หน้าเว็บ

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555

การเลือกชนิดของ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ให้เหมาะกับการใช้งาน ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ :

การเลือกชนิดของ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ให้เหมาะกับการใช้งาน ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ :

q       ระบบ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ใช้ทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ CCIR ( PAL:ใช้ในประเทศไทย ) และ EIA (NTSC) กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ระบบ CCIR เป็นระบบมาตรฐานยุโรป 625 เส้น 220 โวลต์ 50 เฮิรตช์ ส่วน EIA เป็นระบบมาตรฐานอเมริกัน 525 เส้น 110 โวลต์ 60 เฮิรตช์ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในประเทศไทยจะต้องเป็นระบบ CCIR

q       ขนาดของแผ่นรับภาพของ CCD Sensor format (ที่เรียกติดปากกันว่า ขนาดชิป ) ถ้ายิ่งมีขนาดใหญ่ยิ่งดี เพราะสามารถมองภาพได้มุมที่กว้าง เช่น ขนาด 2/3", 1/2", 1/3", และ 1/4"  เป็นต้น ขนาดของแผ่นรับภาพแต่ละรุ่นนั้นจะมีผลต่อความละเอียดของภาพ ( Numbers of Pixels ) และการเลือกใช้เลนส์ให้ได้มุมมองของภาพตามต้องการ

q       ความสว่าง ( Illumination ) คุณสมบัติของอุปกรณ์รับภาพของ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)นั้น ไม่ใช่มีผลเฉพาะต่อความไวที่มีต่อแสงสว่างเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อสีของวัตถุอีกด้วย คุณภาพ ของภาพที่ดีจะขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงที่ฉากรับภาพ ในกรณีของ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่เป็น กล้องสี ต้องคำนึงถึงอุณหภูมิสี ( Colour Temperature) ที่ได้จากแสงสว่างร่วมกันกับแหล่งกำเนิดแสงทั่ว ๆ ไป เพราะประกอบด้วยแสงสีชนิดต่าง ๆ รวมกัน และแสงบริเวณรอบ ๆ กล้องที่จับภาพจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้แสงไม่คงที่ตลอดเวลา

การกำหนดค่าความสว่างของ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)  มีหน่วยเป็นลักซ์ :Lux  นั้นต้องคำนึงถึงความสว่างของพื้นที่กล้องจับภาพ, การสะท้อนของแสงที่ฉากรับภาพ, ระยะห่างของวัตถุฉากรับภาพถึงตัวกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ซึ่งทำให้อัตราการสูญเสียของแสงที่หายไปรวมถึงการเลือกใช้ชนิดของเลนส์เป็นองค์ประกอบการพิจารณาด้วย

โดยทั่วไป กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) แบบ CCD สามารถแบ่งตามคุณสมบัติของความสว่างได้ 3 ระดับ คือ
  1.        กล้องที่ใช้ในกิจการทั่วไป ต้องการความสว่างตั้งแต่ 5-2,000 Lux
  2.     กล้องที่ใช้ในกิจการความปลอดภัยสูง ต้องการความสว่างตั้งแต่ 0.1-5 Lux
  3.     กล้องที่ใช้ในกิจการพิเศษโดยเฉพาะอย่าง ต้องการความสว่างตั้งแต่ 0.0001-0.1 Lux
q       ระบบซิงค์ ( Synchronization ) โดยทั่วไป กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) จะมีวงจรกำเนิดซิงค์ในตัวของมันเองอยู่แล้ว ซิงค์ของกล้องแต่ละตัวจะไม่ตรงกัน หากเรานำกล้องหลาย ๆ ตัว มาใช้ร่วมกันโดยผ่าน เครื่องลำดับภาพ (Sequence Switcher) และแสดงภาพบนจอมอนิเตอร์ จะสังเกตเห็นได้ว่าในขณะที่เครื่องลำดับภาพสลับภาพจาก กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ตัวหนึ่งไปยังอีก กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)ตัวหนึ่งนั้น ภาพจะกระตุกในแนวตั้งบนจอมอนิเตอร์ ซึ่งจะมีผลต่อการบันทึกภาพวิดีโอ เมื่อนำภาพวิดีโอนั้นมาเล่นอสลับทำให้ภาพล้มเป็นช่วง ๆ ตามจังหวะ การสลับภาพของเครื่องลำดับภาพ

q      ความคมชัดของภาพ ( Resolution ) กล้องที่มีความคมชัดสูงจะให้ภาพที่คมชัด ซึ่งคุณสมบัตินี้นับว่าเป็นพื้นฐานของการเลือกชนิดของกล้อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละโรงงานให้เหมาะสมกับการใช้งานในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป


ที่มา: http://www.matcom.co.th 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น