หน้าเว็บ

วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

วิธีการใช้และตรวจสอบถังดับเพลิง

เพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้ถังดับเพลิงอย่างถูกต้องและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้งรู้จักการตรวจสอบสภาพถังดับเพลิงให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ดังนั้นเรามาเรียนรู้ เกี่ยวกับประเภทของเพลิง และ การใช้ถังดับเพลิงกันเถอะ

ประเภทของเพลิง


เพลิงประเภท A
หมายถึง เพลิงที่เกิดขึ้นจากวัสดุติดไฟทั่วไป เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ พลาสติก ยาง ฯลฯ
ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงเหล่านี้ สามารถดับได้ด้วยการให้ความเย็น โดยการใช้น้ำฉีดฝอย หรือฉีดพุ่งตรงไปยังต้นเพลิงนั้นๆ ไฟประเภทนี้จะเหลือแต่เถ้าถ่านทิ้งไว้
เพลิงประเภท Bหมายถึง เพลิงที่เกิดขึ้นจากของเหลวไวไฟหรือแก็ส เช่น น้ำมัน แก๊สต่างๆ จาระบี และสิ่งที่ใช้สำหรับล้างละลายทำความสะอาดต่างๆ ซึ่งจะดับได้ด้วยวิธีป้องกันมิให้อากาศเข้าไปรวมตัวกับเชื้อเพลิง หรือการลดอุณหภูมิของเชื้อเพลิง โดยใช้โฟม ผงเคมี ฮาโลตรอน (Halotron) หรือคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)  ไฟประเภทนี้จะไม่มีเถ้าถ่านเหลือทิ้งไว้
เพลิงประเภท Cหมายถึง เพลิงที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์เครื่องมือไฟฟ้าต่างๆ เช่น อุปกรณ์ระบบไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ ก่อนอื่นต้องพยายามตัดวงจรไฟฟ้าเสียก่อนเพื่อลดอันตรายลง การดับไฟต้องใช้เครื่องมือที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ฮาโลตรอน (Halotron) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)  หรือผงเคมีแห้ง (Dry Chemical Powder)
เพลิงประเภท Dหมายถึง เพลิงที่เกิดขึ้นจากวัสดุจำพวกโลหะติดไฟ เช่น แมกนีเซียม ไททาเนียม โครเมียม โซเดียม ลิเทียม  ฯลฯ ลักษณะการลุกไหม้ ให้ความร้อนสูง รุนแรงมาก เช่น การลุกไหม้ของแมกนีเซียม ทำให้เปลวเพลิงสว่างจ้า เป็นอันตรายต่อสายตาและม่านตา การดับเพลิงประเภทนี้ให้ใช้สารเคมีจำพวก Sodium Chloride (ผงเกลือแกง) หรือทรายแห้ง (ห้ามใช้น้ำดับไฟประเภท D โดยเด็ดขาด ซึ่งจะทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง )

วิธีการใช้ถังดับเพลิง

1.  เมื่อยกถังดับเพลิงออกมาตั้งแล้ว ดึงสลักนิรภัยออกจากคันบีบ

2. ดึงส่วนหัวฉีดออกมา ให้จับหันหัวฉีดออกจากตัวเรา และก่อนกดให้ถังเอียงออกจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเรา กดลงไปตำแหน่งคันบีบ เพื่อให้ไปเจาะทะลุจุดเปิดหลอดอัดอากาศ

3. หิ้วถังด้วยมือข้างที่ไม่ถนัดส่วนข้างที่ถนัดไปจับหัวฉีด และทดลองบีบหรือกด 1 ครั้ง ก่อนเข้าทำการดับไฟพยายามเข้าใกล้ 2 – 4 เมตร ( ระยะที่หวังผลได้ดี )เข้าด้านเหนือลม พร้อมฉีดไปที่ฐานของไฟ  ยังฐานของไฟ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น