ระบบเสียงกลางแจ้ง
ระบบเสียงสำหรับการแสดงและเทคนิคการลดเสียงหอน
เมื่อพูดถึงระบบในโรงละคร ห้องประชุม ตลอดจนระบบเสียงที่ใช้ในการแสดงดนตรีหลายคนอาจจะคุ้นเคยและทราบดีว่ามันเป็นระบบที่ใช้เครื่องขยายตลอดจนอุปกรณ์ทางเสียงที่มีคุณภาพและราคาอยู่ในขั้นมืออาชีพ (ดีและแพง) แต่ยังมีอีกเป็นจำนวนมากที่คิดว่าจะใช้เครื่องขยายเสียงที่เปิดฟังตามบ้านกับระบบเสียงดังกล่าวนี้ได้ (ลองใช้ดูหลายราย) เครื่องขยายเสียงที่ใช้ฟังตามบ้าน ตามห้องนั้นความคงทนตลอดจนกำลังขับ (output power) ไม่เหมาะสมกับระบบเสียงใหญ่ ๆ ที่มีบริเวณกว้าง ๆ นี่เป็นเพียงความแตกต่างทางด้านอุปกรณ์เท่านั้น มันยังมีข้อแตกต่างอีกมากมายระหว่างระบบเสียงภายในบ้าน (domertic system) กับระบบเสียงสำหรับการแสดง (sound reinforcement system)
ระบบเสียงสำหรับการแสดงที่เราจะกล่าวถึงนี้แยกเป็นส่วนย่อยอีกระบบหนึ่งคือ ระบบกระจายเสียงในที่สาธารณะ (Public Address) ซึ่งเรามักจะคุ้นเคยกับชื่อย่อของมันที่ว่า ระบบพีเอ
(P.A. system) ระบบพีเอเป็นระบบเสียงที่เน้นหนักด้านการกระจายเสียงพูด เช่น ในการอภิปารยปาฐกถา การหาเสียง เป็นต้น ส่วนระบบเสียงสำหรับการแสดจะมีจุดมุ่งหมายในการกระจายเสียงทั้งเสียงพูดและเสียงพูด เสียงร้องเพลงและเสียงดนตรีควบคู่ไปด้วย ดังนั้นระบบเสียงสำหรับการแสดงจะมีความยุ่งยากและละเอียดอ่อนมากกว่าระบบพีเอ อย่างไรก็ตาม เราสามารถใช้หลักการเดียวกันกับทั้งสองระบบได้ ระบบเสียงทั้งสองนี้มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ผู้ชมคนดูจะอยู่ในบริเวณเดียวกับผู้แสดง สภาพเช่นนี้เราถือว่าผู้ชมและผู้แสดงอยู่ในสภาพธรรมชาติของเสียงแบบเดียวกัน เช่น ถ้าอยู่ในห้องประชุมทั้งคนดูและคนแสดงจะอยู่ในสภาพเสียงก้องเสียงสะท้องแบบเดียวกัน ถ้าอยู่ในสนามหญ้าก็จะพบปัญหาเดียวกัน ถ้าอยู่ในสนามหญ้าก็จะพบปัญหาเสียงรบกวนจากลมและอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน จะเห็นว่ามันแตกต่างจากการเปิดเครื่องรับ (receiver) ฟังรายการจากวิทยุหรือฟังเพลงจากเครื่องเล่นเทป เพราะว่าสัญญาณต่าง ๆ เหล่านี้มาจากที่อื่น หรือเป็นสัญญาณที่ถูกบันทึกไว้ โดยในขณะบันทึกนั้นสภาพธรรมชาติของเสียงในห้องบันทึกกับห้องที่เรานั่งฟังนั้นแตกต่างกัน
|
รูปที่ 1 ระบบพีเอแบบง่าย ๆ และเป็นพื้นฐานที่สุด
|
จากรูปที่ 1 เป็นระบบพีเอที่ง่ายและพื้นฐานที่สุด ถึงแม้ว่าจะใช้ไมโครโฟนหลายตัวแต่ใช้เฉพาะเสียงพูดเรายังถือว่าเป็นระบบพีเอเช่นกัน ส่วนในรูปที่ 2 เป็นระบบเสียงสำหรับการแสดง จะเห็นว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ เริ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไมโครโฟนซึ่งต้องเลือกใช้กับเครื่องดนตรีเฉพาะแบบ เครื่องดนตรีต่าง ๆ เหล่านี้มีทั้งแบบที่ใช้ไฟฟ้าและไม่ใช้ไฟฟ้า สัญญาณจากเครื่องดนตรีเหล่านี้จะนำเข้าสู่วงจรมิกเซอร์ อีควอไลเซอร์และอื่นๆ แล้วนำเข้าสู่เครื่องขยายเสียงเพื่อนำออกกระจายเสียงยงคนฟัง เราจะไม่ใช้เครื่องขยายของเครื่องดนตรีชิ้นนั้น (ถ้าเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ไฟฟ้า) กระจายเสียงไปยังคนดูโดยตรงแต่มันยังคงทำหน้าที่ขยายเสียงจากเครื่องดนตรีเพื่อให้ผู้แสดงเองได้ยินเท่านั้น
|
รูปที่ 2 ระบบเสียงสำหรับการแสดง
|
นอกจากนี้จากรูปที่ 2 เราจะพบว่ามีเครื่องขยายอีกชุดที่ใช้เป็นตัวขับลำโพงมอนิเตอร์ เพื่อที่จะให้ผู้แสดงเองได้ยินระดับความดังของเสียงดนตรีหรือเสียงร้องที่ตัวเองกำลังแสดงอยู่ว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับเครื่องดนตรีชิ้นอื่น ๆ หรือเปล่า ประโยชน์ของการใช้มอนิเตอร์นี้จะทำให้นักดนตรีสามารถแสดงได้อย่างมั่นใจไม่พวงว่าขณะนั้น ๆ เสียงดนตรีที่ไปยังคนดูมีคุณภาพเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าผิดพลาดก็จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที ในสมัยแรก ๆ นั้นการแสดงดนตรีมักจะไม่มีระบบมอนิเตอร์ ทำให้เสียงเพลงที่ได้ห้วน ๆ หรือแย่งกันตะเบ็งเสียง ประโยชน์อีกข้อของการใช้ระบบมอนิเตอร์ก็คือ จะช่วยให้การบันทึกเสียงของการแสดงเป็นไปได้ง่ายเข้า โดยต่อพ่วงจากมอนิเตอร์เลย
จุดหมายหรือเป้าหมายของระบบเสียงสำหรับการแสดง (รวมระบบพีเอด้วย) นั้นถ้าจะพูดก็พูดได้ง่ายมาก แต่จะทำให้ได้นั้นจะยากเป็นหลายเท่าทวีคูณ เป้าหมายใหญ่ ๆ ก็คือการกระจายเสียงร้องเสียงดนตรีไปยังคนดูด้วยระดับความดัง ความสมจริงที่เหมาะสม ไม่ดังหรือค่อยเกินไปในทุก ๆ บริเวณและทุกเวลาที่เราต้องการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวเราต้องเผชิญกับปัญหาด้านต่างๆ มากมาย ดังจะได้กล่าวในตอนต่อไป ก่อนอื่นเรามาพิจารณาถึงส่วนประกอบสำคัญของระบบเสียงที่ว่านี้ ส่วนประกอบที่สำคัญแยกออกเป็น 3 ส่วนคือ ทางด้านผู้แสดง (performers) อุปกรณ์เครื่องเสียง (equipment) สภาพธรรมชาติของเสียงในบริเวณนั้น (environment and acoustics) ตอนนี้บางท่านก็คงจะเข้าใจถึงระบบเสียงที่แท้จริงแล้วว่ามันไม่ใข่มีเฉพาะอุปกรณ์เครื่องเสียงเท่านั้นที่เป็นหัวใจของระบบเสียง แต่ยังมีสิ่งที่ควบคู่มาอีก 2 อย่าง ดังนั้นการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ดีเยี่ยมอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้ระบบเสียงดีเท่าที่ต้องการได้ ปัญหาต่าง ๆ ที่มักจะพบบ่อยที่สุดในระบบเสียง พร้อมด้วยการแก้ไขปัญหาเหล่านี้
คุณภาพของเสียง
ปัญหาข้อนี้ขึ้นกับคุณภาพของอุปกณ์เครื่องเสียงที่ใช้ว่าจะให้ความขัดเจนมากน้อยเพียงใด ความเพี้ยนของอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ในระดับที่พอเพียงหรือเปล่า ถ้าจะพูดกันง่าย ๆ คุณภาพของเสียงขึ้นกับความเป็น Hi-Fi ของอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้ นอกจากนี้ผลตอบเชิงความถี่ยังเป็นตัวกำหนดความชัดเจนด้วย ดังนั้นการเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีความเพี้ยนต่ำและผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณภาพของเสียงดีขึ้นได้
โดยปกติแล้วผลตอบเชิงความถี่ของอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้ไม่จำเป็นต้องเรียบครอบคลุมช่วงความถี่ที่ประสาทหูของคนรับรู้ได้ เพราะเสียงคนไม่เหมือนเสียงดนตรี สำหรับเสียงพูดผลตอบเชิงความถี่ควรจะราบเรียบในช่วง 150 Hz ถึง 7 kHz ก็พอ ดังนั้น เวลาเราเลือกใช้ไมโครโฟนเพื่อรับเสียงคนอย่างเดียวก็พยายามเลือกชนิดที่ให้ผลตอบเชิงความถี่ในช่วงดังกล่าวก็พอแล้ว สำหรับระบบเสียงที่ต้องการทั้งเสียงนักร้องและเสียงดนตรีผลตอบเชิงความถี่อยู่ในช่วง 50 Hz ถึง 12 kHz การเลือกไมโครโฟนหรือเครื่องขยายและอุปกรณ์ปรุงแต่งเสียงอื่น ๆ ก็ควรจะเลือกให้อยู่ในช่วงนี้
นอกจากนี้แล้วยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้คุณภาพของเสียงไม่ดีพอ สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ก็คือ สายนำสัญญาณต่าง ๆ ถ้าใช้กับไมโครโฟนอิมพีแดนซ์สูงสายไมโครโฟนควรจะยาวไม่เกิน 20 ฟุต และถ้าจำเป็นต้องใช้สายไมโครโฟนยาวกว่านี้ก็ควรเปลี่ยนมาใช้ไมโครโฟนแบบอิมพีแดนซ์ต่ำ ลำโพงที่ใช้ควรมีผลตอบเชิงความถี่ทั้งในแนวตรง (on axis) จากลำโพง และในแนวที่เยื้องออกไปจากลำโพง นั่นคือมีผลตอบเชิงมุม (polar response) ที่ดี แบบของไมโครโฟนควรจะเลือกแบบที่มี่ผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ เช่น เมื่อใช้กับเสียงคน เสียงดนตรี งานกลางแจ้ง รายละเอียด สำหรับแบบของไมโครโฟนที่ใช้หาได้จากบริษัทผู้ผลิต ที่กล่าวมาเป็นการเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องเสียงเพื่อให้ได้ผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสม (เกี่ยวกับทางด้านวงจร) แต่ยังมีองค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้ผลตอบเชิงความถี่ของเสียงไม่ดีพอ ถึงแม้จะใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมแล้วก็ตาม สภาพธรรมชาติของเสียงในบริเวณนั้นหรือในห้งอไม่เหมาะสมทำให้เสียงความถี่สูงหรือต่ำมีระดับความดังที่ผิดปกติไป หรือค่อยกว่าปกติไป การแก้ไขโดยมากจะใช้วงบจรเสริมแต่งเสียงเพิ่มเติม ซึ่งได้แก่ อีควอไลเซอร์ และ ฟิลเตอร์
ความเพี้ยนเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้คุณภาพของเสียงที่ได้ไม่ดีพอ โดยปกติความเพี้ยนในระบบเสียงมักจะเกิดจากการขลิบยอดสัญญาณเอาต์พุต (output level) เนื่องจากความแรงของสัญญาณเข้ามากเกินไป เช่นไมโครโฟนที่ใช้หลักการของคาปาซิเตอร์ มักจะกำเนิดความเพี้ยนในลักษณะนี้เสมอ เมื่อมีเสียงที่ระดับความดังมาก ๆ เข้าไปความไวตัวของแผ่นไดอะแฟรมจะทำให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในตัวไมโครโฟนขลิบยอดสัญญาณที่ออกมา (overdrive) การแก้ไขมักจะต้องเปลี่ยนเป็นไปใช้ไมโครโฟนแบบไดนามิกที่คุณภาพดีเยี่ยม ปรีแอมป์สำหรับไมโครโฟนและมิกเซอร์ซึ่งไม่สามารถปรับอัตรขยายสำหรับสัญญาณเข้าก็ทำให้เกิดการขลิบได้ถ้าสัญญาณที่เข้ามาแรงเกินไป เราอาจจะใช้ชุดลดสัญญาณ (attenuation pad) ตั้งแต่ 5 dB ขึ้นไปเข้ามาต่อพ่วงช่วยลดความแรงของสัญญาณ สำหรับอุปกรณ์ที่สามารถปรับอัตรขยายได้เราก็พยายามปรับไว้ในระดับที่เหมาะสมที่สุด โดยมากแล้วจะใช้ VU มิเตอร์ช่วย
เครื่องขยาย (main amplifier) ของระบบก็มีส่วนทำให้เกิดอาการเพี้ยนเนื่องจากการขลิบยอดสัญญาณได้เช่นกัน และโดยมากมักจะเกิดขึ้นกับเครื่องขยายที่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับระบบเสียงโดยเฉพาะ ดังนั้นเมื่อเราเร่งกำลังขยายเพิ่มขึ้นจนสุดกำลังซึ่งในช่วงนี้ความเพี้ยนของเสียงจากเครื่องขยายพวกนี้จะมีค่าสูงสุดทำให้เสียงแตกพร่าฟังไม่รู้เรื่องเลยทีเดียว ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำเกินไปจะทำให้กินกำลังของเครื่องขยายมาก นั่นคืออัตราขยายของมันจะมีโอกาสเกินกว่าที่มันจะขับได้ในภาวะปกติ (rated power) ซึ่งจะทำให้เกิดการขลิบยอดสัญญาณได้ทั้งที่ตัวลำโพง เองและที่เครื่องขยายด้วย ลำโพงที่ออกแบบมาสำหรับระบบเสียงจะมีความไวพอที่จะขับสัญญาณแรง ๆ ได้โดยไม่เกิดความเพี้ยนที่เกิดจากตัวมันเอง ลำโพงโดยทั่วไปที่ใช้หลักการของสนามแม่เหล็กจะมีความเฉื่อยในการขับเสียงออกมาอยู่แล้ว ทำให้เกิดความเพี้ยนโดยเฉพาะในกรณีที่ระดับสัญญาณที่เข้ามามีความแรงมาก ๆ จะทำให้วอยซ์คอยล์ (voice coil) เคลื่อนตัวไปผิดไปจากแกนไปกระแทกหรือบีบตัวกับกรอบข้าง ๆ เกิดเสียงแตกพร่าได้เช่นกัน
ความชัดเจนของน้ำเสียง
ปัญหาข้อนี้แตกต่างจากข้อที่แล้วในแง่ที่ว่าเสียงที่ได้ยินนั้นควรจะมีน้ำเสียงสำเนียงเหมือนกับว่ได้ยินจากผู้พูดโดยตรง เสียงพยัญชนะบางตัวที่ค่อนข้างคลุมเครือควรจะแยกออกได้อย่างชัดเจน เช่น ตัว “พ” และ “บ” เป็นต้น ความชัดเจนของน้ำเสียง (intelligibility) จะขึ้นกับผลตอบเชิงความถี่ ความเพี้ยนของเครื่องขยาย เสียงรบกวนและจากเสียงข้างเคียง ตลอดจนความก้องกำธร (reverberation) ของห้อง เป็นต้น
ผลตอบเชิงความถี่ในช่วง 4 kHz ถึง 7 kHz ควรจะมีผลตอบที่มากกว่าช่วงความถี่อื่น ๆ ประมาณ 3-6 dB เพราะว่ามันจะทำให้น้ำเสียงมีความชัดเจนมากกว่าปกติ ในช่วงความถี่ต่ำตั้งแต่ 150 Hz ลงไปควรจะลดทอนลง เราสามารถปรับปรุงแก้ไขผลตอลเชิงความถี่ของระบบด้วยอีควอไลเซอร์ หรือจะเลือกไมโครโฟนที่เหมาะสมกับผลตอบเชิงความถี่ดังกล่าวได้
เสียงรบกวนจากพัดลม มอเตอร์ คนดู เสียงจากบริเวณข้างเคียง เช่น เสียงรถยนต์ เครื่องจักร (ถ้ามี) จะทำให้น้ำเสียงฟังดูคลุมเครือมาก เครื่องขยายที่ใช้ต้องมีระดับความดัง 20-25 dB มากกว่าเสียงรบกวน ดังนั้นในบริเวณที่เสียงรบกวนมีมากเครื่องขยายและลำโพงที่ใช้เป็นแบบที่ราคาค่อนข้างแพงมาก
ความก้องกำธรของห้องจะทำให้เสียงที่ได้ฟังดูสับสนไปหมด เพราะว่าเสียงเดิมที่ได้ยินไปแล้วจะดังตามมาอีก มันจะแทรกเข้ามาพร้อมเสียงใหม่ที่เพิ่งพูดไป ทำให้เกิดความสับสนเหมือนคนมีคนแย่งกันพูด ยิ่งในกรณีที่ผู้พูดพูดเร็วมากจะยิ่งฟังดูสับสนมากขึ้นไปอีก การจัดวางตำแหน่งของลำโพงที่มีมุมครอบคลุม (coverage angle) แคบจะช่วยได้มาก โดยวางให้ปากลำโพงหันเข้าหาคนดูมากที่สุด และพยายามหลีกเลี่ยงการหันเข้าหากำแพงหรือเพดาน ซึ่งมักจะเป็นพื้นราบกว้าง ๆ การแก้ไขอีกวิธีที่ได้ผลแต่ราคาและค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงคือการบุกำแพงเพดานด้วยวัสดุดูดกลืนเสียง
การป้อนกลับทางเสียง
เรารู้จักการป้อนกลับทางเสียง (acoustic feedback) ดีในอาการที่เรียกว่า “เกิดเสียงหอน” นับได้ว่าเป็นปัญหาที่พบมากที่สุด เสียงหอนที่ว่านี้มีทั้งเสียงหวีดหวิวในช่วงความถี่สูง หรือเสียงหึ่ง ๆ ในช่วงความถี่ต่ำ โดยมันจะดังอยู่อย่างนั้นตลอดเวลาและจะมีระดับความดังขึ้นเรื่อย ๆ บางครั้งเพิ่มจนถึงอัตราขยายสูงสุดของเครื่องขยาย นอกจากเราจะปิดเสียงเสียก่อนเท่านั้น เสียงหอนนี้เกิดจากการป้อนกลับทางเสียงระหว่างลำโพงและไมโครโฟน ระดับความดังของเสียงหอนจะขึ้นกับอัตราขยายของลูป (loop – วงจรส่วนนั้น) ที่เกิดการป้อนกลับ ความถี่ที่เกิดเสียงหอนก็ขึ้นกับความถี่เรโซแนนซ์ของเมนลูป (main loop) ขบวนการป้อนกลับนี้จะใช้เวลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โอกาสที่จะเกิดเสียงหอนนั้นขึ้นกับอัตราขยายของระบบเสียง ถ้ามากเกินไปจะทำให้เข้าใกล้ระดับวิกฤติ (critical level) ซึ่งเป็นอัตราขยายที่มากที่สุดที่จะเป็นไปได้ของระบบเสียงที่จะทำให้เกิดเสียงหอนพอดี ระดับวิกฤติขึ้นกับองค์ประกอบหลายตัวแต่สาเหตุที่ทำให้มันมีระดับที่ต่ำมากเกินไปขึ้นกับคุณสมบัติทางเสียงของห้องแย่มาก และการติดตั้งที่ผิด จากรูปที่ 3 เราจะเห็นว่ากราฟ (ก) เป็นผลตอบเชิงความถี่ของระบบที่ราบเรียบและต่ำกว่าระกับวิกฤติมาก ส่วนในกราฟ (ข) เป็นผลตอบเชิงความถี่ของระบบที่มีบางช่วงความถี่ได้รับอัตราขยายมากกว่าวิกฤติ ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดเสียงหอนในช่วงความถี่ที่ว่านี้จึงง่ายมาก อาการเสียงที่ส่อให้เห็นว่าระบบกำลังเข้าใกล้ระดับวิกฤติคือจะมีเสียงหึ่ง ๆ ดังตามเสียงสัญญาณที่พูดเข้าทางไมโครโฟน ถ้าขณะนั้น ๆ มีเสียงรบกวนหรือสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยจะทำให้เกิดเสียงหอนได้ทันที ถ้าระดับวิกฤติมาก ๆ จะทำให้เราต้องลดอัตราขยายของวงจรต่ำลงไป (เพราะว่ากลัวจะเกิดเสียงหอน) ซึ่งอาจจะต่ำเกินไปจนไม่พอเพียงแก่ความต้องการของคนฟัง ทำให้คนฟังต้องคอยเงี่ยหูฟังแทนที่จะนั่งฟังอย่างสบาย ๆ
|
รูปที่
3
กราฟแสดงผลตอบสนองเชิงความถี่
|
การแก้ไขและป้องกันการเกิดเสียงหอนเราสามารถทำได้ 2 วิธีคือ ลดโอกาสที่จะเกิดเสียงหอน และ เพิ่มระดับวิกฤติ ในระบบเสียงสำหรับการแสดงนั้นเราสามารถแก้ไขและป้องกันการเกิดเสียงหอนด้วยการลดโอกาสที่จะเกิดเสียงหอนเท่านั้นส่วนการเพิ่มระดับวิกฤติทำได้ยากมากเนื่องจากทั้งไมโครโฟนและลำโพงอยู่ในสภาพธรรมชาติของเสียงแบบเดียวกัน การลดโอกาสที่จะเกิดเสียงหอนนั้นเรามักจะแก้ไขในสามจุดด้วยกันคือ การเล็งลำโพง เลือกไมโครโฟนที่ใช้ และเพิ่มเติมอุปกรณ์เพื่อช่วยลดการเกิดเสียงหอน
|
รูปที่ 4 ลักษณะการแพร่กระจายเสียงของลำโพง
|
|
รูปที่ 5 ลักษณะการแพร่กระจายเสียงสำหรับชุดลำโพง |
การเล็งลำโพง หลักพื้นฐานที่สุดที่ต้องจำไว้เสมอคือไม่ควรหันลำโพงและไมโครโฟนเข้าหากัน (ปากลำโพงและด้านรับเสียงของไมโครโฟน) ถึงแม้จะหันลำโพงและไมโครโฟนไปคนละทางแล้วก็ตาม เรายังต้องคำนึงถึงมุมครอบคลุม (coverage ange) ของลำโพงด้วย ดังแสดงไว้ในรูปที่ 4 สำหรับลำโพงตัวเดียวและในรูปที่ 5 สำหรับลำโพงเป็นชุดเข้าตู้เดียวกันที่เราเรียกว่า ซาวด์คอลัมน์ (sound column) จากทั้ง 2 รูปเราจะเห็นว่าอาณาบริเวณที่เสียงแพร่กระจายแตกต่างกันมาก โดยการกระจายเสียงของลำโพงตัวเดียวจะแพร่ออกเป็นรูปกรวยเสียงจะแพร่ไปทั้งทางบนและทางล่างของลำโพงด้วย ส่วนการกระจายเสียงของชุดลำโพงจะแพร่ไปเฉพาะด้านหน้าและด้านข้าง ส่วนด้านบนและล่างจะไม่มี ดังนั้นการเล็งลำโพงจะต้องคำนึงถึงลักษณะการแพร่กระจายนี้ด้วย โดยระวังไม่ให้มีไมโครโฟนเข้าไปอยู่ในบริเวณดังกล่าวนี้ได้ การเล็งลำโพงและการวางลำโพงสำหรับลำโพงตัวเดียววต่อ 1 ตู้ ก็อาจจะวางแบบในรูปที่ 6 แต่ด้านหลังของตู้ต้องปิดทึบเสมอ เราต้องพยายามเล็งลำโพงเข้าหาบริเวณคนดูให้มากที่สุด การทำเช่นนี้จะได้ประโยชน์ถึง 2 อย่างพร้อมกันคือ ทำให้ระดับความดังบริเวณคนดูได้ตามต้องการและลดการสะท้อนโดยตรงซึ่งจะสะท้อนกลับไปยังเวทีอีกทีและสะท้อนกลับเข้าไมโครโฟนอีกทีทำให้เกิดเสียงหอนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราเล็งลำโพงไปยังบริเวณกำแพงหรือฝาด้านหลังของห้องจะทำให้เสียงสะท้อนโดยตรงเข้าไปยังไมโครโฟนบนเวทีได้
|
รูปที่ 6 การเล็งและการวางลำโพงสำหรับแบบตัวเดียวต่อ 1 ตู้ |
ถ้าจะให้ได้ผลดีขึ้นแล้วควรจะระบุพื้นเวทีและฉากของเวทีด้วยวัสดุดูดกลืนเสียง เพื่อช่วยลดการสะท้อนเพดานของห้องก็สามารถสะท้อนเสียงและทำให้เกิดปัญหาด้านเสียงหอนได้เช่นกัน โดยเฉพาะเพดานที่แบนโค้งมาก ๆ การใช้ชุดลำโพงแบบซาวด์คอลัมน์แล้วเล็งลำโพงไปยังคนดูให้มากที่สุดจะช่วยลดเสียงสะท้อนด้านเพดาน (ที่เป็นส่วนโค้งมาก) เพราะว่ามุมครอบคลุมและลักษณะการแพร่กระจายของลำโพงแบบนี้จะไม่พุ่งขึ้นด้านบนไปกระทบกับเพดานเลย การวางลำโพงอาจจะใช้ลำโพงซาวด์คอลัมน์เพียงตู้เดียวติดตั้งไว้ทางด้านหน้าตอนบนของเวทีก็ได้ ดังแสดงไว้ในรูปที่ 7 สำหรับกรณีที่เพดานมีส่วนโค้งมาก ๆ แล้วการใช้ลำโพงตัวเดียวต่อ 1 ตู้ มาติดตั้งอย่างในรูปที่ 6 อาจจะทำให้เกิดเสียงหอนได้ควรจะเปลี่ยนใช้ลำโพงซาวด์คอลัมน์แทนการเล็งลำโพงเข้าหาบริเวณคนดูให้มากที่สุดจะช่วยให้การสะท้อนน้อยลงเพราะว่าบริเวณคนดูรวมทั้งเก้าอี้จะช่วยดูดกลืนเสียงได้เป็นอย่างดี
|
รูปที่ 7 การเล็งและการวางลำโพงซาวด์คอลัมน์
|
บางครั้งสำหรับกรณีที่ห้องแสดงหรือบริเวณงานกว้างมาก ๆ การเล็งลำโพงซาวด์คอลัมน์เพียงตัวเดียวอาจจะไม่ครอบคลุมพื้นที่งานทั้งหมด และบางครั้งอาจจะต้องเล็งสูงเกินไป ทำให้เสียงเกิดการสะท้อนโดยตรงกลับเข้าเวทีจากกำแพงด้านหลังของห้องก็ได้ เราจะใช้การวางแบบในรูปที่ 6 แทน วิธีนี้จะช่วยให้การสะท้อนกลับมายังเวทีเป็นไปได้ยากขึ้น และเป็นการช่วยเพิ่มระดับเสียงบริเวณคนดูที่ใกล้ ๆ หน้าเวที ซึ่งการใช้ลำโพงเพียงชุดเดียวอย่างในรูปที่ 7 อาจจะครอบคลุมไปไม่ถึงก็ได้ การวางลำโพงแบบในรูปที่ 6 จะช่วยให้เส้นทางการสะท้อนกลับมาบนเวทีมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เสียงสะท้อนมีระดับความดังที่ลดน้อยลงไปมากทีเดียว ในปัจจุบันบริเวณที่นั่งคนดูในโรงภาพยนตร์หรือโรงมหรสพมักจะทำเป็นทางลาดเอียงซึ่งจะช่วยให้การเล็งลำโพงเป็นไปได้ง่ายขึ้น (ไม่ต้องติดตั้งสูงจนเกินไป) ลำโพงซาวด์คอลัมน์บางแบบถูกออกแบบไว้ให้วางบนพื้นเวที ทำให้ระดับวิกฤติน้อยลงกว่าที่คามไว้มาก ดังนั้นถ้าพบลำโพงซาวด์คอลัมน์ประเภทนี้และเมื่อเกิดเสียงหอนให้ลองหยิบไมโครโฟนออกจากขาตั้ง (stand) สังเกตว่าอาการหอนหายไปหรือเปล่า ถ้าหายไปแสดงว่าเกิดจากการป้อนกลับทางพื้นเวทีและโครงสร้างของตัวไมโครโฟนเองด้วย เราอาจจะหาวัสดุดูดกลืนเสียง วัสดุกันสะเทือน มารองรับตู้ลำโพงไว้ และรองรับขาตัวไมโครโฟนด้วยจะช่วยได้มาก
การเลือกใช้ไมโครโฟน ที่เหมาะสมเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาจากเสียงหอนได้เป็นอย่างดี โดยเราจะเลือกใช้ไมโครโฟนที่มีลักษณะทิศทางการรับเสียงที่เหมาะสมกับงาน ลัษณะทิศทางการรับเสียงนิยมเรียกว่า แพทเทอน (pattern) มีหลายแบบด้วยกัน แต่ที่นิยมใช้กันและมีจำหน่ายมากที่สุดมีด้วยกัน 3 แบบ คือ แบบรอบทิศทาง (omnidirectional) แบบ 2 ทิศทาง หรือ รูปเลขแปด (bidirectional or figure of eight) และ แบบทิศทางเดียว (unidirectional) แพทเทอนแบบสุดท้ายนี้เป็นแบบที่ใช้แก้ปัญหาเสียงหอนได้ดีที่สุด เพราะว่ามันจะรับเสียงจากด้านหน้า (ด้านหน้าคือส่วนที่เราพูดกรอกเข้าไปนั่นเอง) แบบนี้บางทีก็เรียกว่า รูปหัวใจ (cardioid) เสียงที่มาจากด้านอื่น ๆ จะรับเข้าไปน้อยกว่าด้านหน้าดังนั้นจะช่วยตัดเสียงที่วกกลับมาได้เป็นอย่างดี แน่ถ้าเสียงที่วกกลับสะท้อนกับฉากของเวทีจะทำให้สะท้อนเข้าไปยังไมโครโฟนทางด้านหน้าอีก และจะก่อปัญหาด้านเสียงหอนอีกก็เป็นได้ เพื่อเป็นการตัดปัญหาด้านเสียงหอนให้ดียิ่งขึ้นเราควรจะบุพื้นเวทีและฉากหลังเวทีที่จะสะท้อนเสียงได้ด้วยวัสดุดูดกลืนเสียง นอกจากนี้คุณสมบัติของไมโครโฟนด้านผลตอบเชิงความถี่ควรเลือกแบบที่มีความราบเรียบตลอดช่วงความถี่ที่เราต้องการ ไม่ควรให้มีช่วงหนึ่งมีผลตอบที่มีลักษณะเป็นยอด เพราะว่าจะทำให้เกิดการหอนเนื่องจากเกนขยายของระบบเกินกว่าระดับวิกฤติ
การเพิ่มเติมอุปกรณ์ช่วยลดเสียงหอน เพื่อความมั่นใจว่าระบบเสียงของเราจะไม่เกิดปัญหาด้านเสียงหอนถึงแม้ว่าจะมีการเล็งลำโพงและการเลือกไมโครโฟนที่เหมาะสมแล้วก็ตาม เราจะเพิ่มอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ช่วยแก้ไขปัญหาด้านนี้ อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่อีควอไลเซอร์และฟิลเตอร์ (narrow bandwidth filter) อุปกรณ์ทั้งสองนี้จะช่วยกันปรับแต่ง โดยจะลดความแรงของสัญญาณซึ่งมีความถี่ที่ทำให้เกิดเสียงหอน อีควอไลเซอร์และฟิลเตอร์ที่ใช้อาจจะใช้แบบ 1 ออกเตฟแบนด์ ซึ่งมีความถี่กลางที่ปรับได้ 8 ความถี่ด้วยกันหรือ จะเป็นแบบ 1/3 ออกเตฟแบนด์ ซึ่งจะมีความถี่กลางที่ปรับได้ 27 ความถี่ด้วยกัน การปรับแต่งอุปกรณ์เหล่านี้จะต้องทำการปรับแต่งในบริเวณงานไว้ก่อนนการแสดงโดยจะใช้เครื่องวัดความถี่แบบแสดงผลเป็นตัวเลข (digital frequency meter) มาหาความถี่ที่เกิดการหอน ในขั้นแรกจะค่อย ๆ เพิ่มอัตราขยายของระบบจนกระทั่งเกิดการหอน จากนั้นจะทำการปรับอีควอไลเซอร์และฟิลเตอร์เพื่อลดขนาดสัญญาณในช่วงความถี่ที่เราอ่านได้จากเครื่องวัดความถี่ให้การหอนนั้นหายไป จากนั้นเราก็เร่งอัตราขยายจนเกิดการป้อนกลับที่ความถี่ใหม่อีกแล้วปรับแต่งที่ความถี่นี้อีกจนหายไป ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนถึงอัตราขยายของระบบเสียงที่เราต้องการ ตอนนี้เราก็ได้ค่าอัตราขยายเฉพาะความถี่ที่เหมาะสมที่จะไม่ทำให้เกิดการหอน การปรับแต่งความถี่ข้างเคียงซึ่งจะให้ผลทางเสียงที่แตกต่างออกไปนั้นขึ้นอยู่กับความชำนาญของแต่ละบุคคลที่จะปรับแต่งได้เป็นอย่างดีเพียงใด เมื่อถึงเวลาแสดงจริงเราก็ปรับอัตราขยายพร้อมทั้งอีควอไลเซอร์ที่ดีขึ้น เราก็อาจจะลองเสี่ยงปรับแต่งอย่างอิสระก่อน เพราะในเวลางานจริงจำนวนคนดูจะทำให้โอกาสเกิดการป้อนกลับน้อยลง เนื่องจากคุณสมบัติการดูดกลืนเสียงมีมากขึ้นนั่นเอง แต่ก็อย่าได้มั่นใจว่าจะไม่เกิดเสียงหอนขึ้นได้ ดังนั้นในคอนโซลสมัยใหม่จะมีสวิตช์ให้เลือกปรับวงจรอีควอไลเซอร์และฟิลเตอร์ทั้งสองแบบ โดยจะมีปุ่มตั้งอัตโนมัติซึ่งเราปรับแต่งไว้ตั่งแต่ตอนทดลองแล้ว หรือจะใช้ปรับขณะแสดงจริง ๆ เลยก็ได้ เมื่อเกิดปัญหาด้านเสียงหอนขึ้นมาเฉพาะหน้า เราจะสับสวิตช์ไปทางอัตโนมัติในทันที นอกจากนี้ยังมีวงจรกลับเฟส (phase reversal) ซึ่งจะช่วยแก้ไขเสียงหอนในช่วงความถี่ต่ำ (หลักการกลับเฟสธรรมดาเท่านั้น)
ความก้องกำธร
เสียงก้องกำธร (reverberation) คือเสียงแรกที่สะท้อนไปมาจนเราได้ยินอีกหลังจากได้ยินไปแล้ว โดยจะดังตามมาเป็นห้วง ๆ และค่อยๆ เงียบลงไป เสียงก้องนี้ในระบบเสียงที่เกี่ยวกับเสียงพูดจะไม่ต้องการ แต่ถ้าเป็นระบบเสียงที่เกี่ยวกับเสียงดนตรีแล้ว เสียงก้องจะเป็นตัวการที่ทำให้เสียงดนตรีที่ได้มีความหนักแน่นและกระหึ่มดังกว่าปกติมาก โดยทั่วไปการขจัดปัญหาด้านเสียงหอนโดยการหันลำโพงให้มีการสะท้อนมากขึ้นจะก่อปัญหาด้านเสียงก้องได้เช่นกัน เพราะว่าเส้นทางการสะท้อนที่ยาวขึ้นจะทำให้เกิดข่วงหน่วงยาวนานขึ้น ทำให้เวลาของการก้องกำธรยาวนานขึ้นอีกเมื่อเสียงก้องมีระดับความดังมากเกินไปนอกจากจะทำให้ความชัดเจนในน้ำเสียงเสียไปแล้วยังจะก่อปัญหาด้านเสียงหอนอีกทีหนึ่ง สำหรับโรงละครและโรงหนังที่มีเฉลียงจะทำให้บริเวณใต้เฉลียงมีเสียงก้องมากกว่าเดิม เพราะว่าความถี่สูงบริเวณนั้นจะถูกดูดกลืนได้เร็วกว่าและมากกว่าเสียงความถี่ต่ำ ทำให้เสียงความถี่ต่ำยังคงก้องกังวาน กรณีนี้เราแก้ไขโดยการลดเสียงทุ้มของวงจรขยาย จากนี้เราพอที่จะสรุปสาเหตุของการเกิดเสียงหอนและการแก้ไขได้แล้ว
ดังที่เคยได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่า เสียงหอนนั้นมีช่วงความถี่สูงและความถี่ต่ำ ถ้าเสียงหอนที่ได้เป็นเสียงหวีดหวิวในช่วงความถี่สูงเราแก้ไขโดยการลดเสียงแหลมของเครื่องขยาย (หรือปรีแอมป์มิกเซอร์) เสียงหอนในลักษณะนี้เกิดจากการใช้ไมโครโฟนที่มีผลตอบเชิงความถี่สูงมากเกินไป (ช่วงประมาณ 2 kHz ถึง 5 kHz) และจากการวางลำโพงให้เสียงสะท้อนกำแพงด้านหลังหรือส่วนโค้งของเพดาน (ถ้ามี) มากเกินไป ถ้าเสียงหอนที่ได้อยู่ในช่วงความถี่ต่ำแสดงว่าเกิดจากเสียงก้องในห้องมีมากเกินไป (เสียงความถี่สูงจะถูกดูดกลืนได้มากกว่าความถี่ต่ำ) การแก้ไขก็ใช้การลดเสียงทุ้มลงจนเสียงหอนหายไป (บางทีอาจจะเกิดจากการป้อนกลับจากพื้นเวทีที่สั่นเครือตามตู้ลำโพงก็เป็นได้ดังกล่าวแล้ว) เมื่อเราทราบสาเหตุและการแก้ไขเฉพาะหน้าแล้วเมื่อมีโอกาสที่จะแก้ไขอย่างถาวรเราก็ควรจะทำทันทีนั่นคือ การเปลี่ยนไมโครโฟนและการเล็งลำโพง ตลอดจนการบุผนังด้วยวัสดุกลืนเสียง
อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเสียงก้องได้คือการใช้ลำโพงหลายชุด โดยวางห่างกันแต่ละชุดเป็นระยะ 50 ฟุต ขึ้นไป เพราะว่าเสียงที่มาจากลำโพงตัวอื่นใช้เวลาระยะหนึ่งถึงจะมาถึงเรา แต่ลำโพงตัวที่ใกล้เราจะได้ยินก่อน ดังนั้นยิ่งมีหลายตัวจะทำให้ได้ยินเสียงตามมาเป็นห้วง ๆ นานกว่า การแก้ไขควรจะใช้ลำโพงซาวด์คอลัมน์วางแบบในรูปที่ 6 หรือแบบในรูปที่ 7
ความครอบคลุม
เป็นความสามารถของระบบเสียงของเราที่จะแพร่ขยายเสียงได้ทั่วทั้งบริเวณงาน คุณสมบัติข้อนี้จะขึ้นกับความไวของลำโพง (speaker sensitivity) จำนวนลำโพงน้อยเกินไป การเล็งลำโพงไม่ถูกต้อง กำลังของเครื่องขยายน้อยเกินไป จำนวนเครื่องขยายไม่พอเพียงกับความต้องการ
ความไวของลำโพง ส่วนมากจะกำหนดมาเป็น SPL (sound pressure level) คือ ระดับความดังของเสียง และมักจะบอกเป็นค่า dB โดยมีข้อกำหนดดังนี้ dB-SPL จะแทนระดับความดังของเสียงจากแนวแกนกลางของลำโพง (on axis) ที่ห่างออกไประยะหนึ่ง โดยมีกำลังทางไฟฟ้า (คิดเป็นวัตต์) เข้ายังลำโพงค่าหนึ่งโดยทั่ว ๆ ไป จะมี 2 มาตรฐานด้วยกัน มาตรฐานแรกคือ EIA (Electric Industrial Association) จะกำหนดระดับ dB-SPL ของลำโพงที่ระยะ 1 เมตร และกำหนดกำลังงานเข้าไป12ในลำโพงเท่ากับ 1 วัตต์ ประโยชน์ของการกำหนดมาตรฐานนี้จะทำให้เราสามารถหาระดับความดังที่ระยะห่างออกไปมาก ๆ ได้ และเมื่อกำลังงานที่เข้าไปยังลำโพงมากกว่าที่กำหนด โดยมีหลักคิดง่าย ๆ ดังนี้ ระดับความดังจะลดลงทีละ 6 dB-SPL ของความดังระดับเดิมเมื่อเรายืนห่างจากลำโพงทีละ 2 เท่าของระยะเดิม และจะมีระดับความดังเพิ่มทีละ 10 dB-SPL เมื่อกำลังงานที่เขี่ลำโพงเพิ่มเป็นทีละ 10 เท่า ตัวอย่างเช่น ความไวของลำโพง (ตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดมา) มีค่า 102 dB-SPL ที่ระยะ 4 ฟุต เมื่อมีกำลังงานเข้ามา 1 วัตต์ เพราะฉะนั้นมันจะมีระดับความดัง 96 dB ที่ระยะ 8 ฟุต, 90 dB ที่ระยะ 16 ฟุต และ 14 dB ที่ 32 ฟุต เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ และถ้าเราต้องการระดับความดังที่ระยะ 32 ฟุต เท่ากับ 94 dB เราต้องเพิ่มกำลังงานเข้าไปที่ลำโพงเท่ากับ 10 วัตต์ (10 เท่าตัวของ 1 วัตต์ที่ระยะ 32 ฟุต) ความรู้ในการคิดคำนวณเกี่ยวกับระดับความดังของลำโพงทำให้เรานำไปออกแบบสำหรับระดับความดังที่ระยะต่าง ๆ และทราบจำนวนกำลังเอาต์พุตจากเครื่องขยายที่จะต้องใช้ได้
ลำโพงฮอร์นเป็นลำโพงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดนั้นหมายความว่าอัตราส่วนของกำลังไฟฟ้าที่เข้าไปกับระดับเสียงที่ได้ค่อนข้างจะมากกว่าลำโพงกรวยกระดาษทั่ว ๆ ไป แต่คุณภาพเสียงทางด้านความถี่ต่ำจะด้อยกว่าลำโพงแบบกรวยกระดาษ ดังนั้น ในตู้ลำโพงแบบซาวด์คอลัมน์จึงมักจะรวมเอาทั้งลำโพงฮอร์นและลำโพงเสียงทุ้ม (woofer) แบบกรวยกระดาษเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้ผลตอบเชิงความถี่ได้มากขึ้นอีกด้วย ผลตอบเชิงมุม (polar response) ของชุดลำโพงแบบนี้ก็นับว่าดีมากทีเดียว โดยมุมครอบคลุม (coverage angle) จะมีค่ามากขึ้น มุมครอบคลุมคือมุมที่เหไปจากแนวแกนกลางของหน้าลำโพงแล้วยังได้ระดับความดังลดลงจากแนวแกนกลาง 6 dB ทั้ง 2 ข้าง ดังแสดงไว้ในรูปที่ 8 (รูปที่ 8 ผลตอบเชิงมุมของชุดลำโพง)
|
รูปที่ 8 ผลตอบเชิงมุมของชุดลำโพง
|
จากรูปนี้เราจะเห็นว่าที่ความถี่ 100 Hz ผลตอบเชิงมุมจะอ่านค่ามุมครอบคลุมได้ประมาณ 140* และที่ความถี่ 1 kHz มุมครอบคลุมประมาณ 70* ที่ 8 kHz มุมครอบคลุมประมาณ 70* เช่นกัน ในทางปฏิบัติการเล็งลำโพงแบบนี้ทั้ง 2 ข้างของเวทีจะพยายามให้มุมครอบคลุมของมันเหลื่อมกันที่บริเวณคนดูที่อยู่หน้าสุด ถ้ายังไม่พอก็อาจจะใช้ลำโพงแบบนี้ข้างละ 2 ตู้ หรือมากกว่าก็ได้ ในกรณีที่ห้องที่ใช้แสดงมีบริเวณกว้างมาก ๆ เราจำเป็นต้องยกตู้ลำโพงให้สูงขึ้นและเอียงทำมุม เล็งมายังคนดู การเล็งก็เช่นกันต้องคำนึงถึงมุมครอบคลุมดังกล่าวด้วย การติดตั้งที่ถูกต้องควรจะทำการทดลองเปิดเครื่องและลองนั่งฟังในบริเวณคนดูหลาย ๆ ตำแหน่งด้วยกัน โดยเฉพาะจุดที่เราสงสัยว่าจะมีระดับความดังมากหรือน้อยเกินไปด้วย
ถึงแม้จะมีการติดตั้งและเล็งลำโพงอย่างถูกต้องแล้วก็ตาม ในบางครั้งอาจจะมีบริเวณบางแห่งที่คุณภาพเสียงและระดับความดังยังไม่เหมาะสม สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดได้แก่การต่อเฟสของลำโพงแตกต่างกันซึ่งจะทำให้ที่นั่งคนดูบริเวณแถวกลาง ๆ ได้รับเสียงที่มีคุณภาพสู้บริเวณอื่นไม่ได้ ขอให้ดูผลตอบเชิงมุมของลำโพง 2 ตัว ที่ต่อเฟสตรงกันและต่างกัน ในรูปที่ 9
|
รูปที่ 9 ผลตอบเชิงมุมของลำโพงคู่ที่ต่อเฟสเหมือนกันและต่างกัน
|
เราจะสังเกตได้ว่าในบริเวณกลางระหว่างลำโพงทั้งสองจะมีผลตอบเชิงมุมทีน้อยกว่าบริเวณข้างเคียงที่ใกล้ ๆ กัน ดังนั้น การเดินสายลำโพงควรจะตรวจสอบการต่อเฟสของลำโพงด้วยว่าต่อถูกต้องด้วยกันทั้งคู่หรือเปล่า ถ้าที่ตัวลำโพงไม่ได้บอกขั้วของเฟสไวเราอาจจะทดสอบได้โดยการใช้ถ่านไฟฉายธรรมดาขนาด 4.5 V หรือ 6.0 V ก็ได้มาต่อเข้าไปกับลำโพงแล้วสังเกตกรวยของลำโพงว่าดูดเข้าหรือผลักออก จากนั้นทำเครื่องหมายลงไปบนขั้วต่อของลำโพงว่าขั้วไหนต่อกับถ่านขั้วบวกและลบ แล้วก็ทำการทดลองกับลำโพงอีกตัว (หรือมากกว่า) ต้องได้อาการดูดเข้าหรือผลักออกของกรวยลำโพงแบบเดียวกับตัวแรก จากนั้นทำเครื่องหมายบวกลบไว้ เวลาจะต่อสายลำโพงก็ให้ขั้วบวกจากเครื่องมาเข้ากับขั้วบวกที่ทำไว้บนลำโพงและขั้วลบก็ทำเช่นเดียวกัน ทำแบบนี้กับลำโพงทุก ๆ ตัว
สำหรับโรงละครหรือห้องประชุมที่มีเสาคั่นไว้ในบริเวณคนดู การติดตั้งลำโพงจำเป็นต้องติดไว้กับเสา อย่าติดไว้กับกำแพงหรือฝาด้านข้างเพราะว่าตำแหน่งคนดูคนฟังที่อยู่หลังเสาจะเป็นตำแหน่งที่เป็นจุดอับเสียง ถ้าไม่สามารถจะติดตั้งลำโพงไว้กับเสาได้เราอาจจะเล็งลำโพงจากด้านอื่นมาช่วยเหลือในบริเวณนั้นก็ได้
ปัญหาด้านอุปกรณ์
เป็นปัญหาหนักอกที่สุดโดยเฉพาะในกรณีที่อุปกรณ์เกิดเสียระหว่างการใช้งานอยู่ เราจำเป็นต้องมีการป้องกันหรือมีการตรวจสอบและเปลี่ยนอุปกรณ์ซึ่งควรจะมีการสำรองไว้ก่อนเสมอ การซ่อมแซมในเวลางานจะทำให้ระบบเสียงต้อหยุดชะงักลงชั่วคราว หรือบางทีถ้าหาที่เสียไม่พบหรือซ่อมแซมไม่ได้จะต้องทำให้งานหยุดไปเลยก็เป็นได้ ยิ่งระบบเสียงในสมัยปัจจุบันซึ่งจะมีอุปกรณ์มาต่อเพิ่มเติมมากมาย การหาจุดบกพร่องและการซ่อมแซมจะยิ่งทำได้ยาก ดังนั้นควรมีอุปกรณ์สำรองเตรียมพร้อมไว้เสมอ การเลือกโดยอาศัยรายละเอียดจากทางบริษัท (specification) เป็นวิธีที่ดีที่สุด การเดินสายต่าง ๆ ต้องแน่นหนาไม่เกิดปัญหาด้านอุปกรณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้และมักจะเกิดขึ้นเสมอ ๆ ซึ่งได้แก่ สายนำสัญญาณ เครื่องขยายและมิกเซอร์ ลำโพง การเลือกและการใช้ไมโครโฟน การพ่วง อุปกรณ์ต่างๆ ให้เหมาะสม
สายนำสัญญาณไม่ว่าจะเป็นสายต่อลำโพงหรือสายไมโครโฟนมักจะก่อปัญหาบ่อยที่สุด การเดินสายลำโพงจะต้องหลีกเลี่ยงบริเวณที่คนต้องเดินผ่านบ่อย ๆ เช่น ไม่ควรเดินสายข้ามหรือพาดไปบนพื้นที่เป็นทางเข้าออก (ประตู) การเดินสายควรจะเดินไว้เหนือศีรษะและมีการยึดติดให้เหมาะสมเป็นระยะๆ ไม่ควรเดินปล่อยให้ห้อยโยงเป็นทางยาว ๆ เพราะว่าจะทำให้เกิดการขาดใน โดยปกติแล้วสายสัญญาณมักจะไม่พาดผ่านพื้นซึ่งจะทำให้คนเหยียบย่ำได้ง่ายแต่ก็ต้องยกเว้นสำหรับสายไมโครโฟนบนเวที การสำรวจสภาพของสายไมโครโฟนบ่อย ๆ จะช่วยให้เราเปลี่ยนและซ่อมแซมก่อนจะนำไปใช้งาน จุดที่เสียมากที่สุดในสายไมโครโฟนจะเกิดบริเวณใกล้ ๆ กับปลั๊กต่อนั่นเอง ดังนั้นถ้าเราไม่มั่นใจว่าสายจะคงทนตลอดเวลาหรือเปล่า เราควรจะตัดสายออกทั้ง 2 ปลาย ข้างละประมาณ 2-3 นิ้วจากปลั๊ก แล้วบัดกรีเข้ากับปลั๊กตามเดิม วิธีการนี้ดู ๆ ไปจะเป็นการสิ้นเปลืองและเสียเวลา แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นเราเพียงแต่ขจัดปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นระหว่างการแสดง ส่วนสภาพของสายทั้งเส้นก็ควรจะสำรวจบ่อย ๆ ด้วย ในขณะวัดสภาพของสาย (ด้วยมิเตอร์หรือเครื่องมือชนิดอื่นก็ตาม) เราควรจะขยับสายไปมาบ่อย ๆ และแรง ๆ สังเกตว่ามีผลทำให้ความต่อเนื่องของสายเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
เครื่องขยายเสียงของระบบเสียงเป็นตัวการสำคัญที่สุดในการก่อปัญหา เพราะ ถ้ามันเกิดเสียขึ้นมาระบบเสียงทั้งระบบจะต้องหยุดชะงักทันที ดังนั้นการหาเครื่องสำรองมาคอยไว้ก่อนหรือการใช้เครื่องขยายหลายเครื่องขับลำโพงหลาย ๆ ชุด เป็นกลุ่ม ๆ ไป โดยเครื่องขยายแต่ละเครื่องสามารถเร่งกำลังขยายได้เป็นเอกเทศ และมีกำลังขยายมากกว่าขณะใช้งานแหติ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสับลำโพงของเครื่องที่เกิดปัญหามาใช้กับเครื่องขยายตัวอื่น ๆ ได้ทันท่วงทีได้
ในกรณีที่ใช้มิกเซอร์ต่างหาก นอกจากมิกเซอร์ในเมนแอมป์ ถ้ามิกเซอร์เกิดเหตุจัดข้อง เราสามารถแก้ปัญหาโดยการโยกย้ายสายไมโครโฟนมาใช้มิกเซอร์ของเมนแอมป์เอง แต่จำนวนไมโครโฟนอาจจะลดน้อยลงก็ยังพอทำให้ระบบเสียงดำเนินต่อไปได้ นอกจากนี้ไป AC สำหรับอุปกรณ์เครื่องเสียงของระบบควรจะใช้ไฟได้หลายช่วง เช่นตั้งแต่ 100 V ถึง 250 V เป็นต้น เพราะว่าในบางครั้งเราอาจจะต้องใช้อุปกรณ์เหล่านี้กับเครื่องจ่ายไปที่แตกต่างกัน เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามท้องถิ่นเป็นต้น แม้แต่ในตัวเมืองโดยเฉพาะในต่างจังหวัดแรงดันไฟฟ้ามักจะไม่คงที่อย่างในบ้านเราแรงดันปกติคือ 220 V แต่ในบางครั้งจะมีแรงดันสูงถึง 250 V บางทีก็ลดลงเหลือเพียง 180 V เท่านั้น เมนแอมป์ที่ใช้กับระบบเสียงควรจะมีอินพุตอิมพีแดนซ์ และเอาต์พุดอิมพีแดนซ์ทีเข้าได้กับมิกเซอร์คอนโซลและลำโพงที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดได้ นอกจากนี้สเปกของมันควรจะกำหนดเอาต์พุดเพาเวอร์มาเป็นแบบคอนตินิวอัสเพาเวอร์ (continuous power) และอัตราการระบายความร้อนของเครื่องขยายจะต้องพอเพียงกับการใช้งานที่ต่อเนื่องกันนาน ๆ ได้ (ควรจะมีวงจรชดเชยความร้อน) เครื่องขยายที่ใช้กับระบบเสียงจะต้องสามารถทนต่อสภาพการขับกำลังออกสูงสุดเป็นเวลานาน ๆ และทนต่อสภาพกึ่งลัดวงจรในขณะขับสัญญาณเสียงความถี่ต่ำได้นาน ๆ เช่นกัน คุณสมบัติเหล่านี้ไม่มีในเครื่องเสียงที่ใช้ตามบ้าน ดังนั้นมันจึงไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้งานกับระบบเสียง
ลำโพงเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ค่อยก่อปัญหาที่ร้ายแรงนัก ถ้าจะเสียก็มักจะเป็นเฉพาะตัวเท่านั้น ไม่เสียทีเดียวพ้อมกันหมด (ถ้าเครื่องขยายปกติดี) สาเหตุที่ทำให้มันเสียได้ก็มีเพียงการป้อนกำลังเกินที่มันจะทนได้เท่านั้น (overload) โดยมากแล้วลำโพงจะกำหนดกำลังที่ทนได้เป็นเพาเวอร์สูงสุด (maximum power) แทนที่จะกำหนดมาเป็นคอนตินิวอัสเพาเวอร์ (ถ้ากำหนดมาทั้ง 2 อย่างจะเป็นการดีที่สุด) ดังนั้นการเลือกลำโพงโดยใช้เพาเวอร์สูงสุดเป็นตัวกำหนดจะต้องเลือกให้ได้ค่ามากกว่าคอนตินิวอัสเพาเวอร์ของเครื่องขยายประมาณ 2 เท่าตัว เช่นกำลังจากเครื่องขยายเท่ากับ 100 W (continuous power) เราจะต้องใช้ลำโพงที่มีเพาเวอร์สูงสุดเท่ากับ 200 W เป็นอย่างต่ำ บางครั้งก็กำหนดมาเป็นแรงดัน (voltage) สูงสุดที่ลำโพงจะทนได้ การกำหนดแบบนี้เราพอมีทางที่จะคำนวณหาแรงดันค่าที่ลำโพงจะได้รับจากเครื่องขยายเสียงได้โดยใช้สูตรค่าที่ได้จากสูตรเป็นค่าเฉลี่ยเหมือนกับคอนตินิวอัสเพาเวอร์ที่ได้จากเครื่องขยาย
ไมโครโฟนที่ใช้กับระบบเสียงทั่วไปควรจะมีความทนทานพอสมควร ทนต่อการตกกระทบกับพื้นผิวเวที มีวัสดุกรองฝุ่นหรือน้ำลายหรือสิ่งแปลกปลอมซึ่งอาจจะเข้าไปทำอันตรายต่อแผ่นไดอะแฟรมทำให้เสียงเพี้ยน เกิดสัญญาณรบกวน หรือแม้แต่ทำให้แผ่นไดอะแฟรมชำรุดเสียหายได้ แต่สำหรับไมโครโฟนที่ใช้กับระบบเสียงที่ใช้ในการบันทึกเสียง อาจจะไม่ต้องทนทานเหมือนข้างต้นแต่ต้องมีคุณภาพทางเสียงที่ดีมาก ไมโครโฟนส่วนมากจะเกิดการชำรุดได้ก็ต่อเมื่อมีการหล่นกระแทกพื้นอย่างแรงและการใช้อย่างผิดวิธี การทดสอบไมโครโฟนไม่ควรใช้การเคอหรือเป่าลมเข้าไปแต่ควรจะใช้เสียงพูดเป็นการทดสอบ แต่ถ้าต้องการจะทดสอบไมโครโฟนในขณะที่มีการแสดงหรือระบบเสียงกำลังใช้งานอยู่อาจจะใช้การเคาะเบา ๆ ที่ช่วงปลายของไมคาโฟน (ไม่ใช่ส่วนที่รับเสียง) จะได้ยินเสียงกรอกแกรกดังออกที่ลำโพง
สัญญาณออกจากไมโครโฟนจะเป็นสัดส่วนกลับกับกังสองของระยะทางระหว่างผู้พูดแลส่วนรับเสียงของไมโครโฟน คือถ้าผู้พูดห่างจากไมโครโฟนเป็นระยะ 2 เท่าของระยะเดิมจะทำให้ระดับสัญญาณออกจากไมโครโฟนลดเหลือเพียง 1/4 ของระยะเดิมเท่านั้น บางครั้งในกรณีที่ระดับวิกฤติต่ำมากเราไม่สามารถเพิ่มอัตราขยายของไมโครโฟนได้ เราจำเป็นต้องให้คนพูดพูดใกล้กับไมโครโฟนมากๆ แต่จะทำให้เสียง พ และ บ ฟังดูสับสน ยากแก่การแยกแยะได้ โดยปกติแล้วระยะที่เหมาะสมในการใช้ไมโครโฟนคือ 9 นิ้ว ถึง 12 นิ้ว บางทีอาจจะใช้การกะโดยคร่าวๆ ประมาณหนึ่งฝ่ามือกางเต็มที่ แต่อย่าแนะนำให้คนพูดแสดงการกะประมาณต่อหน้าคนดูโดยเด็ดขาด แต่ใช้การเล็งประมาณสายตา บางครั้งโต๊ะหรือแท่นทียึดไมโครโฟนอาจจะห่างจากผู้พูดมากเกินไป เราจึงใช้ไมโครโฟนที่มีฐานยึดโก่งงอออกหรือขาตั้งเป็นแกนนอนจะช่วยได้มาก การวางไมโครโฟนสำหรับการพูดควรจะวางให้แนวแกนของไมโครโฟนทำมุมประมาณ 45* กับพื้นราบ ทั้งนี้เพราะโดยธรรมชาติของโครงสร้างของปากจะกระจายเสียงลงมาเป็นมุมประมาณ 45* อยู่แล้ว การวางไมโครโฟนจ่อหน้าหรือปากคนพูดจะแลดูน่าเกลียดและเป็นการบังคนพูดจากคนดูที่นั่งด้านหน้าของเวที
การประกอบอุปกรณ์ต่าง
ๆ เข้าด้วยกัน
|
อิมพีแดนซ์
|
แรงดัน
(V)
|
แรงดัน
(dBV)
|
ไมโครโฟนที่มีเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ต่ำ
ไมโครโฟนที่มีเอาต์พุตอิมพีแดนซ์สูง
มิกเซอร์ที่มีอินพุตอิมพีแดนซ์ต่ำ
มิกเซอร์ที่มีอินพุตอิมพีแดนซ์สูง
เอาต์พุตของมิกเซอร์
อินพุตของเครื่องขยาย
อินพุตของตำแหน่ง
AUX
(เป็นสายแบบไม่สมดุลย์
(unbalanced)
|
50-250
20
k ถึง 100
k
300
ถึง 2.2
k
50
k ถึง 1
M
50
ถึง 600
5
k ถึง 100
k
10
k ถึง 100
k
|
0.1
mV ถึง 100
mV
0.1
mV ถึง 1.0
mV
30
mV ถึง 1.0
V
(แรงดันขลิบ)
320
mV ถึง 10
V
(แรงดันขลิบ)
1
V ปกติ
10
V ค่าสูงสุด
0.5
ถึง 2.0
V
0.1
V ถึง 1.0
V
|
-80
ถึง .20
dBV
-60
ถึง 0
dBV
-30
ถึง 0
dBV
-10
ถึง +20
dBV
0
dBV ปกติ
+20
dBV ค่าสูงสุด
-6.0
ถึง +6.0
dBV
-20
ถึง 0
dBV
|
ในกรณีที่มีอุปกรณ์หลาย ๆ ชุดต่อพ่วงกันและอุปกรณ์แต่ละชิ้นก็สามารถเร่งอัตราชยายได้ ดังนั้นโอกาสที่จะมีการขยายจนเกินไปจนทำให้เกิดการขลิบสัญญาณได้ ส่วนมากแล้วจะกำหนดเป็น dBV โดย 0 dBV มีค่าอ้างอิงเท่ากับ 1 V มาตรฐานอื่นๆ ที่พบมากคือ dBm ซึ่งจะใช้คำนวณระดับแรงดันได้ไม่ง่ายนักเพราะว่าค่าอ้างอิงของมันมีค่าอิมพีแดนซ์และแรงดันได้ไม่ง่ายนัก เพราะว่าค่าอ้างอิงของมันมีค่าอิมพีแดนซ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เราจึงนิยมใช้ค่า dBV มากกว่า จากตารางที่ 1 ถ้าไมโครโฟนของเรามีแรงดันออก -20 dBV (สูงที่สุดในไมโครโฟนประเภทเดียวกัน) มิกเซอร์ควรจะมีระดับแรงดันขลิบ -10 dBV ถึง 5 dBV หรือมากกว่าก็ได้ อิมพีแดนซ์ควรเลือกแบบค่าสูงหรือค่าต่ำเหมือน ๆ กัน
ในกรณีที่อุปกรณ์ต่าง ๆ มีปุ่มเร่งความดังได้ (level control) เราควรจะเร่งอุปกรณ์ตัวหน้าสุด (นับจากไมโครโฟนมา) ให้มากที่สุดเท่าที่จะไม่เกิดการขลิบขึ้น ส่วนที่ตัวอื่น ๆ ระหว่างตัวหน้าและเมนแอมป์จะปรับระดับปานกลาง ส่วนการเร่งระดับความดังทั้งหมดจะใช้ที่เมนแอมป์เพียงตัวเดียวเท่านั้น วิธีการปรับระดับความดังแบบนี้จะทำให้ระดับสัญญาณรบกวนน้อยลง และเมนแอมป์มีทางที่จะขับสัญญาณออกได้เต็มที่ด้วย โดยทั่วไปอุปกรณ์แต่ละชุดจะมี VU มิเตอร์คอยแสดงว่าระดับสัญญาณออกหรือเข้าอยู่ในระดับที่ถูกขลิบหรือเปล่า การปรับแต่งอัตราขยายของวงจรให้พยายามสังเกตเข็มของ VU มิเตอร์ว่าควรจะอยู่ในช่วงไหนตามที่คู่มือบอกมาถ้าไม่ได้บอกก็พยายามอย่าให้เข็มแกว่งเลยเขตแดง (พยายามทำการทดลองจนเป็นที่พอใจ) โดยทั่วไป VU มิเตอร์มักจะมีช่วงปลอดภัยอยู่แล้วบางทีอาจจะมีสัญญาณเตือนบอกเมื่อยอดสัญญาณถูกขลิบไว้ด้วยส่วนปลีกย่อยที่ประกอบเข้ากับเสียง
ปัญหาใหญ่ ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดมักจะพบบ่อยที่สุด แต่ยังมีปัญหาที่เกิดจากอุปกรณ์ที่เพิ่มเติมเข้ามายังระบบเสียงและบางครั้งก็เป็นปัญหาเฉพาะถิ่น เพื่อที่จะให้บทความนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นจะขอเสนอข้อปลีกย่อยที่จำเป็นสำหรับระบบเสียงเพิ่มเติมอีก
มอนิเตอร์สำหรับนักร้องนักดนตรี (stage monitor) เวลาออกแสดงดนตรีจากหลาย ๆ ชิ้นจะประดังกันเข้ามาหมด โดยเฉพาะบริเวณที่ทำให้นักร้องหรือแม้แต่นักดนตรีเองไม่ทราบว่าตัวเองเล่นอยู่ในความดังระดับไหน โดยเฉพาะนักร้องบางครั้งจะไม่ได้ยินเสียงของตัวเองเลย ดังนั้นการพ่วงลำโพงอีกชุดสำหรับให้นักดนตรีบนเวทีทราบว่าขณะนั้น ๆ เสียงดนตรีที่ไปยังคนดูคนฟังเป็นอย่างไรบ้าง เราอาจจะต่อพ่วงจากคอนโซล การต่อพ่วงจะทำแบบในรูปที่ 2 นอกจากนี้มอนิเตอร์ยังสามารถเลือกฟังสัญญาณเฉพาะชิ้นได้อีกด้วย ลำโพงที่ใช้อาจจะมีขนาดเล็กกว่าปกติก็ได้
ความสะดวกในการเคลื่อนย้าย (portability) นักแสดงและนักดนตรีส่วนมากจะมีคอนโซลและชุดเครื่องเสียงของตัวเอง และควรจะเป็นแบบที่ใช้งานได้อย่างสะดวก เคลื่อนย้ายง่าย ขนาดและน้ำหนักพอเหมาะ ตลอดจนการประกอบพ่วงทำได้ง่าย
ในกรณีที่ห้องกว้างมากๆ เราจำเป็นต้องใช้ลำโพงต่อไว้หลายจุดและห่างไกลกันมาก การใช้เครื่องขยายที่ให้แรงดันเอาต์พุตสูง ๆ เช่น 70 V เป็นต้น จะช่วยลดความสูญเสียภายในสายต่อลำโพงยาว ๆ ได้เป็นอย่างดี ในระบบเสียงแบบนี้จะต้องมีวงจรหน่วงเวลา (time delay) มาช่วย การเกิดเสียงก้องกำธรจากลำโพงตัวที่อยู่ไกล ๆ การวางตำแหน่งของไมโครโฟนบนเวทีก็เป็นปัญหาที่ยากแก่การแก้ไข ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์มากพอสมควร ตัวอย่างของการวางไมโครโฟนเพื่อหลีกเลี่ยงเสียงสะท้อนจากพื้นเวทีซึ่งจะมากลบเสียงทางตรงทำให้เสียงค่อยลงและผลตอบเชิงความถี่ลดลงมาก เราจะวางไมโครโฟนให้ติดพื้นเวทีมากที่สุด และออกแบบมาสำหรับป้องกันการสั่นสะเทือนจากพื้นเวทีได้ด้วย
การติดตั้งระบบเสียง PA ไม่ยากอย่างที่คิด
ระบบเสียงสาธารณะไม่ว่าจะกลางแจ้งหรือในร่มที่มีขอบเขตพื้นที่ใช้งานเป็นบริเวณกว้างหรือที่เรียกกันอยู่บ่อย ๆ ว่า ระบบเสียง PA (Public Address system) ระบบเสียงแบบนี้พบเห็นโดยทั่วไปในงานต่าง ๆ ที่ต้องการใช้การกระจายเสียงสู่ผู้ฟังจำนวนมาก เช่น งานกลางแจ้ง, งานแสดงคอนเสิร์ต, งานวัด, หนังกลางแปลง, การกระจายเสียงในห้างสรรพสินค้า ตลอดจนถึงในห้องประชุม เป็นต้น ก็ล้วนแต่เป็นระบบเสียง PA ด้วยกันทั้งสิ้น
แต่จะมีวิธีการอย่างไร ในการจัดระบบเสียง PA นี้ให้ได้ออกมาดีที่สุดเพราะระบบเสียง PA เป็นระบบเสียงที่มีขนาดพื้นที่ใช้งานมาก ถ้านำไปเปรียบเทียบกับระบบเสียงภายในบ้านแล้วจะเห็นความแตกต่างชัดเจน ซึ่งระบบเสียงภายในบ้านนั้นไม่ต้องคำนึงอะไรมากนัก เพียงแต่มีเครื่องขยายเสียง เครื่องกำเนิดสัญญาณ และลำโพงเพียง 1 คู่ ก็สามารถนำไปใช้ให้ความบันเทิงแก่ผู้ฟังภายในห้องฟังเพลงที่มีขนาดย่อมได้เพียงพอแล้ว
แต่ระบบเสียง PA นั้น พื้นที่การรับฟังเสียงมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่กว่ามาก ซึ่งจะต้องคำนึงว่าจุดรับฟังทุกจุดในพื้นที่นั้น ต้องมีผลการรับฟังที่ดีเท่ากันทุกจุดบนพื้นที่ของการกระจายเสียง การที่จะทำให้ได้ผลดีดังที่กล่าวนั้นจะต้องมีความเข้าใจในส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบเสียง PA ที่จะนำมาใช้งานให้ถ่องแท้เสียก่อน ซึ่งระบบเสียง PA นั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดเลย
ระบบเสียง PA เบื้องต้น
ในระบบเสียง PA ส่วนหลักที่สำคัญที่สุดก็คือเครื่องขยายเสียง ขนาดของกำลังวัตต์นั้นจะมีตั้งแต่สิบวัตต์ไปจนถึงขนาดหลายร้อยวัตต์ (ในบางครั้งนั้นอาจจะต้องใช้เครื่องขยายเสียงที่มีกำลังวัตต์สูงเป็นพันวัตต์เลยก็มีกับพื้นที่ที่มีขนาดกว้างใหญ่มาก ๆ) และอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับระบบเสียง PA นี้ก็คือ มิกเซอร์ ซึ่งจะใช้งานร่วมกับเครื่องขยายเสียง โดยจะเป็นตัวปรัยบระดับสัญญาณอินพุต และมีโวลุ่มหลักสำหรับปรับควบคุมเสียงทั้งหมดอีกขั้นหนึ่ง
ชนิดของสัญญาณอินพุตที่ป้อนให้กับเครื่องขยายเสียงมีอยู่ 2 แบบ คือ
- สัญญาณแบบไลน์อินพุต (line level input) อยู่ในช่วง -20 dBm จนถึง +30 dBm ซึ่งเครื่องกำเนิดสัญญาณจัดอยู่ในไลน์อินพุตนี้ ได้แก่ พวกเทปเด็ค จูนเนอร์ CD เป็นต้น
- สัญญาณแบบบาลานซ์ไลน์ (balanced line) อยู่ในช่วง -80 dBm จนถึง -20 dBm ตัวอย่างของตัวกำเนิดสัญญาณแบบนี้ที่เห็นกันชัดที่สุดก็คือ ไมโครโฟนนั่นเอง
ส่วนสำคัญอีกอย่างในการแพร่กระจายเสียงสู่ผู้ฟังของระบบเสียง PA นั้นก็คือ ลำโพงที่ใช้ในระบบเสียง PA การต่อลำโพงเพื่อใช้งานมีอยู่หลายวิธี เช่น อาจใช้ลำโพงตัวเดียวหรือสองตัววางไว้บริเวณด้านหน้าของเวทีใกล้กับไมโครโฟนของผู้พูดหรือแหล่งกำเนิดเสียงอื่น ๆ โดยหันหน้าออกการจัดวางแบบนี้เรียกว่า แบบซิงเกิลซอร์ซ (single source) แต่ข้อเสียของการจัดลำโพงแบบนี้ก็คือ การรับฟังเสียงในบริเวณใกล้ลำโพงจีเสียงดังมาก แต่ในบริเวณที่ไกลออกไปความชัดเจนในการรับฟังเสียงจะน้อยลง
และอีกแบบที่นิยมใช้กันก็คือ การวางลำโพงในลักษณะกระจายออกเป็นแถวทั่วพื้นที่ (แบบ array) ซึ่งจะใช้ลำโพงเล็กหลายตัววางกระจายในตำแหน่งที่ต้องการ ซึ่งสามารถจัดวางลำโพงให้ทั่วพื้นที่ได้ ทำให้การรับฟังเสียงสามารถรับฟังได้เท่าเทียมกันทุกพื้นที่ โดยไม่ต้องเร่งโวลุ่มมาก แต่ข้อเสียก็คือ การติดตั้งที่ยุ่งยากกว่าแบบซิงเกิลซอร์ซ
สำหรับปัญหาของเสียงหวีดหอนที่เกิดจากการป้อนกลับ ทั้งที่เกิดขึ้นในการวางลำโพงแบบซิงเกิลซอร์ซ และแบบกระจายทั่วพื้นที่นั้น สามารถแก้ไขโดยการใช้การปรับแต่งของเครื่องมือประเภทอีควอไลเซอร์เข้ามาช่วย ซึ่งสามาถลดทอนสัญญาณความถี่ที่ก่อให้กิดปัญหาการหวีดหอนลงได้ การใช้สายไมโครโฟน แบบบาลานซ์ไลน์ (balance line) ก็สามารถช่วยลดปัญหาสัญญาณรบกวนและเสียงฮัมได้เช่นกัน
ไมโครโฟนที่ใช้ระบบเสียง PA
ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์หลักอีกอย่างที่จะต้องนำมาใช้ในระบบเสียงแบบ PA ซึ่งมีใช้กันอยู่หลายแบบ แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน ที่สำคัญต้องมีอิมพีแดนซ์ต่ำ มีทิศทางในการรับเสียงได้ดี และสายที่ใช้ควรเป็นสายแบบบาลานซ์ไลน์
การทำไมโครโฟนมาใช้ สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงก็คือ เรื่องของอิมพีแดนซ์ ของไมโครโฟนกับอินพุตจองเครื่องขยายเสียง โดยสามัญสำนึกแล้วควรให้มีอิมพีแดนซ์เท่ากัน แต่ในการใช้งานจริงนั้นจะไม่จำเป็นต้องตามหลักการนี้ เพราะถ้าอิมพีแดนซ์มีค่าเท่ากันแล้ว ความไวของไมโครโฟนจะลดลงประมาณ 6 dB โดยสูญเสียไปในรูปของอัตราสัญญาณต่อสัญญาณกวน ดังนั้นถ้าจะให้ได้ผลดีที่สุด อิมพีแดนซ์ของเครื่องขยายเสียงควรจะมากกว่าอิมพีแดนซ์ของไมโครโฟน ประมาณ 10 เท่าหรือมากกว่า
คุณลักษณะที่สำคัญอีกอย่างของไมโครโฟนที่ใช้ระบบเสียง PA นี้ก็คือความไวการรับเสียงดีในทิศทางที่ต้องการเท่านั้น การเลือกใช้ไมโครโฟนที่มีทิศทางการรับเสียงที่เหมาะสม จะช่วยลดปัญหาเสียงรบกวนจากสิ่งแวดล้อมหรือเสียงหอนลงได้
ไมโครโฟนที่มีคุณสมบัติข้างต้นที่นิยมใช้กันมากในระบบเสียง PA ก็คือ ไมโครโฟนที่รับเสียงได้ดีในทิศทางตรงหน้าไมโครโฟนเท่านั้น มักเรียกว่า แบบคาร์ดิออยด์ ซึ่งการตอบสนองต่อเสียงของมันจะตอบสนองได้ดีกับเสียงของผู้พูดเท่านั้น แต่เสียงปรบมือหรือเสียงกรีดร้องจากผู้ชมจะไม่ค่อยมีผล เนื่องจากคุณสมบัติที่รับเสียงได้ดีเฉพาะในทิศทางที่เป็นมุมแคบตรงด้านหน้าของมันเท่านั้น
|
รูปที่ 1 ลักษณะรูปแบบการรับฟังเสียงของไมโครโฟนแบบคาร์ดิออยด์
|
ไมโครโฟนแบบคาร์ดิออยด์นี้มีรูปแบบการรับเสียง ดังรูปที่ 1 ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ จะเห็นได้ว่าการรับเสียงจะรับได้ดีเฉพาะด้านหน้าของมันเท่านั้น
สายชีลด์ที่ใช้กับไมโครโฟนนั้นมีผลต่อคุณภาพเสียงเหมือนกัน เพราะถ้าสายมีขนาดยาวมากจะทำให้เกิดสัญญาณรบกวนขึ้น ไมโครโฟนที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำก็สามารถช่วยได้แต่ไม่มากนัก ซึ่งปกติแล้วสายชีลด์ธรรมดาหรือสายอันบาลานซ์ (unbalance line) ดังรูปที่ 2 (ก) จะใช้งานได้ดีในช่วงความยาวไม่เกิน 25 ฟุต (7.5 เมตร) ถ้าความยาวมากกว่านี้อาจมีปัญหาสัญญาณรบกวนและเสียงฮัมขึ้นได้
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการสูญเสียสัญญาณในย่านความถี่สูงควรใช้สายแบบบาลานซ์ไลน์ ซึ่งสามารถใช้งานในช่วงความยาวได้หลายสิบเมตรทีเดียว โดยไม่มีสัญญาณรบกวนเกิดขึ้น เนื่องจากสายแบบบาลานซ์ไลน์มีระดับเสียงสัญญาณที่ต่างกันภายในสายตัวนำทั้งสองของมัน ดังนั้นเสียงรบกวนหรือเสียงฮัมที่เกิดขึ้นจะถูกเหนี่ยวนำไปหักล้างกับอีกสายหนึ่งดังรูปที่ 2 (ข)
|
รูปที่ 2 ลักษณะของสายสัญญาณที่ใช้กับไมโครโฟน คือ แบบอันบาลานซ์ไลน์และแบบบาลานซ์ไลน์
|
ลักษณะการต่อสายบาลานซ์ไลน์เข้ากับไมโครโฟนแบบคาร์ดิออยด์นั้นภายในของสายจะประกอบไปด้วยสาย 3 เส้น คือ สายสัญญาณ 2 เส้น และ กราวด์ 1 เส้น การต่อจึงต้องต่อเข้ากับคอนเน็กเตอร์แบบ XLR กรณีที่เป็นไมโครโฟนที่มี 2 สาย เช่น ไดนามิกไมโครโฟน การต่อไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงขั้วของสาย สามารถต่อสลับกันได้ (ขา 2, 3) ดังรูปที่ 3
|
รูปที่ 3 การต่อสายสัญญาณเข้ากับคาร์ดิออยด์ไมโครโฟน โดยใช้ XLR คอนเน็กเตอร์
|
ส่วนการต่อสายบนบาลานซ์ไลน์กับคาปาซิเตอร์ไมโครโฟนจะมีลักษณะคล้ายกันคือ ต่อกับคอนเน็กเตอร์แบบ XLR (ต่อแบบ 3 สาย) จะพิเศษกว่าก็ตรงที่ว่าคาปาซิเตอร์ไมโครโฟนนั้นจะต่อใช้งานร่วมกับแหล่งจ่ายไฟด้วย สายสัญญาณทั้งสองเส้นจะต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟโดยผ่านตัวต้านทานทั้งสองตัว ซึ่งการต่อใช้งานแบบนี้สามารถต่อกับไดนามิกไมโครโฟนที่มีแค่ 2 สายได้อีกด้วย เพราะไดนามิกไมโครโฟนไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยงเหมือนคาซิเตอร์ไมโครโฟน ดังนั้นเมื่อต่อไดนามิกไมโครโฟนเข้าไป (ขา 2, 3) ก็จะไม่มีกระแสมาไหลผ่านคอยล์ของมัน ดังรูปที่ 4
|
รูปที่ 4 การต่อสายสัญญาณเข้ากับคาปาซิเตอร์ไมโครโฟนและไดนามิกไมโครโฟน
|
การต่อลำโพงในระบบเสียง PA
โดยทั่วไปแล้วการต่อลำโพงในระบบเสียง PA ที่พบเห็นกันมีอยู่ 2 ระบบคือ ระบบเสียงแบบเน้นเฉพาะที่ (sound-rein fore cement system) และระบบเสียงแบบกระจายตามจุด (sound distribution systems) โดยในระบบเสียงแบบเน้นเฉพาะที่ สัญญาณจากแหล่งกำเนิดจะผ่านการขยายจากเครื่องขยายเสียงเพื่อให้มีกำลังมากพอที่จะขับเสียงออกลำโพงสู่ผู้ฟังในห้องขนาดใหญ่ ๆ เพียงห้องเดียว แต่ในระบบเสียงแบบกระจายตามจุดนั้นจะต้องส่องเสียงผ่านลำโพงเป็นจำนวนมากสู่ห้องฟังจำนวนหลาย ๆ ห้องพร้อมกัน
ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดของ 2 ระบบนี้ก็คือ ระยะของการเดินสายจากเครื่องขยายเสียงสู่ลำโพง ในระบบเสียงแบบเน้นเฉพาะที่ลำโพงจะถูกวางอยู่ใกล้ ๆ กับเครื่องขยายเสียง ระยะการเดินสายก็ไม่ยาวมาก ซึ่งแตกต่างกับระบบเสียงแบบกระจายตามจุดที่ต้องเดินสายเป็นระยะทางไกล ๆ เพื่อที่จะกระจายเสียงให้ครอบคลุมออกไปสู่ลำโพงทุกตัวในแต่ละพื้นที่
แต่การเดินสายเป็นระยะไกล ๆ จะมีปัญหาในเรื่องของกำลังสูญเสียในสาย อันเนื่องมาจากความต้านทางของสายที่เพิ่มขึ้นตามความยาว การแก้ไขนั้นสามารถทำได้โดยการเพิ่มแรงดันตอนส่งออกให้สูง แล้วลดแรงดันที่ปลายทางให้เหมาะกับการใช้งานเพื่อที่จะลดกระแสในสายให้น้อยลง การสูญเสียในสายก็ลดลงไปด้วย วิธีนี้เรียกว่า ระบบแรงดันคงที่ (constant voltage line) ปกติจะมีให้เลือกใช้หลายระดับ แล้วแต่การใช้งาน ถ้าสายลำโพงต้องเดินเป็นระยะไกลมากก็ต้องใช้เอาต์พุตที่ระดับแรงดันสูง เช่น 70 โวลต์, 100 โวลต์หรือสูงกว่า แต่ถ้าระยะทางไม่ไกลมากนักก็ใช้ที่ระดับ 25 โวลต์ เป็นต้น
ระบบแรงดันคงที่นี้สามารถต่อได้โดยการใช้แมตชิ่งทรานฟอร์เมอร์เข้ามาช่วย โดยการต่อที่ปลายสายก่อนที่จะเข้าสู่ลำโพง ซึ่งในการที่จะนำเอาไปต่อใช้งานตามจุดต่าง ๆ นั้นสามารถที่จะหาขนาดของแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ได้ตามกำลังของการใช้งานแต่ละจุด ลักษณะการต่อใช้งานของลำโพงขนาด 16 โอห์ม 50 วัตต์ เข้ากับแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ตัวนี้ แสดงดังรูปที่ 5
|
รูปที่ 5 การต่อลำโพงเข้ากับแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์
|
การต่อใช้งานของแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์จะต้องคำนึงถึงขีดจำกัดของกำลังวัตต์ที่ตัวมันจะทนได้
เพราะเวลาใช้งานนั้น
ถ้าเราต่อลำโพงพร้อมกันหลาย
ๆ ตัว ดังนั้น
การาต่อลำโพงนั้นจะต้องคำนวณดูว่าต่อรวมเข้าไปหลาย
ๆ
ตัวแล้วผลรวมของกำลังวัตต์ที่ได้นั้นจะต้องไม่ไปทำให้เครื่องขยายเสียงกับแมตชิ่งทานสฟอร์เมอร์ทำงานหนักเกินไป
การจัดวางลำโพง
การวางตำแหน่งของลำโพงเพื่อที่จะกระจายเสียงไปในทุกพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง
ๆ นั้น เช่น ตามห้างสรรพสินค้า
ซึ่งส่วนใหญ่การติดตั้งลำโพงจะติดตั้งอยู่ที่เพดานห้อง
โดยจำนวนของลำโพงจะเพิ่มตามขนาดของพื้นที่
ดังนั้น
ปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการวางตำแหน่งของลำโพงไม่เหมาะสม
จะทำให้การรับฟังผิดธรรมชาติไป
เช่น ตำแหน่งของผู้รับฟังที่อยู่ระหว่างลำโพง
2
ตัวนั้น
ถ้าระยะห่างของผู้ฟังกับลำโพงทั้งสองเท่ากัน
การรับฟังก็คงปกติอยู่แต่เมื่อใดที่ผู้ฟังขยับเข้าใกล้ลำโพงอีกตัว
ทำให้การรับฟังจากลำโพงทั้งสองเริ่มไม่เท่ากัน
(out
of phase) คือ
มีจุดบอดของการรับฟังเสียงเกิดขึ้น
ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้สามารถแก้ไขได้โดยใช้ลำโพงเพียงตัวเดียวสำหรับพื้นที่นั้นและติดตั้งไว้ในที่สูง
ๆ เพื่อการกระจายของเสียงที่ดี
หรือไม่ก็ให้ระยะห่างของตำแหน่งลำโพงแต่ละตัวอยู่ใกล้กันมาอีกก
นั่นก็หมายความว่า
เพิ่มจำนวนของลำโพงมากขึ้น
เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ของห้องนั่นเอง
ปัญหาอีกอย่างที่เกิดขึ้นกับการรับฟังเสียงในห้องกว้าง
ๆ ที่จะต้องเดินสายลำโพงเป็นระยะทางไกลคือ
การหน่วงเวลาของเสียง
เนื่องจากความเร็วของเสียงที่มีความเร็ว
1,130
ฟุตต่อวินาที
ดังนั้นถ้าผู้ฟังอยู่ใกล้กับลำโพงตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไปก็จะเกิดปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น
การแก้ปัญหาส่วนนี้ก็โดยการต่ออุปกรณ์หน่วงสัญญาณ
(signal
delay devices) เข้าไประหว่างสายลลำโพงกับลำโพง
ปัญหานี้ก็จะหมดไป
มาถึงตอนนี้ระบบเสียง
PA
ก็ไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป
คุณก็สามารถที่จะจัดการกับระบบะเสียง
PA
ด้วยตัวคุณเอง
จากพื้นฐานที่กล่าวมาทั้งหมดบางทีจากมือสมัครเล่นก็ก้าวขึ้นสู่มืออาชีพได้เช่นกัน
การต่อลำโพงระยะไกลและการแมตชิ่ง
การต่อลำโพงเข้ากับเครื่องขยายเสียงโดยใช้ลำโพงตัวเดียวนั้นเป็นของง่ายหากใช้ลำโพงหลายๆ
ตัวก็เป็นเรื่องยุ่งยากสักหน่อย
ดังเช่นใช้ในโรงเรียน โรงงาน
โรงภาพยนตร์ และที่สาธารณะ
เป็นต้น ซึ่งต้องคำนึงถึงเรื่องการแมตชิ่ง
กลังวัตต์และระยะห่างอีกด้วย
บางกรณีต้องใช้แมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ช่วยด้วย
เรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นวิธีการต่อลำโพงชนิดต่าง
ๆ
โดยจะพูดเฉพาะเครื่องขยายเสียงเพียงซีกเดียวหากเป็นแบบสเตอริโอก็ต้องเพิ่มสายอีกหนึ่งชุดและต้องคำนึงถึงการ
เปลี่ยนเฟสด้วย
การใช้ลำโพงกับเครื่องขยายแบบอิมพีแดนซ์ต่ำ
เครื่องขยายเสียงแบบโซลิดสเตทส่วนมากเป็นแบบเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ต่ำถ้าเป็นวงจรขยายแบบ
OTL
นั้นจะมีสายเอาต์พุตเพียงสองเส้น
อิมพีแดนซ์ของเครื่องขยายขึ้นอยู่กับตัวลำโพงที่นำมาต่อถ้าใช้ลำโพง
4
โอห์ม
จะได้กำลังเอาต์พุตสูงที่สุด
หากใช้ลำโพง 16
โอห์ม
ก็จะได้กำลังเอาท์พุตทีต่ำที่สุด
การใช้ลำโพงแบบ 4
โอห์ม
หรือ 16
โอห์ม
นั้นเป็นผลเสียมาก
เพราะอิมพีแดนซ์ต่ำย่อมทำให้ทานซิสเตอร์ทำงานหนัก
หรือวงจรคุ้มครองความปลอดภัยจะตัดไฟเสีย
ส่วนอิมพีแดนซ์สูงนั้นก็ทำให้เครื่องมีกำลังน้อยเกินไป
ทางที่ดีที่สุดควรอ่านคู่มือของเครื่องว่าจะใช้อิมพีแดนซ์เท่าใดจึงเหมาะสม
เครื่องขยายเสียงที่ใช้หลอดนั้นมีอิมพีแดนซ์ต่างๆ
ขึ้นอยู่กับตัวเอาต์พุตทรานสฟอร์เมอร์
เช่น 1โอห์ม
2โอห์ม
3โอห์ม
4โอห์ม
8โอห์ม
16โอห์ม
32โอห์ม
100โอห์ม
250โอห์ม
เป็นต้น
ดังนั้นค่าอิมพีแดนซ์ของเอาต์พุตทรานสฟอร์เมอร์ของแต่ละโรงงานจึงต่างกันไป
การต่อลำโพงขึงต้องต่อตามจุดซึ่งระบุค่าตรงกัน
เพราะโหลดที่แท้จริงของเครื่องขยายเสียงก็อยู่ที่ลำโพงนี่แหละ
เอาต์พุตทรานสฟอร์เมอร์นั้นมิใช่โหลด
เพียงเป็นตัวถ่ายทอดสัญญาณและเปลี่ยนแปลงอิมพีแดนซ์เท่านั้น
ถ้าหากต่อลำโพงผิดจุดจะทำให้อิมพีแดนซ์ผิดไป
ซึ่งย่อมสะท้อนผลกลับไปยังหลอดเอาต์พุต
ทำให้กระทบกระเทือนการทำงานของหลอด
บางครั้งถึงกับทำให้เอาต์พุตทรานสฟอร์เมอร์เสียไปเลย
ไม่ว่าเครื่องขยายเสียงที่เป็นแบบทรานซิสเตอร์หรือหลอดก็ตาม
การต่อลำโพงเข้ากับเครื่องนั้น
ประการแรกต้องตรวจดูอิมพีแดนซ์ของลำโพงเสียก่อนว่าเข้ากับตัวเครื่องหรือเปล่า
สามารถทนกำลังได้เท่ากับเครื่องหรือไม่
เพื่อป้องกันมิให้คอยล์ของลำโพงไหม้ขาดได้
ถ้าหากมีการต่อลำโพงแบบหลาย
ๆ ตัวละก็
จะต้องพิจารณาว่าลำโพงที่นำมาต่อใช้ทั้งหมดควรมีกำลังวัตต์ไม่น้อยกว่าเครื่องและต้องแมตช์กับตัวเครื่องด้วย
วิธีการต่อลำโพงให้แมตช์กับตัวเครื่องมีวิธีดังนี้
คือ
- ใช้ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์เท่ากันต่อแบบขนาน การ่อแบบขนานนี้จะทำให้ค่าอิมพพีแดนซ์ลดน้อยลง โดยหาค่าได้จากค่าอิมพีแดนซ์หารด้วยจำนวนตัวลำโพงที่ใช้ การต่อลำโพงวิธีนี้จะทำให้ลำโพงแต่ละตัวได้รับกำลังเท่ากัน เช่นเครื่องขยายเสียงที่มีกำลังเอาต์พุต 20 วัตต์ ลำโพงแต่ละตัวจะแบ่งได้ 5 วัตต์ผลดีของการต่อขนานแบบนี้คือ หากมีลำโพงขาดไปตัวเดียว ถึงอิมพีแดนซ์จะผิดไปก็ตามแต่ลำโพงตัวอื่น ๆ ก็ยังคงทำงานอยู่
- ใช้ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์เท่ากันต่อแบบอันดับ การต่อแบบนี้จะทำให้ค่าอิมพีแดนซ์สูงขึ้น โดยหาค่าได้จากค่าอิมพีแดนซ์คูณด้วยจำนวนตัว การต่ออันดับแบบนี้กำลังวัตต์จะตกที่แต่ละลำโพงเท่า ๆ กันเช่นกัน หากมีลำโพงตัวหนึ่งขาด ลำโพงตัวอื่นๆ ก็พลอยเงียบไปด้วย ดังนั้นการต่อแบบอันดับจึงเหมาะสำหรับใช้กับลำโพงที่มีจำนวนน้อย
- ใช้ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์เท่ากันต่อแบบขนานและแบบอันดับ เนื่องจากเครื่องขยายเสียงมีแท๊ปเอาต์พุตต่างกัน บางครั้งเราไม่สามารถใช้จุดเอาต์พุตดังกล่าวต่อแบบชนานอย่างเดียวหรือต่ออันดับอย่างเอียวในการใช้งานได้ จึงจำต้องใช้วิธีต่อเข้าแบบขนานและอบบอันดับผสมกันไป ค่าอิมพีแดนซ์ของมันเท้ากับค่าความต้านทานของลำโพงที่ต่ออันดับของแต่ละชุดหารด้วยจำนวนชุด วิธีการต่อแบบอันดับผสมแบบขนานนี้นิยมใช้กันทั่วไปหากมีลำโพงเสียไปตัวเดียว มันก็แค่ทำให้ชุดนั้นไม่มีเสียง ส่วนชุดอื่นๆ ยังคงทำงานอย่างเก่า
- ใช้ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ต่างกันต่อแบบขนาน การต่อโดยใช้ลำโพงที่มีค่าอิมพีแดนซ์ต่างกันนั้นมีความยุ่งยากสักหน่อย นอกจากต้องหาค่าอิมพีแดนซ์รวมของมันแล้ว กำลงที่แบ่งไปใช้ก็ต่างกันด้วย ฉะนั้น หากจะใช้ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ต่างกันต่อขนานกัน ตัวลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำต้องทนกำลังสูงกว่าตัวอื่น ๆ และอีกอย่างคือจะให้ลำโพงมีความดังเท่ากันยาก ไม่ได้หมายความว่าการต่อลำโพงด้วยวิธีนี้ใช้ไม่ได้เลย เพราะบางครั้งเราจำเป็นต้องนำเอาอุปกรณ์ที่มีอยู่เอามาใช้โดยการพลิกแพลงเล็กน้อย เช่นใช้ความต้านทานมาต่ออันดับด้วยกัน หรือการต่ออันดับดังวิธีที่ 5
- ใช้ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ต่างกันต่อแบบอันดับ การต่อแบบนี้อิมพีแดนซ์ทั้งหมดจะได้เท้ากับอิมพีแดนซ์ของแต่ละตัวบวกกัน แต่กำลังวัตต์ที่ตกในตัวลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์มากจะได้รับกำลังวัตต์มากกว่า การต่อแบบนี้จะใช้ได้หรือไม่ได้นั้นขึ้นอยู่กับตัวลำโพงว่าจะทนกำลังที่แบ่งมาได้หรือไม่เท่านั้นและอีกอย่างคือความดังของเสียงที่ได้จากลำโพงจะไม่เท่ากันแน่ ๆ ถ้าหากนำลำโพงที่ค่าอิมพีแดนซ์ต่างกันมากมาใช้ย่อมทำให้เกิดการเสียหายได้ง่าย
- ใช้ลำโพงที่อิมพีแดนซ์ต่างกันต่อแบบขนานและแบบอันดับ การต่อแบบวิธีนี้ส่วนใหญ่จะใช้กับลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ต่างกันและทนกำลังต่างกันด้วย ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ต่างกันเวลาต่อแบบอันดับและแบบขนานผสมกันกำลังที่ตัวลำโพงจะต่างกัน คือลำโพงที่อันดับแต่ละชุด ๆ ไหนมีอิมพีแดนซ์ต่ำจะได้รับกำลังมากกว่า ส่วนการต่อแบบขนานเป็นชุดก่อนแล้วจึงต่ออันดับเข้าหากัน อิมพีแดนซ์ที่สูงกว่าจะได้รับกำลังมากกว่า ตามหลักการนี้แล้วเราสามารถใช้ลำโพงต่างชนิดต่อแบบขนานและอันดับผสมกันเพื่อให้ตัวลำโพงเข้ากับเครื่องขยายเสียงได้
การใช้ลำโพงต่อเข้ากับเครื่องขยายเสียงที่เอาต์พุตอิมพีแดนซ์ต่ำไม่ว่าจะเป็นแบบขนานหรือแบบอันดับ
ยิ่งใช้ลำโพงหลาย ๆ
ตัวก็ควรนำลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์แลทนกำลังได้เท่า
ๆ กันมาใช้
และอีกอย่างคือสายลำโพงไม่ควรต่อให้ยาวเกินไปเพราะจะทำให้กำลังสูญเสียภายในสายมาก
พูดกันทั่วๆ ไปแล้ว
เครื่องที่มีเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ต่ำไม่ควรให้สายยาวกว่า
50
เมตร
การต่อแบบขนานและแบบอันดับนั้นมีส่วนดีและส่วนเสียคือ
ถ้าต่อขนานกันหลายๆ ตัว
ค่าอิมพีแดนซ์จะต่ำจึงใช้สายยาวมากไม่ได้
แต่ไม่เสียหายถ้าลำโพงตัวหนึ่งเสียไป
ซึ่งตรงกันข้ามกับการต่อแบบอันดับถ้ามีลำโพงตัวหนึ่งตัวใดขาด
ลำโพงตัวอื่นก็ไม่ดังด้วย
มีผลดีตรงที่ว่าค่าอิมพีแดนซ์สูงขึ้นใช้สายที่ยาวกว่าได้
นอกจากนี้ถ้าเราใช้ลำโพงหลายตัวอยู่ในห้องเดียวกัน
ควรระวังเกี่ยวกับเฟส ฉะนั้น
สายที่ใช้ต่อลำโพงควรจะมีสองสีจะเหมาะสมกว่า
การใช้ลำโพงกับเครื่องขยายที่มีค่าอิมพีแดนซ์สูง
เนื่องจากเอาต์พุตที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำระยะห่างของตัวลำโพงจึงถูกจำกัด
ถ้าหากต้องการให้ตัวโพงห่างจากตัวเครื่องมากหน่อย
จำต้องใช้ภาคเอาต์พุตที่มีอิมพีแดนซ์มากสักนิดส่วนใหญ่จะใช้ในระหว่าง
100-600
โอห์ม
แท็ปเอาต์พุตของเครื่องขยายเสียงมักจะอยู่ในค่า
250
โอห์ม
และ 500
โอห์ม
การต่อลำโพงจึงใช้แมตชิ่งทรานฟอร์เมอร์ช่วยให้ทางเครื่องกับตัวลำโพงเข้ากันได้
วิธีการต่าง ๆ จะกล่าวกันต่อไปนี้
- ลำโพงที่มีกำลังวัตต์เท่ากันต่อแบบขนาน การต่อแบบนี้ต้องอาศัยแมตชิ่งทรานฟอร์เมอร์ ส่วนตัวลำโพงมีค่าเท่าใดนั้นไม่สำคัญ เพราะอย่างไรเสียขดลวดชุดที่สองของตัวแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์จะต้องเข้ากับลำโพงได้อยู่แล้ว จุดสำคัญคือการออกแบบแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ให้ขดแรกแมตช์กับตัวเครื่องขยายเสียงโดยต้องรู้จำนวนลำโพงที่จะนำมาใช้เสียก่อน
- ลำโพงที่มีวัตต์เท่ากันต่อแบบอันดับ การต่อแบบนี้ค่าของขดลวดขดแรกของแมตชิ่ง
- ทรานสฟอร์เมอร์เท่ากับค่าเอาต์พุตอิมพีแดนซ์หารด้วยจำนวนลำโพง วิธีต่ออันดับนี้ไม่ค่อยมีผู้นิยมใช้กัน เพราะขดลวดของแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ขาดไปเพียงตัวเดียว พลอดทำให้ตัวอื่นไม่ทำงาน
- ลำโพงที่มีกำลังเท่ากันต่อแบบขนานและอันดับ การต่อแบบนี้มักใช้กันเมื่อขาดแคลนอุปกรณ์บางอย่าง
- ลำโพงที่มีกำลังไม่เท่ากันต่อแบบขนาน การติดตั้งลำโพงตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงเรียน โรงงานต่างๆ สภาพของสถานที่และความดังของเสียงที่ต้องการจึงต่างกันไป ลำโพงที่ต้องใช้ก็ต้องมีกำลังต่างๆ ตามความเหมาะสม สำหรับเครื่องขยายเสียงที่มีเอาต์พุตอิมพีแดนซ์สูงจึงเหมาะกับงานชนิดนี้ โดยสามารถเปลี่ยนแปลงแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ให้ได้กำลังตามที่เราต้องการได้
- ลำโพงที่มีกำลังต่างกันต่อแบบอันดับ
- ลำโพงที่มีกำลังต่างกันต่อกันแบบขนานและอันดับ การนำลำโพงที่มีกำลังต่าง ๆ มาต่อเข้าด้วยกันกับวงจรที่มีเอาต์พุตอิมพีแดนซ์สูง อิมพีแดนซ์ของแมตชิ่งทรานสฟรอ์เมอร์ก็มีค่าต่างกันไป
วิธีใช้ตัวต้านทานแมตช์กับวงจร
บางครั้งเราอาจจะประสบปัญหาเช่น
แมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์มีไม่ครบและเวลาเดียวกันเราจำเป็นที่จะต้องใช้งานเพื่อให้วงจรแมตได้ดีจำต้องใช้งานเพื่อให้วงจรแมตได้ดีจำต้องใช้ตัวต้านทานเข้าช่วยแต่การใช้ตัวต้านทานเป็นการสิ้นเปลืองกำลังไปโดยใช่เหตุ
ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ไม่ควรนำมาใช้
การใช้ตัวต้านทานเป็นโหลดในวงจรส่วนมากใช้เป็นโหลดเทียม
เช่นมีลำโพงอยู่หลายตัว
แต่เวลาใช้งานจริง ๆ
จะใช้เฉพาะบางตัวเท่านั้น
เพื่อมิให้การตัดลำโพงบางตัวออกโดยทำให้วงจรไม่แมตช์กัน
จึงต้องใช้ตัวต้านทานดังรูปที่
15
|
รูปที่ 15 การใช้ตัวต้านทานเป็นโหลดเทียมในวงจร |
ลำโพง A, B, C ทั้ง 3 ตัวจะให้เปิดหรือปิดเสียงได้ตามใจชอบ ส่วนตัวสวิตช์นั้นจะติดตั้งไว้กับตู้ลำโพงหรือตัวเครื่องแล้วแต่ความเหมาะสม
เรื่องของการแมตชิ่งนั้น บางครั้งเราไม่อาจจะทำให้มันแมตช์จริง ๆ ได้แต่การผิดไป 10 % ไม่ทำให้เสียหายเท่าไรนัก ส่วนตัวลำโพงควรใช้ตัวที่ทนกำลังมากกว่าในวงจร จะเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น
ค่าของเอาต์พุตอิมพีแดนซ์สูง ๆ ที่ใช้กันมากมีค่าอยู่ระหว่าง 100 โอห์ม ถึง 600 โอห์ม ถ้าหากจะวางลำโพงไว้ห่างมากก็ควรใช้อิมพีแดนซ์ที่สูงกว่านี้ เพื่อว่าแรดงดันที่ตกคร่อมจะได้สูงขึ้นกระแสไหลต่ำลง การสูญเสียในสายก็น้อยลงด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้สายที่ใช้ในการส่งเสียงควรจะมีโอห์มต่ำ เช่นเครื่อง 100 W สายที่ใช้ไม่ควรมีความต้านทานต่ำสูงกว่า 250โอห์ม
การติดตั้งลำโพงระยะไกล
ความจำเป็นในการกระจายเสียงไปในพื้นที่กว้าง ๆ และไกลจากศูนย์กลางมักมีอยู่เสมอ เช่น ในโรงงาน, โรงเรียน, โรงแรม, อาคาร วิธีการที่จะกระจายเสียงนี้มีหลายวิธีแต่ละวิธีให้ข้อดี ต่างกันไป แล้วแต่สถานที่ สภาวะแวดล้อม และความต้องการของผู้ใช้
ในการที่จะออกแบบให้ได้ระบบที่เหมาะสมและประหยัดที่สุดต้องอาศัยความสามารถรอบรู้ของผู้ออกแบบว่าตำแหน่งใดควรทำอย่างไร ฉะนั้นในระบบอาจมีความสลับซับซ้อนมากก็ได้ วิธีที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด สะดวกแก่การออกแบบ และสามารถใช้ได้กับทุก ๆ กรณี แม้ว่าราคาและคุณภาพเสียงอาจจะสู้บางวิธีในบางภาวะไม่ได้ก็ตาม แต่โดยเฉลี่ยแล้วจัดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง ซึ่งได้แก่
1.การสูญเสียในสาย
ถ้าเราต้องการส่งสัญญาณไฟฟ้าของเสียงจากเครื่องขยายเสียงไปยังตัวลำโพงเราต้องใช้สายต่อ การหาขนาดสายนี้ขึ้นอยู่กับการะแสที่ส่งผ่านตัวมัน
2.ทำไมจึงต้องใช้แมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์
การเดินสายระยะไกลควรทำโดยการเพิ่มแรงดันตอนส่งออกให้สูงแล้วลดแรงดันที่ปลายทางให้เหมาะกับการใช้งาน เพื่อลดกระแสในสาย (ที่ยาวมาก) ให้น้อยลง เพื่อลดขนาดของสายและการสูญเสียในสาย ทำให้ผลรวมค่าใช้จ่ายถูกลง วิธีนี้ใช้ระบบจ่ายไฟฟ้ากำลังของการไฟฟ้า ดังจะเห็นได้ว่า แรงดันที่ส่งในบางช่วงสูงถึง 230 kV วิธีการดังกล่าวเราอาจจำลองมาใช้กับระบบเสียงได้ โดยให้เรามองดูระบบจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับเหมือนไฟบ้านมีการใช้หม้อแปลง ระบบการจ่ายกำลังแบบนี้ เรียกว่า ระบบแรงดันคงที่
3. ระบบการส่งกำลังเสียงด้วยแรงดันคงที่
ระบบไฟฟ้าที่ใช้อยู่ตามบ้านเรือนเป็นระบบที่ให้แรงดันคงที่ 220 V ไม่ว่าจะใช้โหลดใดก็ตามแรงดันจะไม่เปลี่ยนไปมากนัก ระบบเสียงก็เช่นกันเราสามารถทำเป็นระบบแรงดันคงที่ได้ เท่าที่ใช้กันอยู่มีหลายขนาด เช่น 25 โวลต์ สำหรับระยะใกล้ 75 โวลต์ สำหรับระยะไกล และอาจจะสูงกว่านั้นสำหรับระยะไกลมาก ๆ และต้องการกำลังสูงๆ ส่วนใหญ่จะเลือกใช้แรงดันขนาด 70 โวลต์ แรงดันของระบบเสียงจะวัดได้โดยการป้อนสัญญาณคลื่นรูปซายน์ขนาด 1 kHz เข้าในเครื่องขยายเสียงแล้วเร่งสัญญาณคลื่นรูปซายน์จนเริ่มเพี้ยน แรงดันที่วัดได้นี้คือแรงดันของระบบเสียงเราอาจจะแปลงให้สูงขึ้นหรือลดลง โดยการใช้หม้อแปลงของเสียงที่เรียกว่าแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์
เครื่องขยายเสียงที่ให้แรงดันคงที่ส่วนใหญ่เป็นพวกทรานซิสเตอร์ เครื่องขยายพวกนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ โหลดไม่จำเป็นต้องคงที่ อาจเพิ่มหรอลดจำนวนลำโพงได้ตามใจชอบ ในบางครั้งแม้ว่าจะไม่มีลำโพงต่อเลยก็ไม่เสีย
แรงดันไฟขณะใส่โหลดสูงสุดกับโหลดน้อยสุดไม่ควรผิดกันมาก เช่น ตอนโหลดน้อยสุด แรงดันในระบบอาจสูงถึง 100 โวลต์ ตอนโหลดสูงสุดแรงดันลดลงเหลือเพียง 60 โวลต์ ยังนับว่าพอใช้ได้ แต่ถ้าผิดมากไปกว่านี้ไม่ควรใช้ ถ้าแรงดันแตกต่างกันน้อยเท่าใดก็ดีเท่านั้น
4. การคำนวณหาแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์
ถ้าเราเลือกใช้ระบบ 70 โวลต์ เราก็เดินสาย 70 โวลต์ ไปทุกแห่งที่ต้องการใช่สัญญาณเสียง จากนั้นถ้าเราต้องการกำลังที่แต่ละจุดเท่าใดเราก็เพียงแต่เลือกใช้ขนาดของแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์เท่านั้น
5. การหาขนาดของเครื่องขยายเสียง
กำลังของเครื่องขยายเสียงควรเป็น 120% ของกำลังมากที่สุดที่จ่ายให้ลำโพงทั้งหมด
6.การหาขนาดของแมตชิ่งทรานสฟอร์เมอร์ตัวที่ต่อออกจากเครื่องขยายเสียง
เครื่องขยายเสียงบางรุ่นจะมีเอาต์พุต 25 โวลต์ หรือ 70 โวลต์ ให้ต่อไปใช้ได้เลยบางชนิดอาจบอกเป็นโอห์ม เช่น 500 โอห์ม 100 วัตต์ เราสามารถเปลี่ยนเป็นโวลต์ได้โดยทันที
7. อันตรายจากไฟของเครื่องขยายเสียง
บางคนอาจเข้าใจว่าไฟที่ออกที่เครื่องขยายเสียงไปลำโพงคงไม่มาก เพราะเคยซ่อมวิทยุเล็ก ๆ แล้วไม่เป็นอันตราย แต่ในกรณีของเครื่องกำลังมากๆ และโดยเฉพาะถ้ามีการเปลี่ยนแปลงแรงดันให้สูงขึ้นอีกขั้นอันตรายจากไฟดูดตายมีโอกาสเกิดขึ้นได้เหมือนกับไฟตามบ้าน ฉะนั้นก่อนจะจัดการกับมันควรแน่ใจว่าไม่เป็นอันตราย ไฟฟ้าลับที่ไม่เป็นอันตรายควรมีแรงดันต่ำกว่า 25 โวลต์