวอร์ที่ได้จากเครื่องขยาย
ไมโครโฟนที่ใช้กับระบบเสียงทั่วไปควรจะมีความทนทานพอสมควร ทนต่อการตกกระทบกับพื้นผิวเวที มีวัสดุกรองฝุ่นหรือน้ำลายหรือสิ่งแปลกปลอมซึ่งอาจจะเข้าไปทำอันตรายต่อแผ่นไดอะแฟรมทำให้เสียงเพี้ยน เกิดสัญญาณรบกวน หรือแม้แต่ทำให้แผ่นไดอะแฟรมชำรุดเสียหายได้ แต่สำหรับไมโครโฟนที่ใช้กับระบบเสียงที่ใช้ในการบันทึกเสียง อาจจะไม่ต้องทนทานเหมือนข้างต้นแต่ต้องมีคุณภาพทางเสียงที่ดีมาก ไมโครโฟนส่วนมากจะเกิดการชำรุดได้ก็ต่อเมื่อมีการหล่นกระแทกพื้นอย่างแรงและการใช้อย่างผิดวิธี การทดสอบไมโครโฟนไม่ควรใช้การเคอหรือเป่าลมเข้าไปแต่ควรจะใช้เสียงพูดเป็นการทดสอบ แต่ถ้าต้องการจะทดสอบไมโครโฟนในขณะที่มีการแสดงหรือระบบเสียงกำลังใช้งานอยู่อาจจะใช้การเคาะเบา ๆ ที่ช่วงปลายของไมคาโฟน (ไม่ใช่ส่วนที่รับเสียง) จะได้ยินเสียงกรอกแกรกดังออกที่ลำโพง
สัญญาณออกจากไมโครโฟนจะเป็นสัดส่วนกลับกับกังสองของระยะทางระหว่างผู้พูดแลส่วนรับเสียงของไมโครโฟน คือถ้าผู้พูดห่างจากไมโครโฟนเป็นระยะ 2 เท่าของระยะเดิมจะทำให้ระดับสัญญาณออกจากไมโครโฟนลดเหลือเพียง 1/4 ของระยะเดิมเท่านั้น บางครั้งในกรณีที่ระดับวิกฤติต่ำมากเราไม่สามารถเพิ่มอัตราขยายของไมโครโฟนได้ เราจำเป็นต้องให้คนพูดพูดใกล้กับไมโครโฟนมากๆ แต่จะทำให้เสียง พ และ บ ฟังดูสับสน ยากแก่การแยกแยะได้ โดยปกติแล้วระยะที่เหมาะสมในการใช้ไมโครโฟนคือ 9 นิ้ว ถึง 12 นิ้ว บางทีอาจจะใช้การกะโดยคร่าวๆ ประมาณหนึ่งฝ่ามือกางเต็มที่ แต่อย่าแนะนำให้คนพูดแสดงการกะประมาณต่อหน้าคนดูโดยเด็ดขาด แต่ใช้การเล็งประมาณสายตา บางครั้งโต๊ะหรือแท่นทียึดไมโครโฟนอาจจะห่างจากผู้พูดมากเกินไป เราจึงใช้ไมโครโฟนที่มีฐานยึดโก่งงอออกหรือขาตั้งเป็นแกนนอนจะช่วยได้มาก การวางไมโครโฟนสำหรับการพูดควรจะวางให้แนวแกนของไมโครโฟนทำมุมประมาณ 45* กับพื้นราบ ทั้งนี้เพราะโดยธรรมชาติของโครงสร้างของปากจะกระจายเสียงลงมาเป็นมุมประมาณ 45* อยู่แล้ว การวางไมโครโฟนจ่อหน้าหรือปากคนพูดจะแลดูน่าเกลียดและเป็นการบังคนพูดจากคนดูที่นั่งด้านหน้าของเวที
สำหรับโรงละครหรือห้องประชุมที่มีเสาคั่นไว้ในบริเวณคนดู การติดตั้งลำโพงจำเป็นต้องติดไว้กับเสา อย่าติดไว้กับกำแพงหรือฝาด้านข้างเพราะว่าตำแหน่งคนดูคนฟังที่อยู่หลังเสาจะเป็นตำแหน่งที่เป็นจุดอับเสียง ถ้าไม่สามารถจะติดตั้งลำโพงไว้กับเสาได้เราอาจจะเล็งลำโพงจากด้านอื่นมาช่วยเหลือในบริเวณนั้นก็ได้
ปัญหาด้านอุปกรณ์
เป็นปัญหาหนักอกที่สุดโดยเฉพาะในกรณีที่อุปกรณ์เกิดเสียระหว่างการใช้งานอยู่ เราจำเป็นต้องมีการป้องกันหรือมีการตรวจสอบและเปลี่ยนอุปกรณ์ซึ่งควรจะมีการสำรองไว้ก่อนเสมอ การซ่อมแซมในเวลางานจะทำให้ระบบเสียงต้อหยุดชะงักลงชั่วคราว หรือบางทีถ้าหาที่เสียไม่พบหรือซ่อมแซมไม่ได้จะต้องทำให้งานหยุดไปเลยก็เป็นได้ ยิ่งระบบเสียงในสมัยปัจจุบันซึ่งจะมีอุปกรณ์มาต่อเพิ่มเติมมากมาย การหาจุดบกพร่องและการซ่อมแซมจะยิ่งทำได้ยาก ดังนั้นควรมีอุปกรณ์สำรองเตรียมพร้อมไว้เสมอ การเลือกโดยอาศัยรายละเอียดจากทางบริษัท (specification) เป็นวิธีที่ดีที่สุด การเดินสายต่าง ๆ ต้องแน่นหนาไม่เกิดปัญหาด้านอุปกรณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้และมักจะเกิดขึ้นเสมอ ๆ ซึ่งได้แก่ สายนำสัญญาณ เครื่องขยายและมิกเซอร์ ลำโพง การเลือกและการใช้ไมโครโฟน การพ่วง อุปกรณ์ต่างๆ ให้เหมาะสม
สายนำสัญญาณไม่ว่าจะเป็นสายต่อลำโพงหรือสายไมโครโฟนมักจะก่อปัญหาบ่อยที่สุด การเดินสายลำโพงจะต้องหลีกเลี่ยงบริเวณที่คนต้องเดินผ่านบ่อย ๆ เช่น ไม่ควรเดินสายข้ามหรือพาดไปบนพื้นที่เป็นทางเข้าออก (ประตู) การเดินสายควรจะเดินไว้เหนือศีรษะและมีการยึดติดให้เหมาะสมเป็นระยะๆ ไม่ควรเดินปล่อยให้ห้อยโยงเป็นทางยาว ๆ เพราะว่าจะทำให้เกิดการขาดใน โดยปกติแล้วสายสัญญาณมักจะไม่พาดผ่านพื้นซึ่งจะทำให้คนเหยียบย่ำได้ง่ายแต่ก็ต้องยกเว้นสำหรับสายไมโครโฟนบนเวที การสำรวจสภาพของสายไมโครโฟนบ่อย ๆ จะช่วยให้เราเปลี่ยนและซ่อมแซมก่อนจะนำไปใช้งาน จุดที่เสียมากที่สุดในสายไมโครโฟนจะเกิดบริเวณใกล้ ๆ กับปลั๊กต่อนั่นเอง ดังนั้นถ้าเราไม่มั่นใจว่าสายจะคงทนตลอดเวลาหรือเปล่า เราควรจะตัดสายออกทั้ง 2 ปลาย ข้างละประมาณ 2-3 นิ้วจากปลั๊ก แล้วบัดกรีเข้ากับปลั๊กตามเดิม วิธีการนี้ดู ๆ ไปจะเป็นการสิ้นเปลืองและเสียเวลา แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นเราเพียงแต่ขจัดปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นระหว่างการแสดง ส่วนสภาพของสายทั้งเส้นก็ควรจะสำรวจบ่อย ๆ ด้วย ในขณะวัดสภาพของสาย (ด้วยมิเตอร์หรือเครื่องมือชนิดอื่นก็ตาม) เราควรจะขยับสายไปมาบ่อย ๆ และแรง ๆ สังเกตว่ามีผลทำให้ความต่อเนื่องของสายเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
เครื่องขยายเสียงของระบบเสียงเป็นตัวการสำคัญที่สุดในการก่อปัญหา เพราะ ถ้ามันเกิดเสียขึ้นมาระบบเสียงทั้งระบบจะต้องหยุดชะงักทันที ดังนั้นการหาเครื่องสำรองมาคอยไว้ก่อนหรือการใช้เครื่องขยายหลายเครื่องขับลำโพงหลาย ๆ ชุด เป็นกลุ่ม ๆ ไป โดยเครื่องขยายแต่ละเครื่องสามารถเร่งกำลังขยายได้เป็นเอกเทศ และมีกำลังขยายมากกว่าขณะใช้งานแหติ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสับลำโพงของเครื่องที่เกิดปัญหามาใช้กับเครื่องขยายตัวอื่น ๆ ได้ทันท่วงทีได้
ในกรณีที่ใช้มิกเซอร์ต่างหาก นอกจากมิกเซอร์ในเมนแอมป์ ถ้ามิกเซอร์เกิดเหตุจัดข้อง เราสามารถแก้ปัญหาโดยการโยกย้ายสายไมโครโฟนมาใช้มิกเซอร์ของเมนแอมป์เอง แต่จำนวนไมโครโฟนอาจจะลดน้อยลงก็ยังพอทำให้ระบบเสียงดำเนินต่อไปได้ นอกจากนี้ไป AC สำหรับอุปกรณ์เครื่องเสียงของระบบควรจะใช้ไฟได้หลายช่วง เช่นตั้งแต่ 100 V ถึง 250 V เป็นต้น เพราะว่าในบางครั้งเราอาจจะต้องใช้อุปกรณ์เหล่านี้กับเครื่องจ่ายไปที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามท้องถิ่นเป็นต้น แม้แต่ในตัวเมืองโดยเฉพาะในต่างจังหวัดแรงดันไฟฟ้ามักจะไม่คงที่อย่างในบ้านเราแรงดันปกติคือ 220 V แต่ในบางครั้งจะมีแรงดันสูงถึง 250 V บางทีก็ลดลงเหลือเพียง 180 V เท่านั้น เมนแอมป์ที่ใช้กับระบบเสียงควรจะมีอินพุตอิมพีแดนซ์ และเอาต์พุดอิมพีแดนซ์ทีเข้าได้กับมิกเซอร์คอนโซลและลำโพงที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดได้ นอกจากนี้สเปกของมันควรจะกำหนดเอาต์พุดเพาเวอร์มาเป็นแบบคอนตินิวอัสเพาเวอร์ (continuous power) และอัตราการระบายความร้อนของเครื่องขยายจะต้องพอเพียงกับการใช้งานที่ต่อเนื่องกันนาน ๆ ได้ (ควรจะมีวงจรชดเชยความร้อน) เครื่องขยายที่ใช้กับระบบเสียงจะต้องสามารถทนต่อสภาพการขับกำลังออกสูงสุดเป็นเวลานาน ๆ และทนต่อสภาพกึ่งลัดวงจรในขณะขับสัญญาณเสียงความถี่ต่ำได้นาน ๆ เช่นกัน คุณสมบัติเหล่านี้ไม่มีในเครื่องเสียงที่ใช้ตามบ้าน ดังนั้นมันจึงไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้งานกับระบบเสียง
ลำโพงเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ค่อยก่อปัญหาที่ร้ายแรงนัก ถ้าจะเสียก็มักจะเป็นเฉพาะตัวเท่านั้น ไม่เสียทีเดียวพ้อมกันหมด (ถ้าเครื่องขยายปกติดี) สาเหตุที่ทำให้มันเสียได้ก็มีเพียงการป้อนกำลังเกินที่มันจะทนได้เท่านั้น (overload) โดยมากแล้วลำโพงจะกำหนดกำลังที่ทนได้เป็นเพาเวอร์สูงสุด (maximum power) แทนที่จะกำหนดมาเป็นคอนตินิวอัสเพาเวอร์ (ถ้ากำหนดมาทั้ง 2 อย่างจะเป็นการดีที่สุด) ดังนั้นการเลือกลำโพงโดยใช้เพาเวอร์สูงสุดเป็นตัวกำหนดจะต้องเลือกให้ได้ค่ามากกว่าคอนตินิวอัสเพาเวอร์ของเครื่องขยายประมาณ 2 เท่าตัว เช่นกำลังจากเครื่องขยายเท่ากับ 100 W (continuous power) เราจะต้องใช้ลำโพงที่มีเพาเวอร์สูงสุดเท่ากับ 200 W เป็นอย่างต่ำ บางครั้งก็กำหนดมาเป็นแรงดัน (voltage) สูงสุดที่ลำโพงจะทนได้ การกำหนดแบบนี้เราพอมีทางที่จะคำนวณหาแรงดันค่าที่ลำโพงจะได้รับจากเครื่องขยายเสียงได้โดยใช้สูตรค่าที่ได้จากสูตรเป็นค่าเฉลี่ยเหมือนกับคอนตินิวอัสเพาเวอร์ที่ได้จากเครื่องขยาย
ไมโครโฟนที่ใช้กับระบบเสียงทั่วไปควรจะมีความทนทานพอสมควร ทนต่อการตกกระทบกับพื้นผิวเวที มีวัสดุกรองฝุ่นหรือน้ำลายหรือสิ่งแปลกปลอมซึ่งอาจจะเข้าไปทำอันตรายต่อแผ่นไดอะแฟรมทำให้เสียงเพี้ยน เกิดสัญญาณรบกวน หรือแม้แต่ทำให้แผ่นไดอะแฟรมชำรุดเสียหายได้ แต่สำหรับไมโครโฟนที่ใช้กับระบบเสียงที่ใช้ในการบันทึกเสียง อาจจะไม่ต้องทนทานเหมือนข้างต้นแต่ต้องมีคุณภาพทางเสียงที่ดีมาก ไมโครโฟนส่วนมากจะเกิดการชำรุดได้ก็ต่อเมื่อมีการหล่นกระแทกพื้นอย่างแรงและการใช้อย่างผิดวิธี การทดสอบไมโครโฟนไม่ควรใช้การเคอหรือเป่าลมเข้าไปแต่ควรจะใช้เสียงพูดเป็นการทดสอบ แต่ถ้าต้องการจะทดสอบไมโครโฟนในขณะที่มีการแสดงหรือระบบเสียงกำลังใช้งานอยู่อาจจะใช้การเคาะเบา ๆ ที่ช่วงปลายของไมคาโฟน (ไม่ใช่ส่วนที่รับเสียง) จะได้ยินเสียงกรอกแกรกดังออกที่ลำโพง
สัญญาณออกจากไมโครโฟนจะเป็นสัดส่วนกลับกับกังสองของระยะทางระหว่างผู้พูดแลส่วนรับเสียงของไมโครโฟน คือถ้าผู้พูดห่างจากไมโครโฟนเป็นระยะ 2 เท่าของระยะเดิมจะทำให้ระดับสัญญาณออกจากไมโครโฟนลดเหลือเพียง 1/4 ของระยะเดิมเท่านั้น บางครั้งในกรณีที่ระดับวิกฤติต่ำมากเราไม่สามารถเพิ่มอัตราขยายของไมโครโฟนได้ เราจำเป็นต้องให้คนพูดพูดใกล้กับไมโครโฟนมากๆ แต่จะทำให้เสียง พ และ บ ฟังดูสับสน ยากแก่การแยกแยะได้ โดยปกติแล้วระยะที่เหมาะสมในการใช้ไมโครโฟนคือ 9 นิ้ว ถึง 12 นิ้ว บางทีอาจจะใช้การกะโดยคร่าวๆ ประมาณหนึ่งฝ่ามือกางเต็มที่ แต่อย่าแนะนำให้คนพูดแสดงการกะประมาณต่อหน้าคนดูโดยเด็ดขาด แต่ใช้การเล็งประมาณสายตา บางครั้งโต๊ะหรือแท่นทียึดไมโครโฟนอาจจะห่างจากผู้พูดมากเกินไป เราจึงใช้ไมโครโฟนที่มีฐานยึดโก่งงอออกหรือขาตั้งเป็นแกนนอนจะช่วยได้มาก การวางไมโครโฟนสำหรับการพูดควรจะวางให้แนวแกนของไมโครโฟนทำมุมประมาณ 45* กับพื้นราบ ทั้งนี้เพราะโดยธรรมชาติของโครงสร้างของปากจะกระจายเสียงลงมาเป็นมุมประมาณ 45* อยู่แล้ว การวางไมโครโฟนจ่อหน้าหรือปากคนพูดจะแลดูน่าเกลียดและเป็นการบังคนพูดจากคนดูที่นั่งด้านหน้าของเวที
การประกอบอุปกรณ์ต่าง
ๆ เข้าด้วยกัน
อิมพีแดนซ์
|
แรงดัน
(V)
|
แรงดัน
(dBV)
|
|
ไมโครโฟนที่มีเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ต่ำ
ไมโครโฟนที่มีเอาต์พุตอิมพีแดนซ์สูง
มิกเซอร์ที่มีอินพุตอิมพีแดนซ์ต่ำ
มิกเซอร์ที่มีอินพุตอิมพีแดนซ์สูง
เอาต์พุตของมิกเซอร์
อินพุตของเครื่องขยาย
อินพุตของตำแหน่ง
AUX
(เป็นสายแบบไม่สมดุลย์
(unbalanced)
|
50-250
20
k ถึง 100
k
300
ถึง 2.2
k
50
k ถึง 1
M
50
ถึง 600
5
k ถึง 100
k
10
k ถึง 100
k
|
0.1
mV ถึง 100
mV
0.1
mV ถึง 1.0
mV
30
mV ถึง 1.0
V
(แรงดันขลิบ)
320
mV ถึง 10
V
(แรงดันขลิบ)
1
V ปกติ
10
V ค่าสูงสุด
0.5
ถึง 2.0
V
0.1
V ถึง 1.0
V
|
-80
ถึง .20
dBV
-60
ถึง 0
dBV
-30
ถึง 0
dBV
-10
ถึง +20
dBV
0
dBV ปกติ
+20
dBV ค่าสูงสุด
-6.0
ถึง +6.0
dBV
-20
ถึง 0
dBV
|
ในกรณีที่มีอุปกรณ์หลาย ๆ ชุดต่อพ่วงกันและอุปกรณ์แต่ละชิ้นก็สามารถเร่งอัตราชยายได้ ดังนั้นโอกาสที่จะมีการขยายจนเกินไปจนทำให้เกิดการขลิบสัญญาณได้ ส่วนมากแล้วจะกำหนดเป็น dBV โดย 0 dBV มีค่าอ้างอิงเท่ากับ 1 V มาตรฐานอื่นๆ ที่พบมากคือ dBm ซึ่งจะใช้คำนวณระดับแรงดันได้ไม่ง่ายนักเพราะว่าค่าอ้างอิงของมันมีค่าอิมพีแดนซ์และแรงดันได้ไม่ง่ายนัก เพราะว่าค่าอ้างอิงของมันมีค่าอิมพีแดนซ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เราจึงนิยมใช้ค่า dBV มากกว่า จากตารางที่ 1 ถ้าไมโครโฟนของเรามีแรงดันออก -20 dBV (สูงที่สุดในไมโครโฟนประเภทเดียวกัน) มิกเซอร์ควรจะมีระดับแรงดันขลิบ -10 dBV ถึง 5 dBV หรือมากกว่าก็ได้ อิมพีแดนซ์ควรเลือกแบบค่าสูงหรือค่าต่ำเหมือน ๆ กัน
ในกรณีที่อุปกรณ์ต่าง ๆ มีปุ่มเร่งความดังได้ (level control) เราควรจะเร่งอุปกรณ์ตัวหน้าสุด (นับจากไมโครโฟนมา) ให้มากที่สุดเท่าที่จะไม่เกิดการขลิบขึ้น ส่วนที่ตัวอื่น ๆ ระหว่างตัวหน้าและเมนแอมป์จะปรับระดับปานกลาง ส่วนการเร่งระดับความดังทั้งหมดจะใช้ที่เมนแอมป์เพียงตัวเดียวเท่านั้น วิธีการปรับระดับความดังแบบนี้จะทำให้ระดับสัญญาณรบกวนน้อยลง และเมนแอมป์มีทางที่จะขับสัญญาณออกได้เต็มที่ด้วย โดยทั่วไปอุปกรณ์แต่ละชุดจะมี VU มิเตอร์คอยแสดงว่าระดับสัญญาณออกหรือเข้าอยู่ในระดับที่ถูกขลิบหรือเปล่า การปรับแต่งอัตราขยายของวงจรให้พยายามสังเกตเข็มของ VU มิเตอร์ว่าควรจะอยู่ในช่วงไหนตามที่คู่มือบอกมาถ้าไม่ได้บอกก็พยายามอย่าให้เข็มแกว่งเลยเขตแดง (พยายามทำการทดลองจนเป็นที่พอใจ) โดยทั่วไป VU มิเตอร์มักจะมีช่วงปลอดภัยอยู่แล้วบางทีอาจจะมีสัญญาณเตือนบอกเมื่อยอดสัญญาณถูกขลิบไว้ด้วยส่วนปลีกย่อยที่ประกอบเข้ากับเสียง
ปัญหาใหญ่ ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดมักจะพบบ่อยที่สุด แต่ยังมีปัญหาที่เกิดจากอุปกรณ์ที่เพิ่มเติมเข้ามายังระบบเสียงและบางครั้งก็เป็นปัญหาเฉพาะถิ่น เพื่อที่จะให้บทความนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นจะขอเสนอข้อปลีกย่อยที่จำเป็นสำหรับระบบเสียงเพิ่มเติมอีก
มอนิเตอร์สำหรับนักร้องนักดนตรี (stage monitor) เวลาออกแสดงดนตรีจากหลาย ๆ ชิ้นจะประดังกันเข้ามาหมด โดยเฉพาะบริเวณที่ทำให้นักร้องหรือแม้แต่นักดนตรีเองไม่ทราบว่าตัวเองเล่นอยู่ในความดังระดับไหน โดยเฉพาะนักร้องบางครั้งจะไม่ได้ยินเสียงของตัวเองเลย ดังนั้นการพ่วงลำโพงอีกชุดสำหรับให้นักดนตรีบนเวทีทราบว่าขณะนั้น ๆ เสียงดนตรีที่ไปยังคนดูคนฟังเป็นอย่างไรบ้าง เราอาจจะต่อพ่วงจากคอนโซล การต่อพ่วงจะทำแบบในรูปที่ 2 นอกจากนี้มอนิเตอร์ยังสามารถเลือกฟังสัญญาณเฉพาะชิ้นได้อีกด้วย ลำโพงที่ใช้อาจจะมีขนาดเล็กกว่าปกติก็ได้
ความสะดวกในการเคลื่อนย้าย (portability) นักแสดงและนักดนตรีส่วนมากจะมีคอนโซลและชุดเครื่องเสียงของตัวเอง และควรจะเป็นแบบที่ใช้งานได้อย่างสะดวก เคลื่อนย้ายง่าย ขนาดและน้ำหนักพอเหมาะ ตลอดจนการประกอบพ่วงทำได้ง่าย
ในกรณีที่ห้องกว้างมากๆ เราจำเป็นต้องใช้ลำโพงต่อไว้หลายจุดและห่างไกลกันมาก การใช้เครื่องขยายที่ให้แรงดันเอาต์พุตสูง ๆ เช่น 70 V เป็นต้น จะช่วยลดความสูญเสียภายในสายต่อลำโพงยาว ๆ ได้เป็นอย่างดี ในระบบเสียงแบบนี้จะต้องมีวงจรหน่วงเวลา (time delay) มาช่วย การเกิดเสียงก้องกำธรจากลำโพงตัวที่อยู่ไกล ๆ การวางตำแหน่งของไมโครโฟนบนเวทีก็เป็นปัญหาที่ยากแก่การแก้ไข ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์มากพอสมควร ตัวอย่างของการวางไมโครโฟนเพื่อหลีกเลี่ยงเสียงสะท้อนจากพื้นเวทีซึ่งจะมากลบเสียงทางตรงทำให้เสียงค่อยลงและผลตอบเชิงความถี่ลดลงมาก เราจะวางไมโครโฟนให้ติดพื้นเวทีมากที่สุด และออกแบบมาสำหรับป้องกันการสั่นสะเทือนจากพื้นเวทีได้ด้วย
ในกรณีที่อุปกรณ์ต่าง ๆ มีปุ่มเร่งความดังได้ (level control) เราควรจะเร่งอุปกรณ์ตัวหน้าสุด (นับจากไมโครโฟนมา) ให้มากที่สุดเท่าที่จะไม่เกิดการขลิบขึ้น ส่วนที่ตัวอื่น ๆ ระหว่างตัวหน้าและเมนแอมป์จะปรับระดับปานกลาง ส่วนการเร่งระดับความดังทั้งหมดจะใช้ที่เมนแอมป์เพียงตัวเดียวเท่านั้น วิธีการปรับระดับความดังแบบนี้จะทำให้ระดับสัญญาณรบกวนน้อยลง และเมนแอมป์มีทางที่จะขับสัญญาณออกได้เต็มที่ด้วย โดยทั่วไปอุปกรณ์แต่ละชุดจะมี VU มิเตอร์คอยแสดงว่าระดับสัญญาณออกหรือเข้าอยู่ในระดับที่ถูกขลิบหรือเปล่า การปรับแต่งอัตราขยายของวงจรให้พยายามสังเกตเข็มของ VU มิเตอร์ว่าควรจะอยู่ในช่วงไหนตามที่คู่มือบอกมาถ้าไม่ได้บอกก็พยายามอย่าให้เข็มแกว่งเลยเขตแดง (พยายามทำการทดลองจนเป็นที่พอใจ) โดยทั่วไป VU มิเตอร์มักจะมีช่วงปลอดภัยอยู่แล้วบางทีอาจจะมีสัญญาณเตือนบอกเมื่อยอดสัญญาณถูกขลิบไว้ด้วยส่วนปลีกย่อยที่ประกอบเข้ากับเสียง
ปัญหาใหญ่ ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดมักจะพบบ่อยที่สุด แต่ยังมีปัญหาที่เกิดจากอุปกรณ์ที่เพิ่มเติมเข้ามายังระบบเสียงและบางครั้งก็เป็นปัญหาเฉพาะถิ่น เพื่อที่จะให้บทความนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นจะขอเสนอข้อปลีกย่อยที่จำเป็นสำหรับระบบเสียงเพิ่มเติมอีก
มอนิเตอร์สำหรับนักร้องนักดนตรี (stage monitor) เวลาออกแสดงดนตรีจากหลาย ๆ ชิ้นจะประดังกันเข้ามาหมด โดยเฉพาะบริเวณที่ทำให้นักร้องหรือแม้แต่นักดนตรีเองไม่ทราบว่าตัวเองเล่นอยู่ในความดังระดับไหน โดยเฉพาะนักร้องบางครั้งจะไม่ได้ยินเสียงของตัวเองเลย ดังนั้นการพ่วงลำโพงอีกชุดสำหรับให้นักดนตรีบนเวทีทราบว่าขณะนั้น ๆ เสียงดนตรีที่ไปยังคนดูคนฟังเป็นอย่างไรบ้าง เราอาจจะต่อพ่วงจากคอนโซล การต่อพ่วงจะทำแบบในรูปที่ 2 นอกจากนี้มอนิเตอร์ยังสามารถเลือกฟังสัญญาณเฉพาะชิ้นได้อีกด้วย ลำโพงที่ใช้อาจจะมีขนาดเล็กกว่าปกติก็ได้
ความสะดวกในการเคลื่อนย้าย (portability) นักแสดงและนักดนตรีส่วนมากจะมีคอนโซลและชุดเครื่องเสียงของตัวเอง และควรจะเป็นแบบที่ใช้งานได้อย่างสะดวก เคลื่อนย้ายง่าย ขนาดและน้ำหนักพอเหมาะ ตลอดจนการประกอบพ่วงทำได้ง่าย
ในกรณีที่ห้องกว้างมากๆ เราจำเป็นต้องใช้ลำโพงต่อไว้หลายจุดและห่างไกลกันมาก การใช้เครื่องขยายที่ให้แรงดันเอาต์พุตสูง ๆ เช่น 70 V เป็นต้น จะช่วยลดความสูญเสียภายในสายต่อลำโพงยาว ๆ ได้เป็นอย่างดี ในระบบเสียงแบบนี้จะต้องมีวงจรหน่วงเวลา (time delay) มาช่วย การเกิดเสียงก้องกำธรจากลำโพงตัวที่อยู่ไกล ๆ การวางตำแหน่งของไมโครโฟนบนเวทีก็เป็นปัญหาที่ยากแก่การแก้ไข ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์มากพอสมควร ตัวอย่างของการวางไมโครโฟนเพื่อหลีกเลี่ยงเสียงสะท้อนจากพื้นเวทีซึ่งจะมากลบเสียงทางตรงทำให้เสียงค่อยลงและผลตอบเชิงความถี่ลดลงมาก เราจะวางไมโครโฟนให้ติดพื้นเวทีมากที่สุด และออกแบบมาสำหรับป้องกันการสั่นสะเทือนจากพื้นเวทีได้ด้วย
การติดตั้งระบบเสียง PA ไม่ยากอย่างที่คิด
ระบบเสียงสาธารณะไม่ว่าจะกลางแจ้งหรือในร่มที่มีขอบเขตพื้นที่ใช้งานเป็นบริเวณกว้างหรือที่เรียกกันอยู่บ่อย ๆ ว่า ระบบเสียง PA (Public Address system) ระบบเสียงแบบนี้พบเห็นโดยทั่วไปในงานต่าง ๆ ที่ต้องการใช้การกระจายเสียงสู่ผู้ฟังจำนวนมาก เช่น งานกลางแจ้ง, งานแสดงคอนเสิร์ต, งานวัด, หนังกลางแปลง, การกระจายเสียงในห้างสรรพสินค้า ตลอดจนถึงในห้องประชุม เป็นต้น ก็ล้วนแต่เป็นระบบเสียง PA ด้วยกันทั้งสิ้น
แต่จะมีวิธีการอย่างไร ในการจัดระบบเสียง PA นี้ให้ได้ออกมาดีที่สุดเพราะระบบเสียง PA เป็นระบบเสียงที่มีขนาดพื้นที่ใช้งานมาก ถ้านำไปเปรียบเทียบกับระบบเสียงภายในบ้านแล้วจะเห็นความแตกต่างชัดเจน ซึ่งระบบเสียงภายในบ้านนั้นไม่ต้องคำนึงอะไรมากนัก เพียงแต่มีเครื่องขยายเสียง เครื่องกำเนิดสัญญาณ และลำโพงเพียง 1 คู่ ก็สามารถนำไปใช้ให้ความบันเทิงแก่ผู้ฟังภายในห้องฟังเพลงที่มีขนาดย่อมได้เพียงพอแล้ว
แต่ระบบเสียง PA นั้น พื้นที่การรับฟังเสียงมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่กว่ามาก ซึ่งจะต้องคำนึงว่าจุดรับฟังทุกจุดในพื้นที่นั้น ต้องมีผลการรับฟังที่ดีเท่ากันทุกจุดบนพื้นที่ของการกระจายเสียง การที่จะทำให้ได้ผลดีดังที่กล่าวนั้นจะต้องมีความเข้าใจในส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบเสียง PA ที่จะนำมาใช้งานให้ถ่องแท้เสียก่อน ซึ่งระบบเสียง PA นั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดเลย
ระบบเสียง PA เบื้องต้น
ในระบบเสียง PA ส่วนหลักที่สำคัญที่สุดก็คือเครื่องขยายเสียง ขนาดของกำลังวัตต์นั้นจะมีตั้งแต่สิบวัตต์ไปจนถึงขนาดหลายร้อยวัตต์ (ในบางครั้งนั้นอาจจะต้องใช้เครื่องขยายเสียงที่มีกำลังวัตต์สูงเป็นพันวัตต์เลยก็มีกับพื้นที่ที่มีขนาดกว้างใหญ่มาก ๆ) และอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับระบบเสียง PA นี้ก็คือ มิกเซอร์ ซึ่งจะใช้งานร่วมกับเครื่องขยายเสียง โดยจะเป็นตัวปรัยบระดับสัญญาณอินพุต และมีโวลุ่มหลักสำหรับปรับควบคุมเสียงทั้งหมดอีกขั้นหนึ่ง
ชนิดของสัญญาณอินพุตที่ป้อนให้กับเครื่องขยายเสียงมีอยู่ 2 แบบ คือ
- สัญญาณแบบไลน์อินพุต (line level input) อยู่ในช่วง -20 dBm จนถึง +30 dBm ซึ่งเครื่องกำเนิดสัญญาณจัดอยู่ในไลน์อินพุตนี้ ได้แก่ พวกเทปเด็ค จูนเนอร์ CD เป็นต้น
- สัญญาณแบบบาลานซ์ไลน์ (balanced line) อยู่ในช่วง -80 dBm จนถึง -20 dBm ตัวอย่างของตัวกำเนิดสัญญาณแบบนี้ที่เห็นกันชัดที่สุดก็คือ ไมโครโฟนนั่นเอง
และอีกแบบที่นิยมใช้กันก็คือ การวางลำโพงในลักษณะกระจายออกเป็นแถวทั่วพื้นที่ (แบบ array) ซึ่งจะใช้ลำโพงเล็กหลายตัววางกระจายในตำแหน่งที่ต้องการ ซึ่งสามารถจัดวางลำโพงให้ทั่วพื้นที่ได้ ทำให้การรับฟังเสียงสามารถรับฟังได้เท่าเทียมกันทุกพื้นที่ โดยไม่ต้องเร่งโวลุ่มมาก แต่ข้อเสียก็คือ การติดตั้งที่ยุ่งยากกว่าแบบซิงเกิลซอร์ซ
สำหรับปัญหาของเสียงหวีดหอนที่เกิดจากการป้อนกลับ ทั้งที่เกิดขึ้นในการวางลำโพงแบบซิงเกิลซอร์ซ และแบบกระจายทั่วพื้นที่นั้น สามารถแก้ไขโดยการใช้การปรับแต่งของเครื่องมือประเภทอีควอไลเซอร์เข้ามาช่วย ซึ่งสามาถลดทอนสัญญาณความถี่ที่ก่อให้กิดปัญหาการหวีดหอนลงได้ การใช้สายไมโครโฟน แบบบาลานซ์ไลน์ (balance line) ก็สามารถช่วยลดปัญหาสัญญาณรบกวนและเสียงฮัมได้เช่นกัน
ไมโครโฟนที่ใช้ระบบเสียง PA
ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์หลักอีกอย่างที่จะต้องนำมาใช้ในระบบเสียงแบบ PA ซึ่งมีใช้กันอยู่หลายแบบ แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน ที่สำคัญต้องมีอิมพีแดนซ์ต่ำ มีทิศทางในการรับเสียงได้ดี และสายที่ใช้ควรเป็นสายแบบบาลานซ์ไลน์
การทำไมโครโฟนมาใช้ สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงก็คือ เรื่องของอิมพีแดนซ์ ของไมโครโฟนกับอินพุตจองเครื่องขยายเสียง โดยสามัญสำนึกแล้วควรให้มีอิมพีแดนซ์เท่ากัน แต่ในการใช้งานจริงนั้นจะไม่จำเป็นต้องตามหลักการนี้ เพราะถ้าอิมพีแดนซ์มีค่าเท่ากันแล้ว ความไวของไมโครโฟนจะลดลงประมาณ 6 dB โดยสูญเสียไปในรูปของอัตราสัญญาณต่อสัญญาณกวน ดังนั้นถ้าจะให้ได้ผลดีที่สุด อิมพีแดนซ์ของเครื่องขยายเสียงควรจะมากกว่าอิมพีแดนซ์ของไมโครโฟน ประมาณ 10 เท่าหรือมากกว่า
คุณลักษณะที่สำคัญอีกอย่างของไมโครโฟนที่ใช้ระบบเสียง PA นี้ก็คือความไวการรับเสียงดีในทิศทางที่ต้องการเท่านั้น การเลือกใช้ไมโครโฟนที่มีทิศทางการรับเสียงที่เหมาะสม จะช่วยลดปัญหาเสียงรบกวนจากสิ่งแวดล้อมหรือเสียงหอนลงได้
ไมโครโฟนที่มีคุณสมบัติข้างต้นที่นิยมใช้กันมากในระบบเสียง PA ก็คือ ไมโครโฟนที่รับเสียงได้ดีในทิศทางตรงหน้าไมโครโฟนเท่านั้น มักเรียกว่า แบบคาร์ดิออยด์ ซึ่งการตอบสนองต่อเสียงของมันจะตอบสนองได้ดีกับเสียงของผู้พูดเท่านั้น แต่เสียงปรบมือหรือเสียงกรีดร้องจากผู้ชมจะไม่ค่อยมีผล เนื่องจากคุณสมบัติที่รับเสียงได้ดีเฉพาะในทิศทางที่เป็นมุมแคบตรงด้านหน้าของมันเท่านั้น
รูปที่ 1 ลักษณะรูปแบบการรับฟังเสียงของไมโครโฟนแบบคาร์ดิออยด์
|
ไมโครโฟนแบบคาร์ดิออยด์นี้มีรูปแบบการรับเสียง ดังรูปที่ 1 ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ จะเห็นได้ว่าการรับเสียงจะรับได้ดีเฉพาะด้านหน้าของมันเท่านั้น
สายชีลด์ที่ใช้กับไมโครโฟนนั้นมีผลต่อคุณภาพเสียงเหมือนกัน เพราะถ้าสายมีขนาดยาวมากจะทำให้เกิดสัญญาณรบกวนขึ้น ไมโครโฟนที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำก็สามารถช่วยได้แต่ไม่มากนัก ซึ่งปกติแล้วสายชีลด์ธรรมดาหรือสายอันบาลานซ์ (unbalance line) ดังรูปที่ 2 (ก) จะใช้งานได้ดีในช่วงความยาวไม่เกิน 25 ฟุต (7.5 เมตร) ถ้าความยาวมากกว่านี้อาจมีปัญหาสัญญาณรบกวนและเสียงฮัมขึ้นได้
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการสูญเสียสัญญาณในย่านความถี่สูงควรใช้สายแบบบาลานซ์ไลน์ ซึ่งสามารถใช้งานในช่วงความยาวได้หลายสิบเมตรทีเดียว โดยไม่มีสัญญาณรบกวนเกิดขึ้น เนื่องจากสายแบบบาลานซ์ไลน์มีระดับเสียงสัญญาณที่ต่างกันภายในสายตัวนำทั้งสองของมัน ดังนั้นเสียงรบกวนหรือเสียงฮัมที่เกิดขึ้นจะถูกเหนี่ยวนำไปหักล้างกับอีกสายหนึ่งดังรูปที่ 2 (ข)
สายชีลด์ที่ใช้กับไมโครโฟนนั้นมีผลต่อคุณภาพเสียงเหมือนกัน เพราะถ้าสายมีขนาดยาวมากจะทำให้เกิดสัญญาณรบกวนขึ้น ไมโครโฟนที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำก็สามารถช่วยได้แต่ไม่มากนัก ซึ่งปกติแล้วสายชีลด์ธรรมดาหรือสายอันบาลานซ์ (unbalance line) ดังรูปที่ 2 (ก) จะใช้งานได้ดีในช่วงความยาวไม่เกิน 25 ฟุต (7.5 เมตร) ถ้าความยาวมากกว่านี้อาจมีปัญหาสัญญาณรบกวนและเสียงฮัมขึ้นได้
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการสูญเสียสัญญาณในย่านความถี่สูงควรใช้สายแบบบาลานซ์ไลน์ ซึ่งสามารถใช้งานในช่วงความยาวได้หลายสิบเมตรทีเดียว โดยไม่มีสัญญาณรบกวนเกิดขึ้น เนื่องจากสายแบบบาลานซ์ไลน์มีระดับเสียงสัญญาณที่ต่างกันภายในสายตัวนำทั้งสองของมัน ดังนั้นเสียงรบกวนหรือเสียงฮัมที่เกิดขึ้นจะถูกเหนี่ยวนำไปหักล้างกับอีกสายหนึ่งดังรูปที่ 2 (ข)
รูปที่ 2 ลักษณะของสายสัญญาณที่ใช้กับไมโครโฟน คือ แบบอันบาลานซ์ไลน์และแบบบาลานซ์ไลน์
|
ลักษณะการต่อสายบาลานซ์ไลน์เข้ากับไมโครโฟนแบบคาร์ดิออยด์นั้นภายในของสายจะประกอบไปด้วยสาย 3 เส้น คือ สายสัญญาณ 2 เส้น และ กราวด์ 1 เส้น การต่อจึงต้องต่อเข้ากับคอนเน็กเตอร์แบบ XLR กรณีที่เป็นไมโครโฟนที่มี 2 สาย เช่น ไดนามิกไมโครโฟน การต่อไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงขั้วของสาย สามารถต่อสลับกันได้ (ขา 2, 3) ดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 การต่อสายสัญญาณเข้ากับคาร์ดิออยด์ไมโครโฟน โดยใช้ XLR คอนเน็กเตอร์
|
ส่วนการต่อสายบนบาลานซ์ไลน์กับคาปาซิเตอร์ไมโครโฟนจะมีลักษณะคล้ายกันคือ ต่อกับคอนเน็กเตอร์แบบ XLR (ต่อแบบ 3 สาย) จะพิเศษกว่าก็ตรงที่ว่าคาปาซิเตอร์ไมโครโฟนนั้นจะต่อใช้งานร่วมกับแหล่งจ่ายไฟด้วย สายสัญญาณทั้งสองเส้นจะต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟโดยผ่านตัวต้านทานทั้งสองตัว ซึ่งการต่อใช้งานแบบนี้สามารถต่อกับไดนามิกไมโครโฟนที่มีแค่ 2 สายได้อีกด้วย เพราะไดนามิกไมโครโฟนไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยงเหมือนคาซิเตอร์ไมโครโฟน ดังนั้นเมื่อต่อไดนามิกไมโครโฟนเข้าไป (ขา 2, 3) ก็จะไม่มีกระแสมาไหลผ่านคอยล์ของมัน ดังรูปที่ 4
รูปที่ 4 การต่อสายสัญญาณเข้ากับคาปาซิเตอร์ไมโครโฟนและไดนามิกไมโครโฟน
|
การต่อลำโพงในระบบเสียง PA
โดยทั่วไปแล้วการต่อลำโพงในระบบเสียง PA ที่พบเห็นกันมีอยู่ 2 ระบบคือ ระบบเสียงแบบเน้นเฉพาะที่ (sound-rein fore cement system) และระบบเสียงแบบกระจายตามจุด (sound distribution systems) โดยในระบบเสียงแบบเน้นเฉพาะที่ สัญญาณจากแหล่งกำเนิดจะผ่านการขยายจากเครื่องขยายเสียงเพื่อให้มีกำลังมากพอที่จะขับเสียงออกลำโพงสู่ผู้ฟังในห้องขนาดใหญ่ ๆ เพียงห้องเดียว แต่ในระบบเสียงแบบกระจายตามจุดนั้นจะต้องส่องเสียงผ่านลำโพงเป็นจำนวนมากสู่ห้องฟังจำนวนหลาย ๆ ห้องพร้อมกัน
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดของ 2 ระบบนี้ก็คือ ระยะของการเดินสายจากเครื่องขยายเสียงสู่ลำโพง ในระบบเสียงแบบเน้นเฉพาะที่ลำโพงจะถูกวางอยู่ใกล้ ๆ กับเครื่องขยายเสียง ระยะการเดินสายก็ไม่ยาวมาก ซึ่งแตกต่างกับระบบเสียงแบบกระจายตามจุดที่ต้องเดินสายเป็นระยะทางไกล ๆ เพื่อที่จะกระจายเสียงให้ครอบคลุมออกไปสู่ลำโพงทุกตัวในแต่ละพื้นที่
แต่การเดินสายเป็นระยะไกล ๆ จะมีปัญหาในเรื่องของกำลังสูญเสียในสาย อันเนื่องมาจากความต้านทางของสายที่เพิ่มขึ้นตามความยาว การแก้ไขนั้นสามารถทำได้โดยการเพิ่มแรงดันตอนส่งออกให้สูง แล้วลดแรงดันที่ปลายทางให้เหมาะกับการใช้งานเพื่อที่จะลดกระแสในสายให้น้อยลง การสูญเสียในสายก็ลดลงไปด้วย วิธีนี้เรียกว่า ระบบแรงดันคงที่ (constant voltage line) ปกติจะมีให้เลือกใช้หลายระดับ แล้วแต่การใช้งาน ถ้าสายลำโพงต้องเดินเป็นระยะไกลมากก็ต้องใช้เอาต์พุตที่ระดับแรงดันสูง เช่น 70 โวลต์, 100 โวลต์หรือสูงกว่า แต่ถ้าระยะทางไม่ไกลมากนักก็ใช้ที่ระดับ 25 โวลต์ เป็นต้น
ระบบแรงดันคงที่นี้สามารถต่อได้โดยการใช้แมตชิ่งทรานฟอร์เมอร์เข้ามาช่วย โดยการต่อที่ปลายสายก่อนที่จะเข้าสู่ลำโพง ซึ่งในการที่จะนำเอาไปต่อใช้งานตามจุดต่าง ๆ นั้นสามารถที่จะหาขนาดของแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ได้ตามกำลังของการใช้งานแต่ละจุด ลักษณะการต่อใช้งานของลำโพงขนาด 16 โอห์ม 50 วัตต์ เข้ากับแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ตัวนี้ แสดงดังรูปที่ 5
โดยทั่วไปแล้วการต่อลำโพงในระบบเสียง PA ที่พบเห็นกันมีอยู่ 2 ระบบคือ ระบบเสียงแบบเน้นเฉพาะที่ (sound-rein fore cement system) และระบบเสียงแบบกระจายตามจุด (sound distribution systems) โดยในระบบเสียงแบบเน้นเฉพาะที่ สัญญาณจากแหล่งกำเนิดจะผ่านการขยายจากเครื่องขยายเสียงเพื่อให้มีกำลังมากพอที่จะขับเสียงออกลำโพงสู่ผู้ฟังในห้องขนาดใหญ่ ๆ เพียงห้องเดียว แต่ในระบบเสียงแบบกระจายตามจุดนั้นจะต้องส่องเสียงผ่านลำโพงเป็นจำนวนมากสู่ห้องฟังจำนวนหลาย ๆ ห้องพร้อมกัน
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดของ 2 ระบบนี้ก็คือ ระยะของการเดินสายจากเครื่องขยายเสียงสู่ลำโพง ในระบบเสียงแบบเน้นเฉพาะที่ลำโพงจะถูกวางอยู่ใกล้ ๆ กับเครื่องขยายเสียง ระยะการเดินสายก็ไม่ยาวมาก ซึ่งแตกต่างกับระบบเสียงแบบกระจายตามจุดที่ต้องเดินสายเป็นระยะทางไกล ๆ เพื่อที่จะกระจายเสียงให้ครอบคลุมออกไปสู่ลำโพงทุกตัวในแต่ละพื้นที่
แต่การเดินสายเป็นระยะไกล ๆ จะมีปัญหาในเรื่องของกำลังสูญเสียในสาย อันเนื่องมาจากความต้านทางของสายที่เพิ่มขึ้นตามความยาว การแก้ไขนั้นสามารถทำได้โดยการเพิ่มแรงดันตอนส่งออกให้สูง แล้วลดแรงดันที่ปลายทางให้เหมาะกับการใช้งานเพื่อที่จะลดกระแสในสายให้น้อยลง การสูญเสียในสายก็ลดลงไปด้วย วิธีนี้เรียกว่า ระบบแรงดันคงที่ (constant voltage line) ปกติจะมีให้เลือกใช้หลายระดับ แล้วแต่การใช้งาน ถ้าสายลำโพงต้องเดินเป็นระยะไกลมากก็ต้องใช้เอาต์พุตที่ระดับแรงดันสูง เช่น 70 โวลต์, 100 โวลต์หรือสูงกว่า แต่ถ้าระยะทางไม่ไกลมากนักก็ใช้ที่ระดับ 25 โวลต์ เป็นต้น
ระบบแรงดันคงที่นี้สามารถต่อได้โดยการใช้แมตชิ่งทรานฟอร์เมอร์เข้ามาช่วย โดยการต่อที่ปลายสายก่อนที่จะเข้าสู่ลำโพง ซึ่งในการที่จะนำเอาไปต่อใช้งานตามจุดต่าง ๆ นั้นสามารถที่จะหาขนาดของแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ได้ตามกำลังของการใช้งานแต่ละจุด ลักษณะการต่อใช้งานของลำโพงขนาด 16 โอห์ม 50 วัตต์ เข้ากับแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ตัวนี้ แสดงดังรูปที่ 5
รูปที่ 5 การต่อลำโพงเข้ากับแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์
|
การต่อใช้งานของแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์จะต้องคำนึงถึงขีดจำกัดของกำลังวัตต์ที่ตัวมันจะทนได้
เพราะเวลาใช้งานนั้น
ถ้าเราต่อลำโพงพร้อมกันหลาย
ๆ ตัว ดังนั้น
การาต่อลำโพงนั้นจะต้องคำนวณดูว่าต่อรวมเข้าไปหลาย
ๆ
ตัวแล้วผลรวมของกำลังวัตต์ที่ได้นั้นจะต้องไม่ไปทำให้เครื่องขยายเสียงกับแมตชิ่งทานสฟอร์เมอร์ทำงานหนักเกินไป
การจัดวางลำโพง
การวางตำแหน่งของลำโพงเพื่อที่จะกระจายเสียงไปในทุกพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง
ๆ นั้น เช่น ตามห้างสรรพสินค้า
ซึ่งส่วนใหญ่การติดตั้งลำโพงจะติดตั้งอยู่ที่เพดานห้อง
โดยจำนวนของลำโพงจะเพิ่มตามขนาดของพื้นที่
ดังนั้น
ปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการวางตำแหน่งของลำโพงไม่เหมาะสม
จะทำให้การรับฟังผิดธรรมชาติไป
เช่น ตำแหน่งของผู้รับฟังที่อยู่ระหว่างลำโพง
2
ตัวนั้น
ถ้าระยะห่างของผู้ฟังกับลำโพงทั้งสองเท่ากัน
การรับฟังก็คงปกติอยู่แต่เมื่อใดที่ผู้ฟังขยับเข้าใกล้ลำโพงอีกตัว
ทำให้การรับฟังจากลำโพงทั้งสองเริ่มไม่เท่ากัน
(out
of phase) คือ
มีจุดบอดของการรับฟังเสียงเกิดขึ้น
ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้สามารถแก้ไขได้โดยใช้ลำโพงเพียงตัวเดียวสำหรับพื้นที่นั้นและติดตั้งไว้ในที่สูง
ๆ เพื่อการกระจายของเสียงที่ดี
หรือไม่ก็ให้ระยะห่างของตำแหน่งลำโพงแต่ละตัวอยู่ใกล้กันมาอีกก
นั่นก็หมายความว่า
เพิ่มจำนวนของลำโพงมากขึ้น
เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ของห้องนั่นเอง
ปัญหาอีกอย่างที่เกิดขึ้นกับการรับฟังเสียงในห้องกว้าง
ๆ ที่จะต้องเดินสายลำโพงเป็นระยะทางไกลคือ
การหน่วงเวลาของเสียง
เนื่องจากความเร็วของเสียงที่มีความเร็ว
1,130
ฟุตต่อวินาที
ดังนั้นถ้าผู้ฟังอยู่ใกล้กับลำโพงตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไปก็จะเกิดปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น
การแก้ปัญหาส่วนนี้ก็โดยการต่ออุปกรณ์หน่วงสัญญาณ
(signal
delay devices) เข้าไประหว่างสายลลำโพงกับลำโพง
ปัญหานี้ก็จะหมดไป
มาถึงตอนนี้ระบบเสียง
PA
ก็ไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป
คุณก็สามารถที่จะจัดการกับระบบะเสียง
PA
ด้วยตัวคุณเอง
จากพื้นฐานที่กล่าวมาทั้งหมดบางทีจากมือสมัครเล่นก็ก้าวขึ้นสู่มืออาชีพได้เช่นกัน
การต่อลำโพงระยะไกลและการแมตชิ่ง
การต่อลำโพงเข้ากับเครื่องขยายเสียงโดยใช้ลำโพงตัวเดียวนั้นเป็นของง่ายหากใช้ลำโพงหลายๆ
ตัวก็เป็นเรื่องยุ่งยากสักหน่อย
ดังเช่นใช้ในโรงเรียน โรงงาน
โรงภาพยนตร์ และที่สาธารณะ
เป็นต้น ซึ่งต้องคำนึงถึงเรื่องการแมตชิ่ง
กลังวัตต์และระยะห่างอีกด้วย
บางกรณีต้องใช้แมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ช่วยด้วย
เรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นวิธีการต่อลำโพงชนิดต่าง
ๆ
โดยจะพูดเฉพาะเครื่องขยายเสียงเพียงซีกเดียวหากเป็นแบบสเตอริโอก็ต้องเพิ่มสายอีกหนึ่งชุดและต้องคำนึงถึงการ
เปลี่ยนเฟสด้วย
การใช้ลำโพงกับเครื่องขยายแบบอิมพีแดนซ์ต่ำ
เครื่องขยายเสียงแบบโซลิดสเตทส่วนมากเป็นแบบเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ต่ำถ้าเป็นวงจรขยายแบบ
OTL
นั้นจะมีสายเอาต์พุตเพียงสองเส้น
อิมพีแดนซ์ของเครื่องขยายขึ้นอยู่กับตัวลำโพงที่นำมาต่อถ้าใช้ลำโพง
4
โอห์ม
จะได้กำลังเอาต์พุตสูงที่สุด
หากใช้ลำโพง 16
โอห์ม
ก็จะได้กำลังเอาท์พุตทีต่ำที่สุด
การใช้ลำโพงแบบ 4
โอห์ม
หรือ 16
โอห์ม
นั้นเป็นผลเสียมาก
เพราะอิมพีแดนซ์ต่ำย่อมทำให้ทานซิสเตอร์ทำงานหนัก
หรือวงจรคุ้มครองความปลอดภัยจะตัดไฟเสีย
ส่วนอิมพีแดนซ์สูงนั้นก็ทำให้เครื่องมีกำลังน้อยเกินไป
ทางที่ดีที่สุดควรอ่านคู่มือของเครื่องว่าจะใช้อิมพีแดนซ์เท่าใดจึงเหมาะสม
เครื่องขยายเสียงที่ใช้หลอดนั้นมีอิมพีแดนซ์ต่างๆ
ขึ้นอยู่กับตัวเอาต์พุตทรานสฟอร์เมอร์
เช่น 1โอห์ม
2โอห์ม
3โอห์ม
4โอห์ม
8โอห์ม
16โอห์ม
32โอห์ม
100โอห์ม
250โอห์ม
เป็นต้น
ดังนั้นค่าอิมพีแดนซ์ของเอาต์พุตทรานสฟอร์เมอร์ของแต่ละโรงงานจึงต่างกันไป
การต่อลำโพงขึงต้องต่อตามจุดซึ่งระบุค่าตรงกัน
เพราะโหลดที่แท้จริงของเครื่องขยายเสียงก็อยู่ที่ลำโพงนี่แหละ
เอาต์พุตทรานสฟอร์เมอร์นั้นมิใช่โหลด
เพียงเป็นตัวถ่ายทอดสัญญาณและเปลี่ยนแปลงอิมพีแดนซ์เท่านั้น
ถ้าหากต่อลำโพงผิดจุดจะทำให้อิมพีแดนซ์ผิดไป
ซึ่งย่อมสะท้อนผลกลับไปยังหลอดเอาต์พุต
ทำให้กระทบกระเทือนการทำงานของหลอด
บางครั้งถึงกับทำให้เอาต์พุตทรานสฟอร์เมอร์เสียไปเลย
ไม่ว่าเครื่องขยายเสียงที่เป็นแบบทรานซิสเตอร์หรือหลอดก็ตาม
การต่อลำโพงเข้ากับเครื่องนั้น
ประการแรกต้องตรวจดูอิมพีแดนซ์ของลำโพงเสียก่อนว่าเข้ากับตัวเครื่องหรือเปล่า
สามารถทนกำลังได้เท่ากับเครื่องหรือไม่
เพื่อป้องกันมิให้คอยล์ของลำโพงไหม้ขาดได้
ถ้าหากมีการต่อลำโพงแบบหลาย
ๆ ตัวละก็
จะต้องพิจารณาว่าลำโพงที่นำมาต่อใช้ทั้งหมดควรมีกำลังวัตต์ไม่น้อยกว่าเครื่องและต้องแมตช์กับตัวเครื่องด้วย
วิธีการต่อลำโพงให้แมตช์กับตัวเครื่องมีวิธีดังนี้
คือ
- ใช้ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์เท่ากันต่อแบบขนาน การ่อแบบขนานนี้จะทำให้ค่าอิมพพีแดนซ์ลดน้อยลง โดยหาค่าได้จากค่าอิมพีแดนซ์หารด้วยจำนวนตัวลำโพงที่ใช้ การต่อลำโพงวิธีนี้จะทำให้ลำโพงแต่ละตัวได้รับกำลังเท่ากัน เช่นเครื่องขยายเสียงที่มีกำลังเอาต์พุต 20 วัตต์ ลำโพงแต่ละตัวจะแบ่งได้ 5 วัตต์ผลดีของการต่อขนานแบบนี้คือ หากมีลำโพงขาดไปตัวเดียว ถึงอิมพีแดนซ์จะผิดไปก็ตามแต่ลำโพงตัวอื่น ๆ ก็ยังคงทำงานอยู่
- ใช้ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์เท่ากันต่อแบบอันดับ การต่อแบบนี้จะทำให้ค่าอิมพีแดนซ์สูงขึ้น โดยหาค่าได้จากค่าอิมพีแดนซ์คูณด้วยจำนวนตัว การต่ออันดับแบบนี้กำลังวัตต์จะตกที่แต่ละลำโพงเท่า ๆ กันเช่นกัน หากมีลำโพงตัวหนึ่งขาด ลำโพงตัวอื่นๆ ก็พลอยเงียบไปด้วย ดังนั้นการต่อแบบอันดับจึงเหมาะสำหรับใช้กับลำโพงที่มีจำนวนน้อย
- ใช้ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์เท่ากันต่อแบบขนานและแบบอันดับ เนื่องจากเครื่องขยายเสียงมีแท๊ปเอาต์พุตต่างกัน บางครั้งเราไม่สามารถใช้จุดเอาต์พุตดังกล่าวต่อแบบชนานอย่างเดียวหรือต่ออันดับอย่างเอียวในการใช้งานได้ จึงจำต้องใช้วิธีต่อเข้าแบบขนานและอบบอันดับผสมกันไป ค่าอิมพีแดนซ์ของมันเท้ากับค่าความต้านทานของลำโพงที่ต่ออันดับของแต่ละชุดหารด้วยจำนวนชุด วิธีการต่อแบบอันดับผสมแบบขนานนี้นิยมใช้กันทั่วไปหากมีลำโพงเสียไปตัวเดียว มันก็แค่ทำให้ชุดนั้นไม่มีเสียง ส่วนชุดอื่นๆ ยังคงทำงานอย่างเก่า
- ใช้ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ต่างกันต่อแบบขนาน การต่อโดยใช้ลำโพงที่มีค่าอิมพีแดนซ์ต่างกันนั้นมีความยุ่งยากสักหน่อย นอกจากต้องหาค่าอิมพีแดนซ์รวมของมันแล้ว กำลงที่แบ่งไปใช้ก็ต่างกันด้วย ฉะนั้น หากจะใช้ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ต่างกันต่อขนานกัน ตัวลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำต้องทนกำลังสูงกว่าตัวอื่น ๆ และอีกอย่างคือจะให้ลำโพงมีความดังเท่ากันยาก ไม่ได้หมายความว่าการต่อลำโพงด้วยวิธีนี้ใช้ไม่ได้เลย เพราะบางครั้งเราจำเป็นต้องนำเอาอุปกรณ์ที่มีอยู่เอามาใช้โดยการพลิกแพลงเล็กน้อย เช่นใช้ความต้านทานมาต่ออันดับด้วยกัน หรือการต่ออันดับดังวิธีที่ 5
- ใช้ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ต่างกันต่อแบบอันดับ การต่อแบบนี้อิมพีแดนซ์ทั้งหมดจะได้เท้ากับอิมพีแดนซ์ของแต่ละตัวบวกกัน แต่กำลังวัตต์ที่ตกในตัวลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์มากจะได้รับกำลังวัตต์มากกว่า การต่อแบบนี้จะใช้ได้หรือไม่ได้นั้นขึ้นอยู่กับตัวลำโพงว่าจะทนกำลังที่แบ่งมาได้หรือไม่เท่านั้นและอีกอย่างคือความดังของเสียงที่ได้จากลำโพงจะไม่เท่ากันแน่ ๆ ถ้าหากนำลำโพงที่ค่าอิมพีแดนซ์ต่างกันมากมาใช้ย่อมทำให้เกิดการเสียหายได้ง่าย
- ใช้ลำโพงที่อิมพีแดนซ์ต่างกันต่อแบบขนานและแบบอันดับ การต่อแบบวิธีนี้ส่วนใหญ่จะใช้กับลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ต่างกันและทนกำลังต่างกันด้วย ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ต่างกันเวลาต่อแบบอันดับและแบบขนานผสมกันกำลังที่ตัวลำโพงจะต่างกัน คือลำโพงที่อันดับแต่ละชุด ๆ ไหนมีอิมพีแดนซ์ต่ำจะได้รับกำลังมากกว่า ส่วนการต่อแบบขนานเป็นชุดก่อนแล้วจึงต่ออันดับเข้าหากัน อิมพีแดนซ์ที่สูงกว่าจะได้รับกำลังมากกว่า ตามหลักการนี้แล้วเราสามารถใช้ลำโพงต่างชนิดต่อแบบขนานและอันดับผสมกันเพื่อให้ตัวลำโพงเข้ากับเครื่องขยายเสียงได้
การใช้ลำโพงต่อเข้ากับเครื่องขยายเสียงที่เอาต์พุตอิมพีแดนซ์ต่ำไม่ว่าจะเป็นแบบขนานหรือแบบอันดับ
ยิ่งใช้ลำโพงหลาย ๆ
ตัวก็ควรนำลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์แลทนกำลังได้เท่า
ๆ กันมาใช้
และอีกอย่างคือสายลำโพงไม่ควรต่อให้ยาวเกินไปเพราะจะทำให้กำลังสูญเสียภายในสายมาก
พูดกันทั่วๆ ไปแล้ว
เครื่องที่มีเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ต่ำไม่ควรให้สายยาวกว่า
50
เมตร
การต่อแบบขนานและแบบอันดับนั้นมีส่วนดีและส่วนเสียคือ
ถ้าต่อขนานกันหลายๆ ตัว
ค่าอิมพีแดนซ์จะต่ำจึงใช้สายยาวมากไม่ได้
แต่ไม่เสียหายถ้าลำโพงตัวหนึ่งเสียไป
ซึ่งตรงกันข้ามกับการต่อแบบอันดับถ้ามีลำโพงตัวหนึ่งตัวใดขาด
ลำโพงตัวอื่นก็ไม่ดังด้วย
มีผลดีตรงที่ว่าค่าอิมพีแดนซ์สูงขึ้นใช้สายที่ยาวกว่าได้
นอกจากนี้ถ้าเราใช้ลำโพงหลายตัวอยู่ในห้องเดียวกัน
ควรระวังเกี่ยวกับเฟส ฉะนั้น
สายที่ใช้ต่อลำโพงควรจะมีสองสีจะเหมาะสมกว่า
การใช้ลำโพงกับเครื่องขยายที่มีค่าอิมพีแดนซ์สูง
เนื่องจากเอาต์พุตที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำระยะห่างของตัวลำโพงจึงถูกจำกัด
ถ้าหากต้องการให้ตัวโพงห่างจากตัวเครื่องมากหน่อย
จำต้องใช้ภาคเอาต์พุตที่มีอิมพีแดนซ์มากสักนิดส่วนใหญ่จะใช้ในระหว่าง
100-600
โอห์ม
แท็ปเอาต์พุตของเครื่องขยายเสียงมักจะอยู่ในค่า
250
โอห์ม
และ 500
โอห์ม
การต่อลำโพงจึงใช้แมตชิ่งทรานฟอร์เมอร์ช่วยให้ทางเครื่องกับตัวลำโพงเข้ากันได้
วิธีการต่าง ๆ จะกล่าวกันต่อไปนี้
- ลำโพงที่มีกำลังวัตต์เท่ากันต่อแบบขนาน การต่อแบบนี้ต้องอาศัยแมตชิ่งทรานฟอร์เมอร์ ส่วนตัวลำโพงมีค่าเท่าใดนั้นไม่สำคัญ เพราะอย่างไรเสียขดลวดชุดที่สองของตัวแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์จะต้องเข้ากับลำโพงได้อยู่แล้ว จุดสำคัญคือการออกแบบแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ให้ขดแรกแมตช์กับตัวเครื่องขยายเสียงโดยต้องรู้จำนวนลำโพงที่จะนำมาใช้เสียก่อน
- ลำโพงที่มีวัตต์เท่ากันต่อแบบอันดับ การต่อแบบนี้ค่าของขดลวดขดแรกของแมตชิ่ง
- ทรานสฟอร์เมอร์เท่ากับค่าเอาต์พุตอิมพีแดนซ์หารด้วยจำนวนลำโพง วิธีต่ออันดับนี้ไม่ค่อยมีผู้นิยมใช้กัน เพราะขดลวดของแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ขาดไปเพียงตัวเดียว พลอดทำให้ตัวอื่นไม่ทำงาน
- ลำโพงที่มีกำลังเท่ากันต่อแบบขนานและอันดับ การต่อแบบนี้มักใช้กันเมื่อขาดแคลนอุปกรณ์บางอย่าง
- ลำโพงที่มีกำลังไม่เท่ากันต่อแบบขนาน การติดตั้งลำโพงตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงเรียน โรงงานต่างๆ สภาพของสถานที่และความดังของเสียงที่ต้องการจึงต่างกันไป ลำโพงที่ต้องใช้ก็ต้องมีกำลังต่างๆ ตามความเหมาะสม สำหรับเครื่องขยายเสียงที่มีเอาต์พุตอิมพีแดนซ์สูงจึงเหมาะกับงานชนิดนี้ โดยสามารถเปลี่ยนแปลงแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ให้ได้กำลังตามที่เราต้องการได้
- ลำโพงที่มีกำลังต่างกันต่อแบบอันดับ
- ลำโพงที่มีกำลังต่างกันต่อกันแบบขนานและอันดับ การนำลำโพงที่มีกำลังต่าง ๆ มาต่อเข้าด้วยกันกับวงจรที่มีเอาต์พุตอิมพีแดนซ์สูง อิมพีแดนซ์ของแมตชิ่งทรานสฟรอ์เมอร์ก็มีค่าต่างกันไป
วิธีใช้ตัวต้านทานแมตช์กับวงจร
บางครั้งเราอาจจะประสบปัญหาเช่น
แมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์มีไม่ครบและเวลาเดียวกันเราจำเป็นที่จะต้องใช้งานเพื่อให้วงจรแมตได้ดีจำต้องใช้งานเพื่อให้วงจรแมตได้ดีจำต้องใช้ตัวต้านทานเข้าช่วยแต่การใช้ตัวต้านทานเป็นการสิ้นเปลืองกำลังไปโดยใช่เหตุ
ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ไม่ควรนำมาใช้
การใช้ตัวต้านทานเป็นโหลดในวงจรส่วนมากใช้เป็นโหลดเทียม
เช่นมีลำโพงอยู่หลายตัว
แต่เวลาใช้งานจริง ๆ
จะใช้เฉพาะบางตัวเท่านั้น
เพื่อมิให้การตัดลำโพงบางตัวออกโดยทำให้วงจรไม่แมตช์กัน
จึงต้องใช้ตัวต้านทานดังรูปที่
15
รูปที่ 15 การใช้ตัวต้านทานเป็นโหลดเทียมในวงจร |
ลำโพง A, B, C ทั้ง 3 ตัวจะให้เปิดหรือปิดเสียงได้ตามใจชอบ ส่วนตัวสวิตช์นั้นจะติดตั้งไว้กับตู้ลำโพงหรือตัวเครื่องแล้วแต่ความเหมาะสม
เรื่องของการแมตชิ่งนั้น บางครั้งเราไม่อาจจะทำให้มันแมตช์จริง ๆ ได้แต่การผิดไป 10 % ไม่ทำให้เสียหายเท่าไรนัก ส่วนตัวลำโพงควรใช้ตัวที่ทนกำลังมากกว่าในวงจร จะเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น
ค่าของเอาต์พุตอิมพีแดนซ์สูง ๆ ที่ใช้กันมากมีค่าอยู่ระหว่าง 100 โอห์ม ถึง 600 โอห์ม ถ้าหากจะวางลำโพงไว้ห่างมากก็ควรใช้อิมพีแดนซ์ที่สูงกว่านี้ เพื่อว่าแรดงดันที่ตกคร่อมจะได้สูงขึ้นกระแสไหลต่ำลง การสูญเสียในสายก็น้อยลงด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้สายที่ใช้ในการส่งเสียงควรจะมีโอห์มต่ำ เช่นเครื่อง 100 W สายที่ใช้ไม่ควรมีความต้านทานต่ำสูงกว่า 250โอห์ม
การติดตั้งลำโพงระยะไกล
ความจำเป็นในการกระจายเสียงไปในพื้นที่กว้าง ๆ และไกลจากศูนย์กลางมักมีอยู่เสมอ เช่น ในโรงงาน, โรงเรียน, โรงแรม, อาคาร วิธีการที่จะกระจายเสียงนี้มีหลายวิธีแต่ละวิธีให้ข้อดี ต่างกันไป แล้วแต่สถานที่ สภาวะแวดล้อม และความต้องการของผู้ใช้
ในการที่จะออกแบบให้ได้ระบบที่เหมาะสมและประหยัดที่สุดต้องอาศัยความสามารถรอบรู้ของผู้ออกแบบว่าตำแหน่งใดควรทำอย่างไร ฉะนั้นในระบบอาจมีความสลับซับซ้อนมากก็ได้ วิธีที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด สะดวกแก่การออกแบบ และสามารถใช้ได้กับทุก ๆ กรณี แม้ว่าราคาและคุณภาพเสียงอาจจะสู้บางวิธีในบางภาวะไม่ได้ก็ตาม แต่โดยเฉลี่ยแล้วจัดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง ซึ่งได้แก่
1.การสูญเสียในสาย
ถ้าเราต้องการส่งสัญญาณไฟฟ้าของเสียงจากเครื่องขยายเสียงไปยังตัวลำโพงเราต้องใช้สายต่อ การหาขนาดสายนี้ขึ้นอยู่กับการะแสที่ส่งผ่านตัวมัน
2.ทำไมจึงต้องใช้แมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์
การเดินสายระยะไกลควรทำโดยการเพิ่มแรงดันตอนส่งออกให้สูงแล้วลดแรงดันที่ปลายทางให้เหมาะกับการใช้งาน เพื่อลดกระแสในสาย (ที่ยาวมาก) ให้น้อยลง เพื่อลดขนาดของสายและการสูญเสียในสาย ทำให้ผลรวมค่าใช้จ่ายถูกลง วิธีนี้ใช้ระบบจ่ายไฟฟ้ากำลังของการไฟฟ้า ดังจะเห็นได้ว่า แรงดันที่ส่งในบางช่วงสูงถึง 230 kV วิธีการดังกล่าวเราอาจจำลองมาใช้กับระบบเสียงได้ โดยให้เรามองดูระบบจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับเหมือนไฟบ้านมีการใช้หม้อแปลง ระบบการจ่ายกำลังแบบนี้ เรียกว่า ระบบแรงดันคงที่
3. ระบบการส่งกำลังเสียงด้วยแรงดันคงที่
ระบบไฟฟ้าที่ใช้อยู่ตามบ้านเรือนเป็นระบบที่ให้แรงดันคงที่ 220 V ไม่ว่าจะใช้โหลดใดก็ตามแรงดันจะไม่เปลี่ยนไปมากนัก ระบบเสียงก็เช่นกันเราสามารถทำเป็นระบบแรงดันคงที่ได้ เท่าที่ใช้กันอยู่มีหลายขนาด เช่น 25 โวลต์ สำหรับระยะใกล้ 75 โวลต์ สำหรับระยะไกล และอาจจะสูงกว่านั้นสำหรับระยะไกลมาก ๆ และต้องการกำลังสูงๆ ส่วนใหญ่จะเลือกใช้แรงดันขนาด 70 โวลต์ แรงดันของระบบเสียงจะวัดได้โดยการป้อนสัญญาณคลื่นรูปซายน์ขนาด 1 kHz เข้าในเครื่องขยายเสียงแล้วเร่งสัญญาณคลื่นรูปซายน์จนเริ่มเพี้ยน แรงดันที่วัดได้นี้คือแรงดันของระบบเสียงเราอาจจะแปลงให้สูงขึ้นหรือลดลง โดยการใช้หม้อแปลงของเสียงที่เรียกว่าแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์
เครื่องขยายเสียงที่ให้แรงดันคงที่ส่วนใหญ่เป็นพวกทรานซิสเตอร์ เครื่องขยายพวกนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ โหลดไม่จำเป็นต้องคงที่ อาจเพิ่มหรอลดจำนวนลำโพงได้ตามใจชอบ ในบางครั้งแม้ว่าจะไม่มีลำโพงต่อเลยก็ไม่เสีย
แรงดันไฟขณะใส่โหลดสูงสุดกับโหลดน้อยสุดไม่ควรผิดกันมาก เช่น ตอนโหลดน้อยสุด แรงดันในระบบอาจสูงถึง 100 โวลต์ ตอนโหลดสูงสุดแรงดันลดลงเหลือเพียง 60 โวลต์ ยังนับว่าพอใช้ได้ แต่ถ้าผิดมากไปกว่านี้ไม่ควรใช้ ถ้าแรงดันแตกต่างกันน้อยเท่าใดก็ดีเท่านั้น
4. การคำนวณหาแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์
ถ้าเราเลือกใช้ระบบ 70 โวลต์ เราก็เดินสาย 70 โวลต์ ไปทุกแห่งที่ต้องการใช่สัญญาณเสียง จากนั้นถ้าเราต้องการกำลังที่แต่ละจุดเท่าใดเราก็เพียงแต่เลือกใช้ขนาดของแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์เท่านั้น
5. การหาขนาดของเครื่องขยายเสียง
กำลังของเครื่องขยายเสียงควรเป็น 120% ของกำลังมากที่สุดที่จ่ายให้ลำโพงทั้งหมด
6.การหาขนาดของแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ตัวที่ต่อออกจากเครื่องขยายเสียง
เครื่องขยายเสียงบางรุ่นจะมีเอาต์พุต 25 โวลต์ หรือ 70 โวลต์ ให้ต่อไปใช้ได้เลยบางชนิดอาจบอกเป็นโอห์ม เช่น 500 โอห์ม 100 วัตต์ เราสามารถเปลี่ยนเป็นโวลต์ได้โดยทันที
7. อันตรายจากไฟของเครื่องขยายเสียง
บางคนอาจเข้าใจว่าไฟที่ออกที่เครื่องขยายเสียงไปลำโพงคงไม่มาก เพราะเคยซ่อมวิทยุเล็ก ๆ แล้วไม่เป็นอันตราย แต่ในกรณีของเครื่องกำลังมากๆ และโดยเฉพาะถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแรงดันให้สูงขึ้นอีกขั้นอันตรายจากไฟดูดตายมีโอกาสเกิดขึ้นได้เหมือนกับไฟตามบ้าน ฉะนั้นก่อนจะจัดการกับมันควรแน่ใจว่าไม่เป็นอันตราย ไฟฟ้าลับที่ไม่เป็นอันตรายควรมีแรงดันต่ำกว่า 25 โวลต์
เรื่องของการแมตชิ่งนั้น บางครั้งเราไม่อาจจะทำให้มันแมตช์จริง ๆ ได้แต่การผิดไป 10 % ไม่ทำให้เสียหายเท่าไรนัก ส่วนตัวลำโพงควรใช้ตัวที่ทนกำลังมากกว่าในวงจร จะเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น
ค่าของเอาต์พุตอิมพีแดนซ์สูง ๆ ที่ใช้กันมากมีค่าอยู่ระหว่าง 100 โอห์ม ถึง 600 โอห์ม ถ้าหากจะวางลำโพงไว้ห่างมากก็ควรใช้อิมพีแดนซ์ที่สูงกว่านี้ เพื่อว่าแรดงดันที่ตกคร่อมจะได้สูงขึ้นกระแสไหลต่ำลง การสูญเสียในสายก็น้อยลงด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้สายที่ใช้ในการส่งเสียงควรจะมีโอห์มต่ำ เช่นเครื่อง 100 W สายที่ใช้ไม่ควรมีความต้านทานต่ำสูงกว่า 250โอห์ม
การติดตั้งลำโพงระยะไกล
ความจำเป็นในการกระจายเสียงไปในพื้นที่กว้าง ๆ และไกลจากศูนย์กลางมักมีอยู่เสมอ เช่น ในโรงงาน, โรงเรียน, โรงแรม, อาคาร วิธีการที่จะกระจายเสียงนี้มีหลายวิธีแต่ละวิธีให้ข้อดี ต่างกันไป แล้วแต่สถานที่ สภาวะแวดล้อม และความต้องการของผู้ใช้
ในการที่จะออกแบบให้ได้ระบบที่เหมาะสมและประหยัดที่สุดต้องอาศัยความสามารถรอบรู้ของผู้ออกแบบว่าตำแหน่งใดควรทำอย่างไร ฉะนั้นในระบบอาจมีความสลับซับซ้อนมากก็ได้ วิธีที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด สะดวกแก่การออกแบบ และสามารถใช้ได้กับทุก ๆ กรณี แม้ว่าราคาและคุณภาพเสียงอาจจะสู้บางวิธีในบางภาวะไม่ได้ก็ตาม แต่โดยเฉลี่ยแล้วจัดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง ซึ่งได้แก่
1.การสูญเสียในสาย
ถ้าเราต้องการส่งสัญญาณไฟฟ้าของเสียงจากเครื่องขยายเสียงไปยังตัวลำโพงเราต้องใช้สายต่อ การหาขนาดสายนี้ขึ้นอยู่กับการะแสที่ส่งผ่านตัวมัน
2.ทำไมจึงต้องใช้แมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์
การเดินสายระยะไกลควรทำโดยการเพิ่มแรงดันตอนส่งออกให้สูงแล้วลดแรงดันที่ปลายทางให้เหมาะกับการใช้งาน เพื่อลดกระแสในสาย (ที่ยาวมาก) ให้น้อยลง เพื่อลดขนาดของสายและการสูญเสียในสาย ทำให้ผลรวมค่าใช้จ่ายถูกลง วิธีนี้ใช้ระบบจ่ายไฟฟ้ากำลังของการไฟฟ้า ดังจะเห็นได้ว่า แรงดันที่ส่งในบางช่วงสูงถึง 230 kV วิธีการดังกล่าวเราอาจจำลองมาใช้กับระบบเสียงได้ โดยให้เรามองดูระบบจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับเหมือนไฟบ้านมีการใช้หม้อแปลง ระบบการจ่ายกำลังแบบนี้ เรียกว่า ระบบแรงดันคงที่
3. ระบบการส่งกำลังเสียงด้วยแรงดันคงที่
ระบบไฟฟ้าที่ใช้อยู่ตามบ้านเรือนเป็นระบบที่ให้แรงดันคงที่ 220 V ไม่ว่าจะใช้โหลดใดก็ตามแรงดันจะไม่เปลี่ยนไปมากนัก ระบบเสียงก็เช่นกันเราสามารถทำเป็นระบบแรงดันคงที่ได้ เท่าที่ใช้กันอยู่มีหลายขนาด เช่น 25 โวลต์ สำหรับระยะใกล้ 75 โวลต์ สำหรับระยะไกล และอาจจะสูงกว่านั้นสำหรับระยะไกลมาก ๆ และต้องการกำลังสูงๆ ส่วนใหญ่จะเลือกใช้แรงดันขนาด 70 โวลต์ แรงดันของระบบเสียงจะวัดได้โดยการป้อนสัญญาณคลื่นรูปซายน์ขนาด 1 kHz เข้าในเครื่องขยายเสียงแล้วเร่งสัญญาณคลื่นรูปซายน์จนเริ่มเพี้ยน แรงดันที่วัดได้นี้คือแรงดันของระบบเสียงเราอาจจะแปลงให้สูงขึ้นหรือลดลง โดยการใช้หม้อแปลงของเสียงที่เรียกว่าแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์
เครื่องขยายเสียงที่ให้แรงดันคงที่ส่วนใหญ่เป็นพวกทรานซิสเตอร์ เครื่องขยายพวกนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ โหลดไม่จำเป็นต้องคงที่ อาจเพิ่มหรอลดจำนวนลำโพงได้ตามใจชอบ ในบางครั้งแม้ว่าจะไม่มีลำโพงต่อเลยก็ไม่เสีย
แรงดันไฟขณะใส่โหลดสูงสุดกับโหลดน้อยสุดไม่ควรผิดกันมาก เช่น ตอนโหลดน้อยสุด แรงดันในระบบอาจสูงถึง 100 โวลต์ ตอนโหลดสูงสุดแรงดันลดลงเหลือเพียง 60 โวลต์ ยังนับว่าพอใช้ได้ แต่ถ้าผิดมากไปกว่านี้ไม่ควรใช้ ถ้าแรงดันแตกต่างกันน้อยเท่าใดก็ดีเท่านั้น
4. การคำนวณหาแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์
ถ้าเราเลือกใช้ระบบ 70 โวลต์ เราก็เดินสาย 70 โวลต์ ไปทุกแห่งที่ต้องการใช่สัญญาณเสียง จากนั้นถ้าเราต้องการกำลังที่แต่ละจุดเท่าใดเราก็เพียงแต่เลือกใช้ขนาดของแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์เท่านั้น
5. การหาขนาดของเครื่องขยายเสียง
กำลังของเครื่องขยายเสียงควรเป็น 120% ของกำลังมากที่สุดที่จ่ายให้ลำโพงทั้งหมด
6.การหาขนาดของแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ตัวที่ต่อออกจากเครื่องขยายเสียง
เครื่องขยายเสียงบางรุ่นจะมีเอาต์พุต 25 โวลต์ หรือ 70 โวลต์ ให้ต่อไปใช้ได้เลยบางชนิดอาจบอกเป็นโอห์ม เช่น 500 โอห์ม 100 วัตต์ เราสามารถเปลี่ยนเป็นโวลต์ได้โดยทันที
7. อันตรายจากไฟของเครื่องขยายเสียง
บางคนอาจเข้าใจว่าไฟที่ออกที่เครื่องขยายเสียงไปลำโพงคงไม่มาก เพราะเคยซ่อมวิทยุเล็ก ๆ แล้วไม่เป็นอันตราย แต่ในกรณีของเครื่องกำลังมากๆ และโดยเฉพาะถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแรงดันให้สูงขึ้นอีกขั้นอันตรายจากไฟดูดตายมีโอกาสเกิดขึ้นได้เหมือนกับไฟตามบ้าน ฉะนั้นก่อนจะจัดการกับมันควรแน่ใจว่าไม่เป็นอันตราย ไฟฟ้าลับที่ไม่เป็นอันตรายควรมีแรงดันต่ำกว่า 25 โวลต์
ไลท์ แอนด์ ซาวด์ บิสิเนส ผู้แทนจำหน่าย พร้อมทั้งรับออกแบบและติดตั้งระบบภาพ แสง และเสียง สำหรับห้องประชุม สัมนา ระบบเสียงแบคกราวมิวสิค (BMG Sound System),
ตอบลบระบบเสียงประชาสัมพันธ์ (Paging Sound System),ระบบเสียงสำหรับ งานกลางแจ้ง (Live Sound) เช่น งานอีเว้น, ระบบเสียงสำหรับ การเรียนการสอน ในโรงเรียน,มหาวิทยาลัย ระบบเสียงตามห้างสรรพสินค้า,
โรงแรม, สถานที่ราชการ, บริษัทห้างร้านเอกชนต่างๆ (Commercial Sound/Life Safety)
ระบบแสง เสียงสำหรับสถานที่บันเทิง (Club Light And Sound system), ระบบเสียงห้องคาราโอเกะ (Karaoke System), ระบบแสง เสียงสำหรับงานแสดงดนตรี
(Concert Light And Sound System), ระบบแสง เสียงสำหรับงานกีฬา (Sports Venues & Staduim Systems) โดยอุปกรณ์ระบบภาพ แสง เสียง ครบวงจร
http://www.soundprogroup.com/
ขอบคุณมากครับผม ขออนุญาตเผยแพร่ต่อครับ
ตอบลบ